ไวยากรณ์ : น. วิชาภาษาว่าด้วยรูปคําและระเบียบในการประกอบรูปคําให้เป็น ประโยค. (ป. เวยฺยากรณ; ส. ไวยากรณ ว่า นักศึกษาไวยากรณ์, วฺยากรณ ว่า ตําราไวยากรณ์).
โครงสร้าง : น. ส่วนประกอบสําคัญ ๆ ซึ่งนำมาคุมเข้าด้วยกันให้เป็น รูปร่างเดียวกัน.
ธรณีวิทยา : น. วิชาว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับประวัติ โครงสร้าง และสภาพ ของโลก.
บุรพบท : [บุระพะบด, บุบพะบด] น. บุพบท, คําชนิดหนึ่งใน ไวยากรณ์ ทําหน้าที่เชื่อมคําต่อคํา อยู่หน้านาม สรรพนาม หรือ กริยา มีคําว่า ด้วย โดย ใน เป็นต้น เช่น เขียนด้วยดินสอ หนังสือ ของฉัน กินเพื่ออยู่.
ภาษาศาสตร์ : น. วิชาที่ศึกษาภาษาในแง่ต่าง ๆ เช่น เสียง โครงสร้าง ความหมาย โดยอาศัยวิธีการวิทยาศาสตร์ เช่น มีการตั้งสมมุติฐาน เก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลแล้วสรุปผล.
วดี ๒ : คําเติมท้ายคําอื่นที่เป็นนาม หมายความว่า มี เป็นเพศหญิงตามหลัก ไวยากรณ์ เช่น ดาราวดี ว่า มีดาว.
เวทางค์, เวทางคศาสตร์ : น. วิชาประกอบการศึกษาพระเวทมี ๖ อย่าง คือ ๑. ศึกษาวิธีออก เสียงคําในพระเวทให้ถูกต้อง ๒. ไวยากรณ์ ๓. ฉันท์ ๔. โชยติส คือ ดาราศาสตร์ ๕. นิรุกติ คือ กําเนิดของคําและ ๖. กัลปะ คือ วิธีจัดทําพิธี. (ส.).
กฎหมายรัฐธรรมนูญ : (กฎ) น. กฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมาย มหาชนที่มีวัตถุประสงค์ในการวางระเบียบการปกครองรัฐในทาง การเมือง โดยกำหนดโครงสร้างของรัฐ ระบอบการปกครอง การใช้อำนาจอธิปไตยและการดำเนินงานของสถาบันสูงสุดของ รัฐที่ใช้อำนาจอธิปไตย. (อ. constitutional law).
กายวิภาคศาสตร์ : [-วิพากคะสาด] น. วิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาหนึ่ง ว่าด้วยเรื่องโครงสร้างของร่างกายโดยศึกษาเป็นส่วน ๆ. (อ. anatomy).
แกงแนง : น. ไม้ค้ายันไขว้เป็นรูปกากบาทระหว่างเสา เพื่อป้องกันโครงสร้างมิให้เซหรือรวน.
คร่าว : [คฺร่าว] น. โครงสร้างซึ่งทำขึ้นด้วยวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นไม้ โลหะ เพื่อใช้ในการยึดแผ่นวัสดุที่ทำเป็นฝา รั้ว หรือฝ้าเพดาน ส่วนใหญ่จะยึด กับโครงสร้างที่สำคัญมีเสาคาน เป็นต้น คร่าวตีได้ทั้งในแนวตั้ง แนวนอน หรือเป็นตาราง.
ฉันทลักษณ์ : [ฉันทะลัก] น. ลักษณะแบบแผนคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง, ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่ว่าด้วยลักษณะของคำประพันธ์.
ฐานราก : น. โครงสร้างตอนล่างสุดที่รองรับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง; (กฎ) ส่วนของอาคารที่ใช้ถ่ายนํ้าหนักอาคารลงสู่ดิน.
ดัดแปลง : [-แปฺลง] ก. แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม, เปลี่ยนจากรูปเดิม โดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย, เช่น ดัดแปลงเรือนชั้นเดียวให้เป็น ๒ ชั้น; (กฎ) เปลี่ยนแปลงต่อเติม เพิ่ม ลด หรือขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วนนํ้าหนัก เนื้อที่ ของโครงสร้างของอาคารหรือส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม และมิใช่การซ่อมแซม หรือการดัดแปลงที่กําหนดในกฎกระทรวง; ทําซํ้าโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม หรือจําลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสําคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทํางานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน.
ทุ ๑ : ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป., ส. เดิม เป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและ สันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะ คําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษร กลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำ ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็น อักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
นาม, นาม : [นามมะ] น. ชื่อ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาม; คําชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ สําหรับเรียกคน สัตว์ และสิ่งของต่าง ๆ; สิ่งที่ไม่ใช่รูป คือ จิตใจ, คู่กับ รูป. (ป.).
นิวคลิอิก : น. ชื่อกรดชนิดหนึ่ง ซึ่งมีโมเลกุลใหญ่มากและมีโครงสร้างซับซ้อน มี ๒ ชนิด คือ กรดดีออกซีไรโบนิวคลิอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่ง เรียกย่อว่า DNA และกรดไรโบนิวคลิอิก (Ribonucleic acid) ซึ่งเรียก ย่อว่า RNA มีปรากฏอยู่ในสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ทําหน้าที่เก็บรวบรวมและ ถ่ายทอดพันธุกรรม. (อ. nucleic acid).
บุพบท : น. คําชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ ทําหน้าที่เชื่อมคําต่อคํา อยู่หน้านาม สรรพนาม หรือกริยา มีคําว่า ด้วย โดย ใน เป็นต้น เช่น เขียนด้วยดินสอ หนังสือของฉัน กินเพื่ออยู่.
ปฐมบุรุษ : [ปะถมมะ-, ปะถม-] น. บุรุษที่ ๑, ตามไวยากรณ์ ได้แก่ สรรพนามพวกที่ใช้แทนชื่อผู้พูด เช่น ข้า เรา แต่ตามไวยากรณ์บาลี หมายถึงพวกที่เราพูดถึง เช่น เขา.
ประโยคประธาน : [-โหฺยก-] น. หลักไวยากรณ์, หลัก.
ปรัสสบท : [ปะรัดสะบด] น. ''บทเพื่อผู้อื่น'', ในตำราไวยากรณ์บาลีและ สันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าเป็นกริยากัตตุวาจก เช่น สูโท โอทนํ ปจติ = พ่อครัวหุงอยู่ซึ่งข้าวสุก ปจติ เป็นกริยาปรัสสบท, ตรงข้ามกับ อัตตโนบท.
ปริกัลปมาลา : น. ระเบียบกริยาในไวยากรณ์ที่บอกความคาดหมาย ความกําหนด. (ส.).
ปริภูมิ : [ปะริพูม] (คณิต) น. เซตที่มีโครงสร้างบางอย่าง อาจเป็นโครงสร้าง แบบเรขาคณิตหรือโครงสร้างแบบอื่นก็ได้. (อ. space).
ปะการัง : น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง จําพวกเดียวกับดอกไม้ทะเล แต่ละตัวมีรูปร่างทรงกระบอก ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กอยู่รวมกันเป็น กระจุก สร้างหินปูนออกมาพอกทับถมกันเป็นโครงรูปร่างต่าง ๆ อาศัยและเจริญเติบโตในทะเลตื้นเขตร้อน ที่พบมากในน่านนํ้าไทย คือ ชนิด Porites lutea และ ปะการังเขากวาง ในสกุล Acropora, โครงสร้างของตัวปะการังที่เกาะติดอยู่กับที่และมีซากปะการังตาย ทับถมเพิ่มพูนขึ้นตามลําดับ เรียกว่า หินปะการัง, ถ้ามากจนเป็นโขด เกาะ หรือ เทือก ก็เรียกว่า โขดปะการัง เกาะปะการัง หรือ เทือก ปะการัง, บางทีเรียกเป็น กะรัง.
แป :
น. ส่วนหนึ่งของโครงสร้างหลังคา วางอยู่บนโครงสร้างอื่น ๆ ได้แก่ จันทัน ปลายเต้า เสาตุ๊กตา ปลายขื่อ และปลายขื่อประธาน ทำหน้าที่รับกลอนหรือรับเครื่องมุงโดยตรง. ว. เรียกด้านเรือน ตามยาวว่า ด้านแป; เรียกมือที่พิการ นิ้วกําเข้าไม่ได้ ว่า มือแป, เรียกตีนที่พิการ นิ้วงอเข้าไม่ได้ ต้องเดินตะแคง ๆ ว่า ตีนแป; ย่อย, แบน, ในคำว่า เงินแป คือ เงินเหรียญที่เป็นเงินย่อย. (แป ไทยขาวว่า ย่อย, แตกออก). (ดู เงินแป ที่ เงิน).
แปลาน : น. แปซึ่งอยู่เหนือแปงวงขึ้นไปหรืออยู่ระหว่างแปหัวเสา จนถึงอกไก่ มีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัสขึ้น อยู่กับระบบของโครงสร้างหลังคา.
ผลึก : [ผะหฺลึก] น. ชื่อแก้วอย่างหนึ่งมีสีใสขาว เรียกว่า แก้วผลึก, สิ่งมี ลักษณะขาวใสดั่งแก้ว เช่น น้ำตาลตกผลึก ผลึกน้ำตาล. (ป. ผลิก); (วิทยา) ของแข็งที่มีโครงสร้างเป็นรูปทรงเรขาคณิตที่แน่นอน เฉพาะตัว. (อ. crystal).
พยติเรก : [พะยะติเหฺรก] ว. แปลกออกไป; ในไวยากรณ์ใช้เป็นชื่อประโยค ใหญ่ที่แสดงเนื้อความแย้งกัน; ชื่อนิบาตในภาษาบาลีพวกหนึ่ง. (ป., ส. วฺยติเรก).
พฤทธิ์ : [พฺรึด] น. ความเจริญ, ความมั่งคั่ง, ความสมบูรณ์, ความอวบ, พฤฒิ ก็ใช้; ในไวยากรณ์หมายถึงเสียงยาวที่สุดของสระต่าง ๆ คือ ในบาลี และสันสกฤตได้แก่ อา เป็นพฤทธิ์ของ อะ เป็นต้น. ก. กระทําสระ ให้ยาวเช่นนั้น. (ส. วฺฤทฺธิ).
พีชคณิต : [พีชะคะนิด] (คณิต) น. คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มา ศึกษาการจําแนกประเภท คุณสมบัติ และโครงสร้างของระบบ จํานวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็น สําคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้นด้วย.
ฟองน้ำ ๒ : น. ชื่อสัตว์นํ้าไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัม Porifera มีเนื้อเยื่อ ๒ ชั้นลักษณะเป็นรูพรุน พบทั้งในทะเลและนํ้าจืด ที่พบในนํ้าจืดเรียก ฟองนํ้านํ้าจืด จําพวกที่มีโครงสร้างอ่อนนุ่มซึ่งพบในทะเลนํามาใช้ ถูตัวได้,โดยปริยายใช้เรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นรูพรุนอ่อนนุ่ม และซับนํ้าได้ดี.
ภาษาคำโดด : น. ภาษาแบบที่ใช้คำที่มีลักษณะโดด ๆ คือ ไม่มีการเปลี่ยน แปลงรูปไปตามหน้าที่หรือตามความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์เกี่ยวเนื่อง กับคำอื่น คำในภาษาคำโดดมักจะมีพยางค์เดียวเป็นส่วนมาก แต่ก็มีคำ สองพยางค์และหลายพยางค์ด้วย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม. (อ. isolating language).
ภาษามีวิภัตติปัจจัย : น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการใช้วิภัตติปัจจัย ประกอบเข้ากับรากศัพท์ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระทำให้เกิดเป็นคำที่แสดง เพศ พจน์ กาล มาลา วาจกอย่างชัดเจน เพื่อเข้าสัมพันธ์ทางไวยากรณ์ กลมกลืนกับคำอื่นในประโยค เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษากรีก โบราณ ภาษาละติน ภาษาฝรั่งเศส. (อ. inflectional language).
มดี : [มะ-] คําเติมท้ายคําอื่นที่เป็นนามในคําที่มาจากบาลีและสันสกฤตเฉพาะที่มีสระ อิ อุ อยู่ท้าย หมายความว่า มี เช่น สิริมดี พันธุมดี, ตามหลักไวยากรณ์ เป็นเพศหญิง. (ป., ส. มตี).
มุขยประโยค : น. ชื่อประโยคในตําราไวยากรณ์ได้แก่ ประโยคที่มี ประโยคอื่นเป็นส่วนขยาย.
แมงมุม : น. ชื่อสัตว์พวกแมง ที่ปากมีเขี้ยวรูปร่างคล้ายปากคีบและมีอวัยวะ รูปทรงคล้ายขายื่นออกมา ๑ คู่ ไม่มีหนวด มีหลายชนิด ทุกชนิดที่ขามีโครงสร้าง พิเศษซึ่งสามารถถักใยที่ออกมาจากรูเปิดตรงส่วนท้องได้ มีทั้งชนิดถักใยดักสัตว์ เช่นแมงมุมขี้เถ้า (Pholcus spp.) ในวงศ์ Pholcidae และชนิดกระโดดจับสัตว์กิน เช่น บึ้ง.
ยา : น. สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบํารุงร่างกาย เรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ เรียกตามลักษณะก็มี เช่น ยาผง ยาเม็ด ยานํ้า เรียกตามสีก็มี เช่น ยาแดง ยาเขียว ยาเหลือง ยาดํา เรียกตามรสหรือกลิ่นก็มี เช่น ยาขม ยาหอม เรียก ตามวิธีทําก็มี เช่น ยาต้ม ยากลั่น ยาดอง เรียกตามกิริยาที่ใช้ก็มี เช่น ยา กวาด ยากิน ยาฉีด ยาดม ยาอม; เรียกยาฝิ่นว่า ยา ก็มี เช่น โรงยา; สารเคมี สําหรับเคลือบเงินทองให้มีสีต่าง ๆ; (กฎ) วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วย ของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่ง สำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือ การกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์. ก. ทําให้หายโรค, รักษาให้หาย, ในคําว่า เยียวยา; ทําให้หายรั่ว เช่น ยาเรือ. ว. ใช้ประกอบคํา พี่ น้อง ลูก ว่า พี่ยา น้องยา ลูกยา, ใช้ในราชาศัพท์หมายความว่า เพศชาย เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ.
รื้อถอน : ก. รื้อและถอนสิ่งปลูกสร้างแล้วโยกย้ายไป เช่น รื้อถอนบ้าน เรือน; (กฎ) รื้อส่วนอันเป็นโครงสร้างของอาคาร เช่น เสา คาน ตง ออกไปให้หมด เช่น รื้อถอนบ้านเรือน.
เรขาคณิต : (คณิต) น. คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการจําแนกประเภทสมบัติ และโครงสร้างของเซตของจุดที่เรียงกันอย่างมีระเบียบตามกฎเกณฑ์ ที่กําหนดให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ เช่น เส้นตรง วงกลม รูปสามเหลี่ยม ระนาบ รูปกรวย.
ลงราก : ก. ท้องเดินและอาเจียน; วางฐานรากอันเป็นโครงสร้าง ส่วนที่รองรับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตอนล่างสุดไม่ให้ทรุด เช่น ลงรากตึก ลงรากอาคาร; มีรากงอกลงไปยึดดิน เช่น ต้นไม้ลงราก.
ลิงค์ : น. เครื่องหมายเพศ; ประเภทคําในไวยากรณ์ที่บอกให้รู้ว่าคํานั้น เป็นเพศอะไร เช่น ปุงลิงค์ คือ เพศชาย อิตถีลิงค์ คือ เพศหญิง; ลึงค์ ก็ว่า. (ป., ส.).
ลึงค์ : น. อวัยวะเพศชาย, อวัยวะเพศ; ประเภทคําในไวยากรณ์ที่บอกให้รู้ว่า คํานั้นเป็นเพศอะไร เช่น ปุลลึงค์ คือ เพศชาย สตรีลึงค์ คือ เพศหญิง; ลิงค์ ก็ว่า. (ป., ส. ลิงฺค).
วจีวิภาค : น. ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่ว่าด้วยคำและหน้าที่ของคำ.
วากยสัมพันธ์ : น. ชื่อตําราไวยากรณ์ตอนที่แยกความออกเป็น ประโยค ๆ และบอกความเกี่ยวข้องของคําในประโยค.
ศิลปศาสตร์ : น. วิชาต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่วิชาทางเทคนิค หรือทาง อาชีพ เช่น ภาษาศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์; ตำราว่าด้วย วิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่ เ๑. สูติ วิชาฟังสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชา เข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์ วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า ๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกาวิชากายบริหาร ๙.ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์ ๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชา ดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา วิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์ ๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์.
สนธิ : น. ที่ต่อ, การติดต่อ; การเอาศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปมาเชื่อมเสียง ให้กลมกลืนกันตามหลักที่ได้มาจากไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น พจน + อนุกรม เป็นพจนานุกรม ราช + อุปถัมภ์ เป็น ราชูปถัมภ์ นว + อรห + อาทิ + คุณ เป็น นวารหาทิคุณ. (ป., ส.).
สมโพธน์ : น. คําร้องเรียก, คําอาลปนะในไวยากรณ์. (ส. ว่า การร้องเรียก, การปราศรัย).
สมาส : [สะหฺมาด] น. การเอาศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปมาต่อกันเป็นศัพท์เดียว ตามหลักที่ได้มาจากไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สุนทร + พจน์ เป็น สุนทรพจน์ รัฐ + ศาสตร์ เป็น รัฐศาสตร์ อุดม + การณ์ เป็น อุดมการณ์. (ป., ส.).
อักขรวิธี : น. วิธีเขียนและอ่านหนังสือให้ถูกต้อง, ชื่อตำราไวยากรณ์ ตอนที่ว่าด้วยตัวอักษร การอ่าน การเขียน และการใช้ตัวอักษร. (ป.).
อัตตโนบท : น. ''บทเพื่อตน'', ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็น เครื่องหมายให้ทราบว่า เป็นกริยากรรมวาจกหรือภาววาจก เช่น สูเทน โอทโน ปจิยเต = ข้าวสุกอันพ่อครัวหุงอยู่, ปจิยเต เป็น กริยาอัตตโนบท, ตรงข้ามกับ ปรัสสบท.