Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: โคลง , then คลง, โคลง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : โคลง, 77 found, display 1-50
  1. โคลง : [โคฺลง] ก. เอียงไปเอียงมาหรือทําให้เอียงไปเอียงมา เช่น เรือโคลง ว่าวโคลง โคลงเรือ โคลงหัว.
  2. โคลง : [โคฺลง] น. คําประพันธ์ประเภทหนึ่ง มีจำนวนคำในวรรคสัมผัสและ บังคับเอกโทตามตําราฉันทลักษณ์.
  3. โคลงโบราณ : น. ชื่อโคลงชนิดหนึ่งคล้ายโคลง ๔ มีบังคับสัมผัส แต่ไม่มีบังคับเอกโท เช่น โคลงมหาวิชชุมาลี โคลงมหาสินธุมาลี ซึ่งมีปรากฏอยู่ในตำรากาพย์สารวิลาสินี.
  4. สะเทิน ๓ : ก. ไหว, โคลง, เช่น ช้างตัวนี้เดินไม่สะเทิน.
  5. คลิ้งโคลง : [คฺลิ้งโคฺลง] น. นกกิ้งโครง เช่น คลิ้งโคลงคล้อแคล้ในรัง นกเจ่าเหงาฟัง แลสารกระสาสรวลตาง. (สมุทรโฆษ). (ดู กิ้งโครง๑).
  6. โยกโคลง : ก. โยนไปมาไม่มั่นคง.
  7. กล้อ ๑ : [กฺล้อ] น. เรือโกลน. ว. กลม. ก. ทําให้กลม; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) โคลง เช่น เรือกล้อ ว่า เรือโคลง.
  8. กลอน ๒ : [กฺลอน] น. คําประพันธ์ซึ่งแต่เดิมเรียกคําเรียงที่มีสัมผัสทั่วไป จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่ายก็ตาม เช่นในคำว่า ชุมนุมตํารากลอน, ครั้นเรียกเฉพาะคําประพันธ์เฉพาะอย่างเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย แล้ว คําประพันธ์นอกนี้อีกอย่างหนึ่งจึง เรียกว่ากลอน เป็นลํานําสําหรับขับร้องบ้าง คือ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย, เป็นเพลงสําหรับอ่านบ้าง คือ กลอนเพลงยาว หรือ กลอนตลาด.
  9. กะเดก : ว. โยก, โคลง.
  10. กะโลง : (ถิ่น-อีสาน) น. ลังไม้ฉําฉา, หีบไม้; (ถิ่น-พายัพ) โคลง.
  11. โกลง : [โกฺลง] (โบ) ว. โคลง เช่น โกลงกลึงถึงสถานเปรียบแป้น. (ปฏิสังขรณ์วัดป่าโมก).
  12. ครรโลง : [คันโลง] (กลอน) น. โคลง, คําประพันธ์ชนิดหนึ่ง. (แผลงมาจาก โคลง).
  13. เดก : ว. กระเดก, โยก, โคลง.
  14. นิราศ ๑ : [ราด] ก. ไปจาก, ระเหระหน, ปราศจาก. น. เรื่องราวที่พรรณนาถึง การจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่าง ๆ เป็นต้น มักแต่งเป็นกลอนหรือ โคลง เช่น นิราศนรินทร์ นิราศเมืองแกลง. (ส.).
  15. บท ๑, บท- ๑ : [บด, บดทะ-] น. ข้อความเรื่องหนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่ง ๆ เช่น บทที่ ๑ บทที่ ๒; กําหนดคําประพันธ์ที่ลงความตอนหนึ่ง ๆ เช่น โคลง ๔ สุภาพ ๔ บาท เป็น ๑ บท; คําที่ตัวละครพูด เช่น บอกบท; คําประพันธ์ ที่เขียนขึ้นสําหรับเล่นละคร มีทั้งบทร้องและบทเจรจา เช่น บอกบท เขียนบท; คราว, ตอน, ในคําเช่น บทจะทําก็ทํากันใหญ่ บทจะไป ก็ไปเฉย ๆ บทจะตายก็ตายง่ายเหลือเกิน. (ป. ปท).
  16. บาท ๓ : น. ส่วนหนึ่งของบทแห่งคําประพันธ์ เช่น โคลง ๔ สุภาพ บทหนึ่ง มี ๔ บาท.
  17. ประพนธ์ : น. คําร้อยกรอง เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน. ก. ประพันธ์, ร้อยกรอง, ผูก, แต่ง, เรียบเรียง; เกี่ยวเนื่อง. (ส. ปฺรพนฺธ; ป. ปพนฺธ).
  18. กร้อ : น. เครื่องสานยาชัน รูปคล้ายปุ้งกี๋ แต่เล็กกว่า ใช้วิดน้ำเรือ เช่น ส่วนตัวมึงคือกร้อ แต่งไว้วิดเรือ. (โคลงกวี), สามัญ เรียกว่า ตะกร้อ. (เทียบ ข. กฺรฬ ว่า ไห). (รูปภาพ กร้อ)
  19. กระจอก ๒ : (โบ) น. เล็บ เช่น กระจอกสอกายใหญ่หน้าเล็กลาน หล็อนแฮ. (ตําราช้างคําโคลง). (ข. กฺรจก ว่า เล็บ).
  20. กระทด : (โบ) ว. คด, ไม่ตรง, เช่น คอกระทดคดคอดหยัก รวดท้าย. (ตําราช้างคําโคลง), ไม้กระทดกระทําทอน ทุกที่ กงนา. (โลกนิติ).
  21. กระทู้ ๑ : น. ซอไม้ไผ่ที่เอามาปักเป็นเสารั้ว; หลัก เช่น ช้างพังพลาย เป็นสัตว์มีคุณแล้วก็เป็นกระทู้ราชการสําหรับแผ่นดินสืบมา. (ท้องตราโบราณ วชิรญาณรายเดือน เล่ม ๗), เป็นกระทู้การสงคราม. (ประชุมพงศ. ๒); (ไว) ในฉันทลักษณ์ หมายเอาข้อความอันเป็น เค้าเงื่อนนําหน้าบทกลอน เช่น โคลงที่แต่งตามเค้าเงื่อนนั้น เรียกว่า โคลงกระทู้.
  22. กระแบกงา : ก. แตกเป็นไรงา เช่น พลุกกระแบกงาแต่ต้นจนปลาย. (ตําราช้างคําโคลง).
  23. กร่าย : [กฺร่าย] น. ผ้าคาดที่ถักเป็นตาข่าย เช่น คาดกร่ายชายทองวาง ร่วงรุ้ง. (กาพย์ห่อโคลง).
  24. กังเวียน : น. ขอบผ้าปกกระพองช้าง เช่น จัดพาดกังเวียนวาง ห่อได้. (ตําราช้างคําโคลง-วชิรญาณ เล่ม ๒๑).
  25. กำพด : น. จอมประสาทหัวช้าง เช่น โขมดสารกําพด ทรงเทริด. (ตําราช้างคําโคลง).
  26. กิ้งโครง ๑ : น. ชื่อนกในวงศ์ Sturnidae ลักษณะคล้ายนกเอี้ยงซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน กินผลไม้และแมลง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น กิ้งโครงคอดํา (Sturnus nigricollis) กิ้งโครงแกลบปีกขาว (S. sinensis), คลิ้งโคลง ก็เรียก.
  27. เกก : ว. เก, เกไป, เรียกเขาวัวเขาควายเป็นต้นที่เฉออกไม่เข้ารูปกันว่า เขาเกก, เรียกงาช้างที่ปลายเฉออกไปว่า งาเกก เช่น งาเกกข้างหนึ่งเข้า โดยหลัง. (ตําราช้างคําโคลง), เรียกเสาเขื่อนที่เฉออกว่า เขื่อนเกก.
  28. ขับไม้ : น. การเล่นดนตรีอย่างหนึ่ง มีคนเล่น ๓ คนด้วยกัน คนหนึ่ง ขับร้องลํานํา คนหนึ่งสีซอ ๓ สายประสานเสียง คนหนึ่งไกวบัณเฑาะว์ ให้จังหวะ; ชื่อคําประพันธ์ชนิดหนึ่ง ใช้โคลงกับกาพย์สุรางคนางค์สลับกัน.
  29. เข้าลิลิต : ก. สัมผัสคำระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กำหนดไว้ใน ตำราฉันทลักษณ์ เช่นคำ ``สม'' กับ ''สนม'' ในตัวอย่างต่อไปนี้ จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย ห่อนช้าคืนสม แม่แลฯ สามสนมสนองนารถไท้ ทูลสาร พระจักจรจากสถาน ถิ่นท้าว เสด็จแดนทุระกันดาร ใดราช เสนอนา ฤๅพระรานเสน่ห์ร้าว ด่วนร้างแรมไฉนฯ (ตะเลงพ่าย).; เรียกคำที่เติม เอศ ข้างท้าย เพื่อทำคำสุภาพให้เป็นคำเอกตามข้อบังคับโคลงว่า ศ เข้าลิลิต.
  30. คำโท : (ฉันทลักษณ์) น. คำที่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์โทกำกับอยู่ไม่ว่า คำนั้นจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใด เป็นคำบังคับในการแต่งโคลง เช่น ข้า คว้า แล้ว.
  31. คำหลวง : น. คําประพันธ์ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ มีโคลงฉันท์กาพย์ กลอนปนกัน คือ มหาชาติคําหลวงและพระนลคําหลวง, คําประพันธ์ ที่แต่งมีลักษณะอย่างมหาชาติคําหลวง คือ นันโทปนันทสูตรคําหลวง และพระมาลัยคําหลวง.
  32. โคลงเคลง ๑ : ก. โคลงไปโคลงมา. ว. อาการที่รู้สึกวิงเวียนคล้าย อยู่ในเรือโคลง.
  33. โงง, โงงเงง : ก. โคลง, ไหว, ตั้งไม่ตรง, โยกโคลง, ตั้งอยู่ด้วยอาการไม่มั่นคง.
  34. จ่อม ๒ : ก. หย่อนลง, วางลง, เช่น เอาเบ็ดไปจ่อม จ่อมก้นไม่ลง, จุ่มลง, จม, เช่น ปวงเทพเจ้าตกจม จ่อมม้วย. (โคลงตำนานศรีปราชญ์), จอด เช่น ใจจ่อมเจ้า; ฟุบ, หมอบ, (ใช้แก่สัตว์ เช่น โค กระบือ).
  35. จังเก : น. สะเอว เช่น มือนวดแนบจังเก แกะพลิ้ว. (โคลงพระยาตรัง). (ข. จงฺเกะ).
  36. จัตวาทัณฑี : น. ชื่อโคลง ๔ ชนิดหนึ่ง ซึ่งบาท ๒ ใช้พยางค์ที่ ๔ สัมผัส เช่น ท้าวไทยนฤเทศข้า ขับหนี ลูกราชสีพีกลัว ไพร่ฟ้า พลเมืองบดูดี ดาลเดียด กระเหลียดลับลี้หน้า อยู่สร้างแสวงบุญ. (ชุมนุมตำรากลอน). จัตวาศก น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๔ เช่น ปีจอ จัตวาศก จุลศักราช ๑๓๔๔.
  37. จำนอง : ก. ผูก, คล้อง, หมายไว้, กําหนด, จําไว้, (โบ; กลอน) ประพันธ์, แต่ง, เช่น จึ่งจำนองโคลงอ้าง ถวายแด่บพิตรเจ้าช้าง. (ลอ). (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคล คนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จํานอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจํานอง เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ ผู้รับจํานอง. (แผลงมาจาก จอง).
  38. ชะลอ : ก. อาการที่ลากเลื่อนสิ่งของที่หนักให้ค่อย ๆ เคลื่อนไปจากที่, พยุงไว้, ประคองไว้, ค่อย ๆ ประคองไป เช่น โคลงชะลอ พระพุทธไสยาสน์, ค่อย ๆ พยุงขึ้น; ทําให้ช้าลง, ทําให้ช้าลง เพื่อรอ เช่น ชะลอเวลา ชะลอการเกิด.
  39. ชำนาญเกลากลอน : น. ชื่อโคลงโบราณแบบหนึ่ง; ชื่อเพลงปี่พาทย์ทํานองหนึ่ง. (ดึกดําบรรพ์).
  40. ดั้น ๒ : น. ชื่อโคลงและร่ายประเภทหนึ่ง เรียกว่า โคลงดั้น และ ร่ายดั้น.
  41. เด้าลม : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Motacillidae ตัวเรียวเล็ก หางยาว มักยกหาง ขึ้น ๆ ลง ๆ พร้อมกับโคลงหัวไปมาเวลาเดิน กินแมลง มีหลายชนิด เช่น เด้าลมหลังเทา (Motacilla cinerea) เด้าลมเหลือง (M. flava) เด้าลมดง (Dendronanthus indicus), กระเด้าลม ก็เรียก.
  42. ตรีพิธพรรณ : [ตฺรีพิดทะพัน] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง; ชื่อโคลง ๔ ประเภทหนึ่ง.
  43. ตรีเพชรทัณฑี : [ตฺรีเพ็ดทันที] น. ชื่อโคลงชนิดหนึ่ง.
  44. ทวาตรึงประดับ : น. ชื่อโคลงโบราณ.
  45. ทวารประดับ : [ทะวาน-] น. ชื่อโคลงโบราณ, สกัดแคร่ ก็เรียก.
  46. ทัณฑีบท : [ทันทีบด] น. โคลงโบราณชนิดหนึ่ง. (ชุมนุมตํารากลอน).
  47. ทำนองเสนาะ : น. วิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของ บทร้อยกรองประเภทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน.
  48. นันททายี : [นันทะ] น. ชื่อโคลงโบราณอย่างหนึ่ง, คู่กับ มหานันททายี.
  49. นาคพันธ์ : [นากคะ] น. ชื่อโคลงโบราณชนิดหนึ่ง, สนธิอลงกต ก็ว่า.
  50. บทสังขยา : น. ชื่อโคลงแบบโบราณ.
  51. [1-50] | 51-77

(0.0513 sec)