โคลน : [โคฺลน] น. ดินเหลว.
บงก-, บงก์ : (แบบ) น. เปือกตม, โคลน, โดยมากใช้ประกอบหน้าคําอื่น เช่น บงกช ว่า ของที่เกิดในเปือกตม คือ บัว. (ป., ส. ปงฺก).
สาดโคลน : [โคฺลน] (สํา) ก. ใส่ร้ายป้ายสี.
ขี้แดด : น. ตะไคร่ที่จับบนผิวโคลนสีเขียว ๆ.
ขี้เทือก : น. ที่ดินที่ไถและคราดเป็นต้นแล้วทำให้เป็นโคลนเป็นตม เพื่อตกกล้า เช่น ทําขี้เทือกตกกล้า, เทือก ก็ว่า.
เขรอะ, เขลอะ : [เขฺรอะ, เขฺลอะ] ว. เป็นตะกอนทับถมอย่างของที่นอนก้นซับซ้อนอยู่ เช่น ตะกอนเขรอะ, เกรอะ ก็ว่า; เลอะเทอะ เช่น รองเท้าเปื้อนโคลนเขลอะ. ก. จับหรือเกาะซับซ้อนกันอยู่ เช่น สนิมเขรอะ ฝุ่นเขลอะ.
คราง ๒ : [คฺราง] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Scapharca inaequivalvis ในวงศ์ Arcidae ลักษณะคล้ายหอยแครงแต่ขนาดใหญ่กว่า ที่เปลือกมีขน อาศัยอยู่ตามบริเวณพื้นที่มีโคลนปนทราย.
คออ่อน ๒ : น. ชื่องูทะเลมีพิษชนิด Enhydrina schistosa ในวงศ์ Hydrophiidae ตัวยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร สีเขียวอมเทา มีลายจาง ๆ อาศัย ในทะเลโคลน.
แครง ๑ : [แคฺรง] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Anadara granosa ในวงศ์ Arcidae ตัวป้อม ๆ กาบมีสันและร่อง อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลบริเวณที่มีโคลน ปนทราย; ภาชนะสําหรับวิดนํ้า รูปคล้ายกาบหอยแครง, ถ้าใช้วิดนํ้าใน สวน มีด้ามยาว, ถ้าใช้วิดนํ้าเรือ ไม่มีด้าม.
โคก ๒ : น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Anodontostoma และ Nematalosa วงศ์ Clupeidae หัวเล็ก ปากเล็ก ลําตัวสั้น แบนข้าง ท้องเป็นสันแหลม เกล็ด ที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลําตัวสีเงิน อยู่รวม กันเป็นฝูงเล็ก ๆ ตามชายฝั่งที่มีพื้นท้องทะเลเป็นโคลน, ตะเพียนนํ้าเค็ม ก็เรียก.
เจ้าฟ้า ๑ : น. ชื่อกั้งขนาดกลางชนิด Acanthosquilla sirindhorn ในวงศ์ Nannosquillidae ลำตัวค่อนข้างแบนสีเหลืองนวล มีแถบสีดำ พาดขวางทุกปล้องตลอดความยาวลำตัวและแพนหาง ด้านบนของ หางนูนเป็น ๓ ลอน แต่ละลอนมีหนาม ๔-๖ อัน ขุดรูอยู่ตาม หาดทรายปนโคลน.
ชายธง ๒ : น. ชื่องูทะเลมีพิษในวงศ์ Hydrophiidae ตลอดตัวมักมีลาย คล้ายธงราวสีจาง ๆ หางแบนเป็นพาย พบในเขตพื้นท้อง ทะเลทั้งที่เป็นทรายและที่เป็นโคลน มีหลายชนิดและ หลายสกุล เช่น ชายธงนวล (Aipysurus eydouxii) ชายธง ท้องบาง (Praescutata viperina).
ตลับ ๒ : [ตะหฺลับ] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในสกุล Meretrix วงศ์ Veneridae เปลือก หนาคล้ายรูปสามเหลี่ยม เป็นมัน มีสีต่าง ๆ กัน ฝังตัวอยู่ตามพื้นที่เป็นทรายหรือ โคลนในทะเล.
เทือก : น. ที่ดินที่ไถและคราดแล้วทําให้เป็นโคลนเป็นตมเพื่อตกกล้า เช่น ทําเทือกตกกล้า, ขี้เทือก ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงที่ซึ่งเปรอะ เลอะเทอะเพราะยํ่ากันไปมา เช่น ยํ่าเป็นเทือก.
บังโกลน, บังโคลน : [-โกฺลน, -โคฺลน] น. เครื่องบังเหนือล้อรถ ป้องกัน โคลนมิให้กระเด็นขึ้นมาเปื้อนรถ.
บุก ๒ : ก. ลุย, ฝ่าไป, เช่น บุกโคลน บุกป่า.
ปลัก : [ปฺลัก] น. แอ่งที่เป็นโคลนเลน เช่น ปลักควาย.
เปะ : ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะข้นเหลวเป็นต้นซัดลงไป เช่น เอาโคลนมาเปะ ที่กำแพง, โดยปริยายหมายถึงทิ้งไว้ให้เป็นภาระของผู้อื่น เช่น เอา ลูกมาเปะให้พี่สาวเลี้ยง.
เปือก : น. ฟองหรือสิ่งที่เกิดเป็นฝ้าขึ้นจากโคลนตม.
เปื้อน : ก. ติดสิ่งที่ทําให้เกิดสกปรก น่ารังเกียจ หรือไม่ต้องการ เช่น เปื้อนโคลน เปื้อนแกง เปื้อนเลือด. ว. มีสิ่งสกปรก น่ารังเกียจ หรือไม่ต้องการติดอยู่ เช่น มือเปื้อน ผ้าเปื้อน.
แปลง ๑ : [แปฺลง] น. ที่โล่งแห่งหนึ่ง ๆ เช่น คล้องช้างกลางแปลง, พื้นที่ที่กําหนด ไว้แห่งหนึ่ง ๆ เช่น นาแปลงหนึ่ง, ที่เป็นแอ่งมีโคลนเลนซึ่งคนหรือสัตว์ ทําขึ้น เช่น แปลงหมู แปลงควาย.
ผ้าขี้ริ้ว ๒ : น. ชื่องูทะเลชนิด Acrochordus granulatus ในวงศ์ Colubridae ตัวสีเทาลายเทาเข้มปนนํ้าเงิน นุ่มนิ่มเหมือนกองผ้าขี้ริ้ว อาศัย ตามทะเลโคลนมากกว่าทะเลนํ้าใส ไม่มีพิษ.
เผละ : [เผฺละ] ว. เสียงอย่างเสียงสาดโคลน; โดยปริยายหมายความว่า ไม่เป็นที่เป็นทาง เช่น โยนเผละ ทิ้งเผละ; ลักษณะเนื้อของคนอ้วน เที่กระเพื่อม เรียกว่า นื้อเผละ; ลักษณะที่ของข้น ๆ ที่ไหลล้น เลอะเทอะ ในคำว่า ไหลเผละ.
ฟองฟอด : ว. ลักษณะที่มีฟองมาก เช่น แกงบูดเป็นฟองฟอด ย่ำน้ำโคลนเป็นฟองฟอด.
ฟอดแฟด : ก. น่วมฟ่ามอยู่ข้างใน. ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เสียงย่ำโคลนดังฟอดแฟด; อาการที่โกรธกระฟัดกระเฟียด.
ย่ำเทือก : ก. ยํ่าดินโคลนพื้นนาที่จะตกกล้าให้อ่อนเหลว, ย่ำขี้เทือก ก็เรียก.
ล้มลุกคลุกคลาน : ก. หกล้มหกลุก เช่น ฝนตกหนักถนนเป็นโคลน เขาต้องวิ่งหนีฝนล้มลุกคลุกคลานไปตลอดทาง สะดุดตอไม้ล้มลุก คลุกคลาน, โดยปริยายหมายความว่า ซวดเซ, ไม่มั่นคง, ตั้งตัวไม่ติด, เช่น ชีวิตของเขาต้องล้มลุกคลุกคลานอยู่ตลอดเวลา เขาล้มลุกคลุก คลานมาหลายปีกว่าจะตั้งตัวได้.
ลาย ๓ : น. ชื่อหอยนํ้าเค็มกาบคู่ชนิด Paphia undulata ในวงศ์ Veneridae เปลือกเรียบ พื้นสีออกเหลือง ลายสีเทาโคลน พบมากตามพื้น โคลนปนทราย กินได้.
ลุย : ก. เคลื่อนที่ฝ่าเรื่อยเข้าไป เช่น ลุยน้ำ ลุยโคลน ลุยไฟ ลุยป่า ขับรถ ลุยเข้าไปในฝูงคน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลุยงานให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด หัวหน้าสั่งลูกน้องลุยฝ่าย ตรงข้าม.
เลอะ : ว. เปื้อน เช่น เสื้อเลอะเขม่า หน้าเลอะหมึก, เปรอะไปด้วยสิ่งเปียก ๆ แฉะ ๆ มีลักษณะเละ อย่างโคลนเลน เช่น ย่ำโคลนขึ้นบ้านเลอะหมด, เรี่ยรายกระจัดกระจายไปทั่วอย่างไม่มีระเบียบ เช่น วางข้าวของไว้ เลอะเต็มห้อง, โดยปริยายหมายความว่า วุ่นวายสับสน เช่น เรื่องนี้ชัก เลอะกันใหญ่ ผ้าดอกเลอะ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น พูดจาเลอะ อายุมากแล้ว ชักจะเลอะ.
เละ : ว. เปื่อยหรือแหลกเหลวจนไม่เป็นรูปเดิม เช่น ต้มข้าวต้มจนเละ น้อยหน่างอมจนเละ, เฟะ หรือ แฟะ ก็ว่า; เหลวเป็นปลัก เช่น ฝนตกถนนเป็นโคลนเละ; ไม่แน่น เช่น คนแก่เนื้อเละ ผ้าเนื้อเละ; โดยปริยายหมายความว่า สับสนวุ่นวายไม่เป็นระเบียบ เช่น ลูก ๆ ทำครัววางข้าวของกันไว้เละ พ่อแม่ไม่อยู่ บ้านเละหมด.
วัก ๑ : ก. เอาอุ้งมือตักน้ำหรือของเหลวขึ้นมาค่อนข้างเร็ว เช่น ใช้มือวักน้ำ กิน เอามือวักน้ำโคลนสาด, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น วักควัน.
สาด ๒ : ก. ซัดไป เช่น สาดน้ำ สาดโคลน สาดทราย, วักน้ำหรือตักน้ำซัดออกไป โดยแรง เช่นสาดน้ำรดแปลงผัก, ซัดหรือกระเซ็นเข้ามา เช่น ฝนสาด, ซัด หรือยิงอาวุธหรือกระสุนปืนทีละมาก ๆ เช่น สาดอาวุธเข้าหากัน สาดกระสุนเข้าใส่กัน; ส่องแสงเข้ามา เช่น ดวงจันทร์สาดแสง ห้องนี้ แดดสาดทั้งวัน, กระจาย เช่น ถูกตีหัวเลือดสาด.
หมก ๑ : ก. ซุกไว้ใต้ เช่น หมกดิน หมกโคลน หมกทราย, หลบหน้า เช่น ไปหมกหัว อยู่ที่ไหน, ทิ้งสุม ๆ ไว้ เช่น เสื้อผ้าใช้แล้วอย่าหมกไว้; เรียกวิธีทําอาหาร บางอย่างให้สุกด้วยการหมกไฟ เช่น หมกปลา หมกหัวมันเทศ.
หล่ม : [หฺล่ม] น. ที่มีโคลนลึก, ที่ลุ่มด้วยโคลนลึก. ว. มีโคลนลึก, ลุ่มด้วยโคลนลึก.
หลอด ๒ : น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในสกุล Solen วงศ์ Solenidae เปลือกประกบกันเป็น รูปทรงกระบอกเปิดหัวเปิดท้าย หัวเปิดมีท่อสำหรับทางน้ำเข้าออก ท้าย เปิดสําหรับยื่นตีนขุดดินโคลนฝังตัว เช่น ชนิด S. strictus ซึ่งพบมากที่ ดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม.
หลุมเสือก : น. หลุมที่ตรงปากใช้โคลนหรือดินเหนียวทำให้ลื่นเพื่อให้ปลา เสือกตัวลงไป.
หอยปากเป็ด : น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังชนิด Lingula unguis ในวงศ์ Lingulidae ไฟลัม Brachiopoda เปลือกสีเขียว แบน บาง มีก้านยืดหดได้ อาศัยอยู่ตาม หาดโคลน.
คลื่น : [คฺลื่น] น. นํ้าในทะเลหรือแม่นํ้าลําคลองเป็นต้น ซึ่งบางส่วนมีอาการ เคลื่อนไหวนูนสูงกว่าระดับโดยปรกติแล้วลดลงและแลเห็นเคลื่อนไป เป็นระยะยาวหรือสั้นบนผิวนํ้า, โดยปริยายใช้แก่สิ่งอื่นที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คลื่นเสียง คลื่นมนุษย์ ผมดัดเป็นคลื่น ถนนเป็นคลื่น.
เคล้น : [เคฺล้น] ก. บีบเน้นไปมา.
แคลน : [แคฺลน] ว. ขัดสน, อัตคัด, มักใช้ประกอบคําอื่น เช่น ขาดแคลน = ทั้งขาดทั้งแคลน หมายความว่า อัตคัด, ขัดสน ดูแคลน = ดูหมิ่น เพราะเห็นเขาขัดสน ดูหมิ่นถิ่นแคลน = ดูถูกว่ามีฐานะตํ่าต้อย.
ดรงค์ : [ดะ-] (แบบ) น. คลื่น, ระลอก. (ป., ส. ตรงฺค).
วิจิ : น. วีจิ, คลื่น, ลูกคลื่น. (ป., ส. วีจิ).
วีจิ : น. คลื่น, ลูกคลื่น. (ป., ส.).
เหียน ๒, เหียน ๆ : ก. มีอาการพะอืดพะอมคล้ายจะคลื่นไส้ เช่น รู้สึกเหียน ๆ, มักใช้เข้าคู่กับคำ คลื่น เป็น คลื่นเหียน.
อุลโลละ : [อุน] น. คลื่น; ความปั่นป่วน, ความไม่ราบคาบ. (ป., ส.).