คช- : [คดชะ-] (แบบ) น. ช้าง, ช้างพลาย. (ป., ส.).
คชศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยช้าง มี ๒ ประเภท คือ คชลักษณ์ และ คชกรรม.
คชลักษณ์ : น. รูปพรรณสัณฐานของช้างต่าง ๆ ซึ่งดีและชั่ว, ประเภทตํารา แสดงรูปพรรณสัณฐานของช้างต่าง ๆ ซึ่งดีและชั่ว ถ้าได้ไว้จะให้คุณหรือ โทษแก่เจ้าของ.
กระยาคชวาง : [-คดชะวาง] น. ข้าวสําหรับบําบวงเชือกบาศ เป็นพิธีของพระหมอเฒ่าในการรับช้างเผือก.
คชาชาติ : ดู คช-.
คชาชีพ : ดู คช-.
คชาชีพ : น. คนเลี้ยงช้าง, หมอช้าง, ควาญช้าง. (ป. คช + อาชีว).
คชาธาร : น. ช้างทรง, ช้างพระที่นั่ง; เครื่องแต่งหลังช้างชนิดหนึ่ง มี ๓ อย่าง คือ ๑. พระคชาธารเครื่องมั่น สําหรับใช้ในการสงคราม. ๒. พระคชาธารพุดตานทอง สำหรับผูกช้างพระที่นั่งทรงซึ่งใช้ในกระบวน อิสริยยศ. ๓. พระคชาธารกาญจนฉันท์ สําหรับผูกหลังช้าง ประดิษฐาน พระชัยวัฒน์. (ป. คช + อาธาร).
คชาธาร : ดู คช-.
คชาภรณ์ : ดู คช-.
คชาภรณ์ : น. เครื่องประดับช้าง. (ป. คช + อาภรณ).
คชินทร์, คเชนทร์ : ดู คช-.
คชินทร์, คเชนทร์ : น. พญาช้าง. (ส. คช + อินฺทฺร).
ช ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๑๐ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น ราช คช กริช แซนด์วิช.
กรรภิรมย์ : [กัน-] น. ฉัตร ๕ ชั้นสํารับหนึ่ง ทําด้วยผ้าขาวลงยันต์เส้นทอง ใช้ถุงปัศตูแดงสวม มี ๓ องค์ด้วยกัน คือ พระเสมาธิปัต พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ เป็นเครื่องสูง ใช้กางเชิญนํา พระราชยานเวลาเสด็จพระราชดําเนินโดยกระบวนพยุหยาตรา และใช้เข้าพิธีคชกรรมเชิญนําช้างเผือกขึ้นจากแพเข้าสู่โรงสมโภช หรือใช้ผูกเสาพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีใหญ่, เขียนเป็น กรรม์ภิรมย์ กันภิรมย์ หรือ กันพิรุณ ก็มี.
กระจร ๑ : (กลอน) น. ต้นสลิด เช่น กระทุ่มกระจรแล้ คชน้าวกาหลง. (พงศ. เหนือ). (แผลงมาจาก ขจร).
การัณย์ : [การัน] น. กรณีย์, กิจ, เช่น ชี้แจงแถลงเรื่องการัณย์ ส่งคชสำคัญ ทั้งหมอแลควาญมาถวาย. (ดุษฎีสังเวย).
กำทวน : ว. สนั่น, หวั่นไหว, ก้อง, เช่น เสียงมฤคคชสีหไกรสร สีหนาทกําธร กําทวนข้างป่าหิมพานต์. (สมุทรโฆษ).
กุงาน : น. ห่าน, ใช้หมายความถึง นกยูง ก็มี เช่น แพนกุงานกระพือ. (สมุทรโฆษ), กลางคชเทอดแพน กุงาน ง่าคว้าง. (ลิลิตพยุหยาตรา).
โคบุตร : [-บุด] น. ชื่อช้างหมู่ ๑ ในอัฏฐคช ตระกูลวิษณุพงศ์ มีสีผิว เหลือง หางเหมือนหางโค งางอน เวลาร้องมีเสียงเหมือนเสียงโคป่า เช่น ลางคือโคบุตรพรายพรรณ ลางสารสำคัญ คือสีหชงฆาควร. (สมุทรโฆษ).
จราก : [จะหฺราก] (กลอน) ก. ตรากตรำ, ทําให้ลําบาก, เช่น คล้องติดคชคลอคชทังป่า ขับจากขัง แลเข้าจรลุงจรากจอง. (สมุทรโฆษ).
จั้ง : (โบ) ก. ตั้ง เช่น คือคชกลับกลอกจั้ง จญสีห์. (ยวนพ่าย).
จันทรเม็ด : [จันทะระ-] (แบบ) น. ปลาจะละเม็ด เช่น ปลาแมวลิ้นหมาปลาหมู คชราราหู มีจันทรเม็ดและทรมาง. (สมุทรโฆษ).
ช้างเผือก ๑ : น. ช้างในตระกูลชาติพรหมพงศ์ อิศวรพงศ์ พิษณุพงศ์หรืออัคนิพงศ์ ที่มีลักษณะ ๗ สี คือ ขาว เหลือง เขียว แดง ดํา ม่วง เมฆและมีตา เล็บ ขน เป็นต้น ประกอบ ด้วยคชลักษณ์ด้วย; โดยปริยายหมายถึงคนดีมีวิชาเป็นต้น ที่เกิดในชนบทแล้วมามีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ในกรุง.
มหาวงศ์ : น. ชื่อหนังสือพงศาวดารลังกา แต่งเป็นภาษาบาลีโดยพระมหานาม เพื่อเรียบเรียงตำนาน พระพุทธศาสนาและเหตุการณ์บ้านเมืองของลังกาทวีปตั้งแต่สมัยแรกเริ่มจนถึงรัชสมัย พระเจ้าคชพาหุ.
หมอขวัญ : น. ผู้รู้พิธีทําขวัญ, หมอทำขวัญ ก็เรียก; ผู้มีความรู้ทางคชศาสตร์ และเป็นหัวหน้าในการจับช้าง, หมอเฒ่า ก็เรียก.
หมอเฒ่า : น. ผู้มีความรู้ทางคชศาสตร์และเป็นหัวหน้าในการจับช้าง, หมอขวัญ ก็เรียก.
อุกคลุก : (กลอน) ก. เข้ารบคลุกคลีประชิดตัว, อุตลุด, เช่น อุกคลุก พลุก เงยงัด คอคช เศิกแฮ. (ตะเลงพ่าย).