บูชา : ก. แสดงความเคารพบุคคลหรือสิ่งที่นับถือด้วยเครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น เช่น บูชาพระ บูชาเทวดา บูชาไฟ, ยกย่องเทิดทูนด้วยความนับถือหรือเลื่อมใสในความรู้ความ สามารถ เช่น บูชาวีรบุรุษ บูชาความรู้ บูชาฝีมือ. (ป., ส. ปูชา).
แท่นที่บูชา, : (ราชา) เรียกที่ประทับหรือที่บรรทมของพระเจ้าแผ่นดิน ว่า พระแท่น เช่น พระแท่นมหาเศวตฉัตร พระแท่นราชบรรจถรณ์; เรียกโต๊ะสําหรับกราบพระหน้าโต๊ะหมู่บูชาว่า พระแท่นทรงกราบ.
บูชากัณฑ์เทศน์ : ก. ติดกัณฑ์เทศน์ด้วยจตุปัจจัยไทยธรรมเป็นต้น.
เครื่องตั้ง : น. เครื่องตั้งโต๊ะบูชา มีแจกัน เชิงเทียน กระถางธูป และ พานดอกไม้ เป็นต้น.
ตั้ง : ก. ชูตัว, ชูตัวหรือทําให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน ต้นข้าว เอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดํารง, เช่น ตั้งอยู่ในคลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทําให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตําแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้ง เปรียญ; กําหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสํารับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือเป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คําแสดงความหมายว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง. ตั้งกรม ก. สถาปนาเจ้านายขึ้นทรงกรม. ตั้งเข็ม, ตั้งเป้าหมาย ก. ตั้งความมุ่งหมาย, กําหนดจุดมุ่งหมาย. ตั้งไข่ ก. สอนยืน (ใช้แก่เด็ก). ตั้งเค้า ก. เริ่มแสดงท่าทีให้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ฝนตั้งเค้า. ตั้งแง่ ก. ทําชั้นเชิง, ไม่ตรงไปตรงมา, คอยหาเรื่องจับผิด. ตั้งใจ, ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดใจจ่อ. ตั้งต้น ก. เริ่มทํา, ขึ้นต้น. ตั้งตัว ก. ตั้งฐานะหรือตั้งหลักฐาน; ยกย่องตัว, สถาปนาตัว, เช่น ตั้งตัวเป็นหัวหน้า ตั้ง ตัวเป็นใหญ่. ตั้งตาคอย ก. เฝ้าคอย. ตั้งแต่ บ. นับจากเวลาหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งเป็นต้นไป (มักใช้เข้าคู่กับคำ จนถึง หรือ จน กระทั่ง). ตั้งแต่ง ก. ยกขึ้น, สถาปนา. ตั้งโต๊ะ ก. จัดโต๊ะอาหาร; จัดโต๊ะหมู่บูชา. ตั้งท้อง ว. เรียกข้าวที่มีรวงอ่อน ๆ ว่า ข้าวตั้งท้อง. ตั้งท่า ก. วางท่า; เตรียมตัวพร้อม, คอยทีอยู่. ตั้งธาตุ ก. จัดระบบการย่อยอาหารให้เป็นปรกติ. ตั้งนาฬิกา ก. เทียบนาฬิกาให้ตรงเวลา. ตั้งนาฬิกาปลุก ก. ตั้งเวลาให้นาฬิกาปลุกตามที่ต้องการ. ตั้งหน้า, ตั้งหน้าตั้งตา ก. มุ่งหน้า; ตั้งใจทํา, ทําอย่างจริงจัง, มุ่งมั่น. ตั้งหัวเรือ ก. ทําให้เรืออยู่ในแนว ไม่ให้หัวเรือส่ายไปมา. ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดจ่อ, ตั้งใจ ก็ว่า.
ที่ : น. แหล่ง, ถิ่น, เช่น ที่ประกอบอาชีพ ที่ทํามาหากิน, สถานที่ เช่น ที่ประชุม ที่พัก, ตําแหน่งที่ เช่น เอาแว่นวางไว้ที่โต๊ะ; ที่ดิน เช่น ซื้อที่ ขายที่ เช่าที่; ภาชนะ, เครื่องใช้, เช่น ที่บูชา ที่นอน ที่เขี่ยบุหรี่; ลักษณนามบอกสถานที่หรือสิ่งของเป็นชุด ๆ เป็นต้น เช่น ที่นั่ง ๓ ที่ อาหาร ๓ ที่. ส. คําใช้แทนคํานามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น คนที่ขยัน เด็กที่ฉลาด. ว. คํานําหน้าสังขยาบอกลําดับ เช่น ที่ ๑ ที่ ๒. บ. ใน, ณ, เช่น อยู่ที่บ้าน.
ปูชา : น. บูชา. (ป.).
วิศาขบูชา : น. วิสาขบูชา, การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวัน ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า. (ส. วิศาข + ปูชา; ป. วิสาข + ปูชา).
กินโต๊ะ : ก. กินเลี้ยงด้วยอาหารอย่างดีแบบนั่งโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า รุมทําร้าย.
เครื่องบูชา : น. สิ่งที่ใช้บูชาของไทย ใช้ของ ๔ อย่างเป็นสําคัญ คือ ข้าวตอก ดอกไม้ ธูป เทียน.
เดินโต๊ะ : ก. ยกอาหารและเครื่องดื่มมาให้ผู้นั่งโต๊ะกิน.
ปฏิบัติบูชา : น. การบูชาด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งสอน, คู่กับ อามิสบูชา ซึ่งเป็นการบูชาด้วยสิ่งของ.
พระยาโต๊ะทอง : น. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยา และได้รับพระราชทานโต๊ะทอง (พานก้นตื้น) เป็นเครื่อง สำหรับยศ, ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูล จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ มีบรรดาศักดิ์เสมอตำแหน่ง ที่ได้รับโต๊ะทอง.
เลี้ยงโต๊ะ : ก. เลี้ยงแขกอย่างกินโต๊ะ.
สรวง : [สวง] น. ฟ้า, สวรรค์; เทวดา. ก. เซ่น, บูชา, บน. สรวงเส ก. บูชา, เสสรวง ก็ว่า.
อามิสบูชา : น. การบูชาด้วยสิ่งของ, คู่กับ ปฏิบัติบูชา ซึ่งเป็นการ บูชาด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งสอน.
ขึ้นโต๊ะ : ว. เรียกลักษณะของสิ่งที่ดีมีราคา, (ปาก) เรียกลักษณะของสิ่ง ที่ไม่มีราคาแต่ยกย่องให้เป็นสิ่งที่มีราคา.
ดะโต๊ะยุติธรรม : (กฎ) น. ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้มีอํานาจและหน้าที่ ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม.
ทำคุณบูชาโทษ : (สํา) ก. ทําคุณแต่กลับเป็นโทษ, ทําดีแต่กลับเป็นร้าย, มักใช้พูดเข้าคู่กับ โปรดสัตว์ได้บาป.
มีดโต๊ะ : น. มีดขนาดกลางและเล็ก ใช้ตัดหรือเฉือนอาหาร เช่น เนื้อ ปลา ในเวลารับประทานอาหารแบบฝรั่ง.
ล้มโต๊ะ : ก. กินแล้วหาเรื่องไม่จ่ายทรัพย์.
บำเรอ : ก. ปรนนิบัติให้เป็นที่ชอบใจ, เรียกหญิงที่ปรนนิบัติเช่นนั้นว่า นางบําเรอ; บูชา เช่น บําเรอไฟ.
ครุภัณฑ์ : [คะรุพัน] น. ของที่ใช้ทนทาน เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้.
เครื่องเรือน : น. เครื่องปรุงเรือนหรือเครื่องไม้ที่จะคุมกันเข้าเป็นเรือน เช่น ขื่อ เสา; เครื่องตกแต่งภายในเรือน เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้.
นปุงสกลิงค์, นปุงสกลึงค์ : [นะปุงสะกะ] (ไว) น. เพศของคําที่ไม่เป็นเพศชายและเพศหญิง เช่น ภูเขา บ้าน โต๊ะ เก้าอี้ ดิน นํ้า. (ป., ส. นปุ?สก = กะเทย + ลิงฺค = เพศ).
บวง : ก. บูชา เช่น บวงเทพทุกเถื่อนถํ้า มณฑล ทวีปเอย. (นิ. นรินทร์), มักใช้ เข้าคู่กับคําอื่น เช่น บนบวง บวงสรวง บําบวง.
บำบวง : ก. บนบาน, เซ่นสรวง, บูชา.
สักการ, สักการะ : [การะ] ก. บูชาด้วยสิ่งหรือเครื่องอันพึงบูชา เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ บูชา เป็น สักการบูชา. (ป.; ส. สตฺการ).
สังหาริมทรัพย์, สังหาริมะ : [หาริมะ, หาริมมะ] น. ทรัพย์ที่นําไปได้ เช่น แหวน สร้อย โต๊ะ เก้าอี้, คู่กับอสังหาริมทรัพย์; (กฎ) ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์ และรวมถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย.
กระย่อง : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปกลมคล้ายโตก, ถ้าใหญ่ใช้เป็นสํารับ ถ้าเล็กใช้เป็นเครื่องใส่ข้าวตอก ดอกไม้บูชาตามวัด.
กระลา ๒ : น. องค์ของการบูชา เช่น กระลาพิธีกรกุณฑ์. (เสือโค). (แผลงมาจาก กลา). (ส. กลา มีองค์ ๓ คือ มนตร์ สัมภาระ และ ศรัทธา).
กลา : [กะลา] (แบบ) น. เสี้ยวที่ ๑๖ แห่งดวงเดือน, ดวงเดือน; ระเบียบพิธีของการบูชา เช่น ไปคํานับศาลสุรากลากิจ. (อภัย), ใช้ว่า กระลา ก็มี. (ป., ส.).
กว้างใหญ่ :
ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
กวาด : [กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน; เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
กองกูณฑ์ : น. กองไฟที่ใช้ในพิธีบูชาไฟ.
กัณฑ์เทศน์ : น. เครื่องไทยธรรมถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, สิ่งของสําหรับถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, เครื่องกัณฑ์ ก็ว่า; เรียกการเอาเงินติดเทียนบูชากัณฑ์เทศน์หรือเรียกการเอาเงินหรือ สิ่งของบูชาธรรมเนื่องในการเทศน์ว่า ติดกัณฑ์เทศน์.
กันทะ : (โบ) น. กระทะ เช่น จึ่งตั้งโลหะกันทะโดยตบะบนเส้าโขมดผี ให้ประโคมแล้วโหมอัคคี มาลีธูปเทียนบูชา. (รามเกียรติ์ ร. ๒ ตอนศึกไมยราพณ์).
กำนล : [-นน] น. เงินค่าคำนับครู, เงินคํานับบูชาครูปี่พาทย์ คือ พระประคนธรรพ หรือ พระนารท ซึ่งถือว่าเป็นครูเดิมของตน มีเทียนสําหรับจุดที่ตะโพนด้วย. (ข. กํณล่ ว่า เครื่องคํานับ, ค่ากำนล; ไม้สำหรับหนุนอย่างไม้หมอน).
ขอบ ๑ : น. ริมรอบ เช่น ขอบโต๊ะ, ริมที่ยกให้สูงขึ้นโดยรอบ เช่น ขอบสระ ขอบถนน.
ขา ๑ : น. อวัยวะตั้งแต่ตะโพกถึงข้อเท้า สําหรับยันกายและเดินเป็นต้น (ไทยถิ่นอื่น ขา หมายความตั้งแต่ตะโพกถึงเข่า); สิ่งของซึ่งมีลักษณะ คล้ายขาสําหรับยันหรือรองรับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ขาโต๊ะ ขาเก้าอี้ ขาตั้ง; เรียกส่วนที่ยื่นออกไปจากส่วนใหญ่เหมือนรูปขา เช่น ขากางเกง.
ข้าวสาก : (ถิ่น-อีสาน) น. ของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เอาไปบูชาตามต้นโพ และพระเจดีย์เวลาเช้ามืดในเดือน ๑๐.
ขาสิงห์ : น. ขาโต๊ะ ตั่ง หรือตู้เป็นต้นที่ออกแบบให้คล้ายขาของสิงห์.
ขุดเพ็ด : น. รูปจำลองอวัยวะเพศชาย ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง, ปลัดขิก ไอ้ขิก หรือ อ้ายขิก ก็เรียก, ถ้าใช้เป็นเครื่องบูชาตามศาลเจ้า เรียกว่า ดอกไม้เจ้า, ราชาศัพท์ว่า ทองพระขุน.
คเณศ : [คะเนด] น. ชื่อเทพองค์หนึ่ง มีเศียรเป็นช้าง ถือว่าเป็นเทพแห่งศิลปะ เชื่อกันว่าถ้าบูชาแล้วจะป้องกันความขัดข้องที่อาจเกิดมีขึ้นได้, วิฆเนศ พิฆเนศ วิฆเนศวร หรือ พิฆเนศวร ก็เรียก. (ส.).
ครอบ ๑ : [คฺรอบ] ก. เอาของที่มีลักษณะคลุ่ม ๆ คล้ายขันควํ่าเป็นต้นปิดงําไว้ เช่น เอาฝาชีครอบ เอากะลาครอบ. น. แก้วรูปลูกฟักตัดสําหรับครอบ พระพุทธรูปหรือเครื่องบูชาเป็นต้น; ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะ รูปทรงคล้ายลูกฟักหรือคล้ายน้ำเต้า มีเชิง ฝาครอบเป็นรูปทรงหัวเม็ด ทรงมัณฑ์เป็นต้น สำหรับใส่น้ำมนต์.
คร่อม : [คฺร่อม] ก. ยืนหรือนั่งแยกขาให้ของอยู่ใต้หว่างขา, ยงโย่ให้ของอยู่ใต้ตัว เช่น เอาตัวคร่อมไว้ นอนคร่อม, เอาสิ่งของเช่นโต๊ะเก้าอี้ตั้งในอาการ เช่นนั้น เช่น วางโต๊ะคร่อมกองหนังสือ, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลูกเรือนคร่อมตอ สร้างสะพานคร่อมคลอง นั่งคร่อม ๒ ตำแหน่ง.
คลี : [คฺลี] (โบ) น. ลูกกลม เช่น เล่นคลี โยนคลี, (โบ) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่ง ผู้เล่นขี่ม้าตีลูกกลมด้วยไม้ เช่น ให้พระยาสามนต์คนดี มาตีคลีพนันในสนาม. (สังข์ทอง); (ถิ่น-อีสาน) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่งแต่ละฝ่ายใช้ไม้ตีลูกกลม ซึ่งทำด้วยไม้ขนาดลูกมะนาวหรือโตกว่าเล็กน้อย ฝ่ายที่ตีลูกไปสู่ที่หมาย ทางฝ่ายของตนได้ก่อนเป็นฝ่ายชนะ; การเล่นลูกกลมด้วยลีลาเยื้องกรายเพื่อ บูชาเทพเจ้า เช่น นางเริ่มเดาะคลีบูชาพระศรีเทวี. (กามนิต). (เทียบ ส. คุฑ, คุล, โคล; ป. คุฬ ว่า ลูกกลม).
ค็อกเทล : น. เครื่องดื่มชนิดหนึ่ง ใช้เหล้าชนิดต่าง ๆ ผสมกัน ใส่นํ้าแข็ง แล้วเขย่า และอาจใส่นํ้าผลไม้หรือชิ้นผลไม้ เพื่อเพิ่มสีหรือรสให้แปลก ๆ ออกไป นิยมดื่มก่อนอาหาร; อาหารเรียกน้ำย่อยที่กินก่อนอาหารจานหลัก; เรียก งานเลี้ยงแบบหนึ่งที่ไม่นั่งโต๊ะกินอาหารเสิร์ฟเฉพาะเครื่องดื่มและอาหาร ว่าง ว่า งานเลี้ยงค็อกเทล. (อ. cocktail; cocktail party).
คันฉ่อง : น. เครื่องใช้ทำด้วยโลหะ ขัดจนเป็นเงา มีด้าม ใช้สำหรับ ส่องหน้า; ปัจจุบันเรียกกระจกเงามีกรอบ ๒ ชั้น สําหรับเอนเข้าออกได้ ตั้งบนโต๊ะเครื่องแป้ง.
เครื่องทองทิศ : น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสําหรับพระเจ้าแผ่นดินทรง ใช้บูชาพระรัตนตรัยในพระราชพิธีใหญ่ มีเตียงทองตั้งซ้อนกัน ๒ เตียง เชิงเทียนแถวหนึ่ง ๕ เชิง เชิงธูปแถวหนึ่ง ๕ เชิง พานข้าวตอกแถวหนึ่ง ๕ พาน พานดอกไม้แถวหนึ่ง ๕ พาน เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองทิศ.