โทน ๑ : น. ชื่อกลองประเภทหนึ่งสําหรับตีขัดจังหวะ ขึงหนังด้านเดียว คล้ายกลองยาว แต่เล็กและสั้นกว่า มี ๒ ชนิด คือ โทนชาตรี และ โทนมโหรี; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. ว. มีจําเพาะหนึ่งเท่านั้น, ใช้แก่สิ่งที่ตามปรกติควรจะมีมากกว่าหนึ่ง แต่มีเพียงหนึ่งเท่านั้น เรียกว่า โทน เช่น ลูกโทน มะพร้าวโทน.
โทน ๒ :
น. ชื่อนกยางชนิดหนึ่ง เรียกว่า ยางโทน. (ดู ยาง๑).
ลูกโทน : น. ลูกคนเดียวของพ่อแม่; ลูกตัวเดียวของสัตว์ชนิดที่ตาม ปรกติมีครั้งละหลายตัว เช่น สุนัขตัวนี้ออกลูกโทน.
ทน : ก. อดกลั้นได้, ทานอยู่ได้, เช่น ทนด่า ทนทุกข์ ทนหนาว, ไม่แตกหัก หรือบุบสลายง่าย เช่น ของดีใช้ทน ไม้สักทนกว่าไม้ยาง. ว. แข็งแรง, มั่นคง, เช่น ฟันทน, อึด เช่น วิ่งทน ดํานํ้าทน.
กระทิงโทน : น. กระทิงที่ชอบแยกออกจากฝูงโดยสมัครใจ หรือถูกตัวผู้อื่นไล่ออกจากฝูงให้อยู่โดดเดี่ยว.
ควายโทน : น. ควายป่าที่แตกฝูงออกมาอยู่ตามลำพัง.
บโทน : [บอ-] น. ผู้ติดหน้าตามหลัง, คนใช้.
อันโทล : [โทน] ก. เวียนเกิดเวียนตาย, ท่องเที่ยวในสังสารวัฏ, เช่น หาก เที่ยวในสงสารภพอันโทลเกิดไปมาแล. (จารึกวัดศรีชุม), นางก็ อันโทลไปมาในพิทธยาภพนี้. (ม. คําหลวง ทศพร); ท่องเที่ยว เช่น อย่าดูถูกอันโทลไพร จะเยียไยแก่อกเจ้า. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์ กลบทเก่า). (ข.).
เครื่องห้า ๒ : น. ปี่พาทย์ที่ใช้เครื่องดนตรี ๕ อย่าง ตรงกับเบญจดุริยางค์ ของอินเดีย มี ๒ ชนิด คือ ชนิดเบาใช้สําหรับการแสดงละครและหนัง ในพื้นเมือง และชนิดหนักใช้สําหรับการแสดงโขน ชนิดเบาประกอบ ด้วย เครื่องทําลํานํา ๑ ทับ ๒ กลอง ๑ ฆ้องคู่ ๑ ชนิดหนักประกอบด้วย ปี่ ๑ ระนาด ๑ ฆ้องวง ๑ กลอง ๑ โทน (ตะโพน) กับ ฉิ่ง ๑.
เบญจดุริยางค์ : น. ปี่พาทย์เครื่องห้า มี ๒ ชนิด คือ เครื่องอย่างเบา ใช้เล่นละครพื้นเมืองชนิดหนึ่งและเครื่องอย่างหนักใช้เล่นโขน ชนิดหนึ่ง, อย่างเบามี ปี่ ๑ ทับ ๒ กลอง ๑ ฆ้องคู่ เป็นเครื่องทํา จังหวะ ๑, อย่างหนักมี ปี่ ๑ ระนาด ๑ ฆ้องวง ๑ กลอง ๑ โทน (ตะโพน) ๑. (ตํานานเครื่องมโหรีปี่พาทย์).
เครื่องคู่ : น. ปี่พาทย์เครื่องห้าที่เพิ่มเติมให้เป็นคู่ ๆ คือ ปี่นอกคู่กับปี่ใน ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก ฆ้องวงเล็กคู่กับฆ้องวงใหญ่ เปิงมางสองหน้า คู่กับโทน ฉาบคู่กับฉิ่ง และกลองคู่หนึ่ง.
โคเพลาะ : [-เพฺลาะ] น. วัวโทนเที่ยวไปโดดเดี่ยว.
ทับ ๔ : (โบ) น. โทน, ชาวพื้นเมืองปักษ์ใต้ยังคงเรียกโทนชาตรีว่า ทับ เช่น ที่ใช้ประโคมในการแสดงหนังตะลุง มโนราห์ และโต๊ะครึม.
ยาง ๑ : น. ชื่อนกในวงศ์ Ardeidae ปากแหลม ขายาว ตัวสีขาว บางชนิดตัวสีดํา นํ้าตาล หรือเขียว หากินตามชายนํ้าและทุ่งนา กินปลา แมลง และสัตว์นํ้า ขนาดเล็ก มีหลายชนิด เช่น ยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) ยาง ควาย (Bubulcus ibis) ยางโทน ซึ่งมี ๒ ชนิด คือ ยางโทนน้อย (Egretta intermedia) และ ยางโทนใหญ่ (E. alba) ยางเปีย (E. garzetta) ซึ่งในฤดู ผสมพันธุ์จะมีขนฟูยาวขึ้นที่ท้ายทอยเป็นเปียสีขาว๒๓ เส้น, กระยาง ก็เรียก.
รำวง : น. การรําโดยมีผู้เล่นจับคู่รําตามกันไปเป็นวง, แต่เดิมใช้โทนและ ร้องเพลงปรบมือให้จังหวะ เรียกว่า รําโทน ต่อมาภายหลังเพิ่มดนตรี ประกอบด้วย.
ลันโทม : ก. น้อมลง, ก้มลง. (ข. ลํโทน).
ทนตกาษฐ์ : [-กาด] น. ไม้สีฟัน คือท่อนไม้เล็ก ๆ สําหรับถูฟัน ให้สะอาด ทําจากต้นไม้ต่าง ๆ เช่น ไม้คนทา. (ส. ทนฺต + กาษฺ?).
เหลือทน : ว. สุดที่จะทนได้, ยิ่งนัก, เช่น ขี้เกียจเหลือทน ร้ายเหลือทน.
ทุ่น : น. สิ่งที่ลอยนํ้าสําหรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือเพื่อพยุงสิ่งอื่นให้ลอยนํ้า เช่น ทุ่นแพ ทุ่นทอดสะพาน หรือสําหรับเป็นที่ผูกจอดเรือ เช่น ทุ่นสมอ หรือสําหรับเป็นเครื่องหมายในการเดินเรือ เช่น ทุ่นนําร่อง, โดยปริยายหมายถึงพยัญชนะ อ ที่เป็นทุ่นให้สระเกาะ เช่น อา อี อู. ก. ผ่อนหรือช่วยให้สิ้นเปลืองน้อยลง เช่น ทุ่นแรง ทุ่นเวลา ทุ่นสตางค์.
แท่น : น. ที่นั่งที่นอนเป็นต้นคล้ายเตียง แต่ไม่มีขารองรับ, ยกพื้น เช่น แท่นรับความเคารพ, ที่รองซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น
น้ำอดน้ำทน : น. ความอดทน.
วิ่งทน : ก. วิ่งแข่งระยะทางไกล กำหนดระยะทางตามมาตรฐานการ แข่งขันโอลิมปิก คือ ๒๖ ไมล์ ๓๘๕ หลา หรือ ๔๑.๘ กิโลเมตร, วิ่งมาราธอน ก็ว่า.
หน้าด้าน, หน้าทน, หน้าหนา : ว. มีสีหน้าไม่สลดทั้งที่ควรจะอายแต่ก็ ไม่อาย, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีความรู้สึกอายในสิ่งที่ควรอาย.
เหลืออด, เหลืออดเหลือทน : ว. สุดที่จะกลั้นได้, สุดที่จะอดทนได้, สุดที่จะ ระงับอารมณ์ได้.
อดรนทนไม่ได้, อดรนทนไม่ไหว : ก. ไม่สามารถจะอดทนต่อไปได้.
โอทน, โอทนะ : [โอทะนะ] น. ข้าวสุก, ข้าวสวย. (ป.).
กุณฑล : [-ทน] น. ตุ้มหู. (ป., ส.).
ทนต-, ทนต์ : [ทนตะ-, ทน] (แบบ) น. ฟัน, งาช้าง. (ป., ส. ทนฺต).
ทล : [ทน] (แบบ) น. ใบไม้, กลีบดอกไม้. (ป., ส.).
อด : ก. กลั้น เช่น เหลืออด, งดเว้น เช่น อดฝิ่น อดอาหาร; ไม่ได้, ไม่ สมหวัง, เช่น อดรับรางวัล อดดู; ไม่มีอะไรกิน เช่น อดอยู่ทั้งวัน. ว. ทน เช่น ดํานํ้าอด.
ทลบม : [ทนละบม] (กลอน) ก. ประพรม, ลูบไล้, ฉาบทา, เช่น ทลบมด้วย รัตจันทน์.
ทลอึง : [ทนละ-] (กลอน) ก. ตั้งมั่น, มั่นคง.
ธน, ธน- : [ทน, ทะนะ] น. ทรัพย์สิน. (ป., ส.).
ก้มหน้า : (สํา) ก. จําทน เช่น ต้องก้มหน้าทําตามประสายาก.
กระสับกระส่าย : ว. เร่าร้อนใจทนนิ่งเป็นปรกติไม่ได้, กระวนกระวาย, ทุรนทุราย.
กรุกกรัก : ก. ขลุกขลัก เช่น กรุกกรักประดักประเดิดเปิดฝาลุ้ง. (คาวี). ว. เสียงดังกุกกัก เช่น ได้ยินเสียงกรุกกรักก็ทักถาม. (ม. ร่ายยาว ชูชก). ว. เสียงนกเขาขันคู, จุ๊กกรู๊ ก็ว่า. [กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร). [กฺรุ้งกฺริ่ง] ก. แสดงสีหน้า แววตา และท่าทางเจ้าชู้, กรุ้มกริ่ม ก็ว่า. [กฺรุงขะเหฺมา] น. ชื่อไม้เถาชนิด Cissampelos pareira L. var. hirsuta (Buch. ex DC.) Forman ในวงศ์ Menispermaceae ใบรูปสามเหลี่ยมปลายมน ผลกลม เมื่อสุกสีแดง.
กรุง : [กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร).
กินเหล็กกินไหล : (สํา) ว. ทนต่อความเหน็ดเหนื่อย หรือความเจ็บปวดได้อย่างผิดปรกติ.
แกร่ว : [แกฺร่ว] ว. ทนรอหรือทนอยู่กับที่เป็นเวลานาน.
ขอยืม : ก. ขอสิ่งของ เงิน เป็นต้นมาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้ หรือใช้คืน, นำของของผู้อื่นมาใช้เป็นของของตน เช่น ขอยืมคำในภาษา บาลีมาใช้ ขอยืมวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ ขอยืมความคิด, (คณิต) ในการ ลบเลข ถ้าเลขตัวตั้งในหลักใดน้อยกว่าเลขที่จะนำมาลบ ให้นำเลขจาก หลักสูงถัดไปมาเพิ่มเลขตัวตั้งเพื่อให้มากพอที่จะลบได้ เช่น ๔๓ - ๕ ใน ที่นี้ ๕ ลบจาก ๓ ไม่ได้ ๓ ต้องขอยืม ๔ ซึ่งเป็นหลักสิบมา ๑ รวมเป็น ๑๓ แล้วลบออกเสีย ๕ เหลือ ๘ ๔ เมื่อถูกขอยืมไป ๑ ก็เหลือ ๓ ผลลัพธ์ ๓๘, ยืม ก็ว่า.
คอแข็ง : ว. อาการที่นิ่งอั้นเพราะเถียงไม่ขึ้นเป็นต้น; ทนต่อรสอันเข้ม หรือรุนแรงของเหล้าได้, ตรงข้ามกับ คออ่อน.
คออ่อน ๑ : ว. ทนต่อรสอันเข้มหรือรุนแรงของเหล้าไม่ได้, ตรงข้ามกับ คอแข็ง.
คับแคบแอบใจ : ว. อึดอัดใจเต็มทน.
คาร์โบรันดัม : น. สารสีดําแข็งมาก ชื่อเคมีว่า ซิลิคอนคาร์ไบด์ มีสูตร SiC ใช้ประโยชน์ ทําหินสำหรับขัด ใช้ผสมกับคอนกรีตเพื่อทําขั้นบันไดตึก ใช้ทําวัสดุทนไฟ. (อ. carborundum).
คู่เวรคู่กรรม : น. สามีภรรยาที่ต้องทนอยู่ร่วมกันด้วยความทุกข์ความ เดือดร้อนโดยเชื่อกันว่าเป็นเพราะเวรกรรมที่เขาได้เคยกระทำร่วมกัน มาแต่ชาติก่อน.
จัดจอง : (โบ) น. ทุ่น, แพ, เรือน้อย, สัดจอง ก็ว่า. (ข. สาต่ ว่า ลอย, จง ว่า ผูก).
ตบะแตก : ก. บำเพ็ญตบะต่อไปไม่ได้เพราะทนต่อสิ่งเย้ายวนไม่ไหว, หมด ความอดกลั้น, สิ้นความอดทน.
ตรีธารทิพย์ : น. ของทิพย์ที่ทน ๓ อย่าง คือ รากไทรย้อย รากราชพฤกษ์ ราก มะขามเทศ.
ถูไถ : ก. แก้ข้อขัดข้องพอให้ลุล่วงไปได้ เช่น พอถูไถไปได้, ยังใช้ได้ ก็ทนใช้ไป เช่น ยังใช้ถูไถไปได้ ใช้ถูไถมานาน.
ทรมาทรกรรม : [ทอระมาทอระกํา] (ปาก) ก. ทําให้ทนทุกข์ทรมานไม่รู้จักจบจักสิ้น, ทําให้ทนทุกข์ทรมานอย่างยืดเยื้อ.