โบราณวัตถุ : [โบรานนะวัดถุ, โบรานวัดถุ] น. สิ่งของโบราณที่ เคลื่อนที่ได้ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป ศิลาจารึก มีอายุเก่ากว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป; (กฎ) สังหาริมทรัพย์ที่เป็นของโบราณไม่ว่าจะ เป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือที่เป็น ส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน ซากมนุษย์ หรือซากสัตว์ ซึ่ง โดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการประดิษฐ์หรือโดยหลักฐาน เกี่ยวกับประวัติของสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ในทาง ศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี.
วัตถุ : น. สิ่งของ. (ป.; ส. วสฺตุ).
โบราณ, โบราณ- : [โบราน, โบรานนะ-] ว. มีมาแล้วช้านาน, เก่าก่อน, เช่น อักษร โบราณหนังสือเก่า, เก่าแก่, เช่น แพทย์แผนโบราณ ของโบราณ; (ปาก) ไม่ทันสมัย เช่น คนหัวโบราณ. (ป. โปราณ; ส. เปาราณ).
โบราณสถาน : [โบรานนะสะถาน, โบรานสะถาน] น. สิ่งที่เคลื่อนที่ ไม่ได้ เช่น โบสถ์ วิหาร วัง มีอายุเก่ากว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป; (กฎ) อสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี ทั้งนี้รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย.
กาจับหลัก ๑ : น. ไม้แป้นวงกลม มีหลักปักอยู่ที่ริมแป้น ที่ปลายหลัก มีวัตถุรูปกระจับสําหรับรับคางศพที่บรรจุโกศ; เครื่องดักทําร้าย ของโบราณ มีของแหลมอยู่ข้างล่าง เมื่อคนนั่งกระทบไกเข้าก็ลัดขึ้น เสียบทวาร; ท่าถือขอช้างอย่างหนึ่ง. (ตําราขี่ช้าง).
เงิน : น. ธาตุลําดับที่ ๔๗ สัญลักษณ์ Ag เป็นโลหะสีขาว เนื้อค่อนข้างอ่อน หลอมละลายที่ ๙๖๐.๘?ซ. (อ. silver); วัตถุที่ใช้วัดราคาในการซื้อขาย แลกเปลี่ยนกัน, วัตถุที่มีตราของรัฐ ใช้ชําระหนี้ได้ตามกฎหมาย, ได้แก่ เหรียญกระษาปณ์และธนบัตร, เงินตรา ก็เรียก; โบราณใช้ว่า งึน เง็น หรือ เงือน ก็มี; (เศรษฐ) วัตถุที่กําหนดให้ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน หรือชําระหนี้. (อ. money).
เบี้ย ๑ : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในสกุล Cypraea วงศ์ Cypraeidae เปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน หลังนูน ท้องแบน ช่องปาก ยาวแคบและไปสุดตอนปลายทั้ง ๒ ข้าง เป็นลําราง ริมปากทั้ง ๒ ด้านหยักหรือมีฟัน ไม่มีแผ่นปิด เรียกรวม ๆ ว่า หอยเบี้ย, เปลือกหอยเบี้ยชนิดที่คนโบราณใช้เป็นวัตถุกลางสําหรับซื้อ ขายสิ่งของ เรียกว่า เบี้ย เช่น เบี้ยจั่น หรือ เบี้ยจักจั่น ก็คือ เปลือก ของหอยเบี้ยชนิด C. moneta เบี้ยแก้ว หรือ เบี้ยนาง คือ เปลือก ของหอยเบี้ยชนิด C. annulus มีอัตรา ๑๐๐ เบี้ย เป็น ๑ อัฐ (เท่ากับ สตางค์ครึ่ง) จึงเรียกคําว่า เบี้ย เป็นเงินติดมาจนทุกวันนี้ เช่น เบี้ยประชุม เบี้ยประกัน เบี้ยเลี้ยงชีพ.
โบราณคดี : [โบรานนะคะดี, โบรานคะดี] น. วิชาที่ศึกษาค้นคว้า เกี่ยวกับโบราณวัตถุและโบราณสถาน, เดิมใช้ โบราณคดีวิทยา.
ภัณฑารักษ์ : [พันทารัก] น. ผู้ดูแลรักษาสิ่งของ โดยมากได้แก่จำพวก โบราณวัตถุศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานเป็นต้น. (ส. ภาณฺฑารกฺษ).
พยานวัตถุ : (กฎ) น. วัตถุที่อ้างเป็นพยานหลักฐาน. (อ. material evidence).
ยาแผนโบราณ : (กฎ) น. ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบโรค ศิลปะแผนโบราณ หรือการบำบัดโรคสัตว์ ซึ่งอยู่ในตำรายาแผนโบราณ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุขประกาศเป็นยาแผนโบราณ หรือยาที่ได้รับอนุญาต ให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ.
ร่ายโบราณ : น. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง นิยมใช้ในวรรณคดีโบราณ ไม่นิยม เอกโท ไม่จำกัดวรรคและคำ แต่มักใช้วรรคละ ๕ คำและใช้คำเท่ากัน ทุกวรรค.
ลายคราม : น. เรียกเครื่องภาชนะเนื้อกระเบื้องที่เขียนลายเป็นสีคราม เช่น ชามลายคราม แจกันลายคราม, โดยปริยายหมายถึงของเก่าที่มีค่า เช่น เก่าลายคราม ไม่ใช่เก่ากะลา, เก่า, โบราณ, เช่น รุ่นลายคราม.
ศาสนวัตถุ : น. วัตถุที่เกี่ยวเนื่องทางศาสนา มักเป็นสิ่งที่เคารพบูชา เช่น พระพุทธรูปเป็นศาสนวัตถุในพระพุทธศาสนา.
ศิลปวัตถุ : น. วัตถุอันเป็นผลงานสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์ที่ ประกอบด้วยศิลปลักษณะ เช่น ภาพเขียน รูปปั้น เครื่องลายคราม เครื่องถม; (กฎ) น. สิ่งที่ทำด้วยฝีมืออย่างประณีตและมีคุณค่าสูง ในทางศิลปะ.
โคลงโบราณ : น. ชื่อโคลงชนิดหนึ่งคล้ายโคลง ๔ มีบังคับสัมผัส แต่ไม่มีบังคับเอกโท เช่น โคลงมหาวิชชุมาลี โคลงมหาสินธุมาลี ซึ่งมีปรากฏอยู่ในตำรากาพย์สารวิลาสินี.
หัวโบราณ : ว. นิยมตามแบบเก่าแก่, (ปาก) ครึมาก, ล้าสมัย.
อกัปปิยวัตถุ : น. สิ่งที่ต้องห้ามไม่ให้บริโภคใช้สอย (ใช้แก่ภิกษุ). (ป.).
จุรณ, จูรณ : [จุน, จูน] น. ของที่ป่น, ของที่ละเอียด, ผง, เช่น แหลกเป็นจุรณ, โบราณ เขียนเป็น จุณ ก็มี. (ส. จูรฺณ; ป. จุณฺณ).
ชีรณ, ชีรณะ : [ชีระนะ] ว. เก่า, แก่, ชํารุด, ยุ่ย, ย่อย, โบราณ เช่น ชีรณกถา ว่า นิทานโบราณ, ชีรณฎีกา ว่า ฎีกาโบราณ. (ป., ส.).
เบาราณ : (แบบ) ว. โบราณ. (ส. เปาราณ; ป. ปุราณ, โปราณ).
วัสดุ : [วัดสะดุ] น. วัตถุที่นํามาใช้ เช่น วัสดุก่อสร้าง; ของใช้ที่มีอายุการ ใช้ในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น กระดาษ ดินสอ (ใช้แก่การงบประมาณ). (ส. วสฺตุ; ป. วตฺถุ).
กระจกหุง : น. กระจกสีชนิดบาง ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมมีสีต่าง ๆ ใช้ประดับอาคาร วัตถุ หรือเครื่องใช้เป็นต้น.
กระจอก ๔ : น. ลักษณะแมวอย่างหนึ่ง สีตัวดําทั้งหมด มีขนสีเทาล้อมรอบปาก ตาสีเหลือง เรียกว่า แมวกระจอก. (โชค-โบราณ).
กระลำ :
(กลอน; ย่อมาจาก กระลําพร) น. โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น จะเกิดกระลีกระลําแต่ล้วนร้อนใจ. (โชค-โบราณ). (ดู กลัมพร).
กลาย : [กฺลาย] ก. เปลี่ยนไป, แปรปรวนไป, เช่น หน้าหนาวกลายเป็นหน้าร้อน, เป็นอื่นไป, แปลงไป, เช่น ศรกลายเป็นทิพย์กระยาหาร เปรี้ยวหวานตกลงตรงหน้า. (รามเกียรติ์ ร. ๒), (โบ; กลอน) ใช้ในความว่า กราย ก็มี เช่น ไปกลายบ๋านของตนก็ดี. (จารึกสยาม), จักเจริญสวัสดิภาพศักดิศรี ศัตรูไพรี บห่อนจะใกล้กลายตน. (โชค-โบราณ). ว. ที่แปลงไป เช่น แผลกลาย; เรียกปีที่ล่วงหรือเปลี่ยนไปแล้วปีหนึ่งว่า ปีกลาย.
กำบด : ก. บัง เช่น มีโลมกําบดบัง ปลายเท้า สองแฮ. (โชค-โบราณ).
คราส : [คฺราด] ก. กิน เช่น จันทรคราส สุริยคราส (โบราณ เขียนเป็น จันทรคาธ สุริยคาธ โดยถือว่ามาจากบาลีว่า จนฺทคฺคาห สุริยคฺคาห); จับ, ถือ, เช่น สิบนิ้วคราสคนธกำจร เทียนธูปบวร. (สมุทรโฆษ). (ส.).
จัตุสดมภ์ : [จัดตุสะดม] น. จตุสดมภ์, วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัย โบราณ โดยตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จัตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).
เชียรณ์ : ว. เก่า, แก่, ชํารุด, ยุ่ย, ย่อย, โบราณ. (แผลงมาจาก ชีรณ).
ดิ่ง : ว. แน่ว เช่น เสาต้นนี้ตั้งตรงดิ่ง ทางตรงดิ่ง จมดิ่ง; เรียกโลหะรูปทรง กรวยติดที่ปลายสายเชือกใช้วัดความลึกของน้ำ ตรวจสอบเสาหรือกำแพง เป็นต้นว่าอยู่ในแนวดิ่งหรือไม่ว่า ลูกดิ่ง; เรียกตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ ผูกกับสายเชือกเป็นคู่สกัดหัวท้ายดอกจำปาของว่าวจุฬาว่า ลูกดิ่ง; วัตถุ มงคลมีลักษณะคล้ายลูกดิ่งหรือเม็ดมะยมซ้อนกันเป็นต้น สำหรับห้อย สายลูกประคำ พระมหากษัตริย์ทรงใช้ เรียกว่า พระดิ่ง และอาจพระราชทาน แก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีความดีความชอบเพื่อใช้เป็นเครื่องเตือนสติ เมื่อเกิดปัญหาจะได้พิจารณาให้รอบคอบด้วยวิธีบริกรรมนับลูกประคำ ทำให้มีสติเพื่อก่อให้เกิดสมาธิและปัญญาสามารถแก้ไขปัญหาได้.
ดินหู : น. ดินปืนอย่างแรง ใช้โรยที่รางชนวนในการยิงปืนคาบศิลาสมัย โบราณ.
ตรีชาต : น. วัตถุ ๓ คือ ดอกจันทน์ กระวาน อบเชย.
ปุราณ : ว. บุราณ, โบราณ. (ป., ส.).
ภาษามีวิภัตติปัจจัย : น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการใช้วิภัตติปัจจัย ประกอบเข้ากับรากศัพท์ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระทำให้เกิดเป็นคำที่แสดง เพศ พจน์ กาล มาลา วาจกอย่างชัดเจน เพื่อเข้าสัมพันธ์ทางไวยากรณ์ กลมกลืนกับคำอื่นในประโยค เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษากรีก โบราณ ภาษาละติน ภาษาฝรั่งเศส. (อ. inflectional language).
ลือ : ก. พูดกันทั่วไป แต่ยังไม่มีอะไรยืนยันได้แน่นอน เช่น เขาลือว่า จะเกิดเหตุที่ท่าน้ำ, (โบราณ ใช้ ฦๅ). (ข.). ลือชา, ลือชาปรากฏ
ศรัทธา : [สัดทา] น. ความเชื่อ, ความเลื่อมใส, เช่น สิ้นศรัทธา ฉันมีศรัทธาใน ความดีของเขา บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ประสาทะ เป็น ศรัทธาประสา ทะ. ก. เชื่อ, เลื่อมใส, เช่น เขา ศรัทธาในการรักษาแบบแพทย์แผน โบราณ. (ส. ศฺรทฺธา; ป. สทฺธา).
สักวา : [สักกะวา] น. ชื่อกลอนแบบหนึ่ง บทหนึ่งมี ๔ คํากลอน ขึ้นต้นด้วยคํา ''สักวา'' และลงท้ายด้วยคํา ''เอย'', ชื่อลํานําเพลงอย่างหนึ่ง ร้องเป็น ทํานองโต้ตอบกัน. (โบราณ เขียนเป็น สักระวา ก็มี).
หัตถานึก : น. กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง, เป็นส่วนหนึ่งแห่งกระบวนทัพ โบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือ จตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก (กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). (ป.).
กกุธภัณฑ์ : [กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ตามที่ แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับ แส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของ ใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาทวาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ใน จดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และ ฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง. (รูปภาพ เบญจราชกกุธภัณฑ์) วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัด ใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็น แส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่า วาลวีชนี หมายความเป็น แส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาล ของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).
กฎมนเทียรบาล : (กฎ) น. ข้อบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับพระราชฐาน พระราชวงศ์ และระเบียบการปกครองในราชสํานัก, โบราณใช้ว่า กฎมณเฑียรบาล หรือ กฎมณเทียรบาล ก็มี.
กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
กรมการ : [กฺรมมะ-] (กฎ;โบ) น. ตำแหน่งพนักงานปกครองที่มีมาแต่ สมัยโบราณ และได้กำหนดไว้ในข้อบังคับลักษณะการปกครอง หัวเมือง ร.ศ. ๑๑๖ เรียกว่า กรมการเมือง ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ กรมการในทำเนียบ และกรมการนอกทำเนียบ. (ส. กรฺม + การ).
กรมธรรม์ประกันภัย : (กฎ) น. ตราสารที่มีลายมือชื่อของ ผู้รับประกันภัยและมีรายการแสดงวัตถุที่เอาประกันภัย จำนวนงินเอาประกันภัย ชื่อผู้เอาประกันภัย ชื่อผู้รับประกันภัย วันที่สัญญาเริ่มต้นและสิ้นสุด และอื่น ๆ ตามที่กฎหมายบังคับ ตลอดจนเงื่อนไขเกี่ยวกับประโยชน์ สิทธิ และหน้าที่ของ ผู้เอาประกันภัย และผู้รับประกันภัย, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กรมธรรม์. (อ. policy of insurance).
กรร- ๓ : [กัน-] ใช้เป็นพยางค์หน้า (ซึ่งโบราณเขียนเป็น กนน หรือ กัน ก็มี) แทน กระ เช่น กรรชิง - กันชิง - กระชิง, กรรเช้า - กรนนเช้า - กระเช้า, กรรเชอ - กนนเชอ - กระเชอ, กรรโชก - กันโชก - กระโชก, กรรพุ่ม - กระพุ่ม, กรรลึง - กระลึง.
กรรชิง : [กัน-] น. เครื่องเข้ากระบวนแห่ในการพระราชพิธีบางอย่างเช่น รับช้างเผือกหรือแรกนาขวัญเป็นต้น รูปคล้ายกลด มีคันถือคล้าย ร่ม, โบราณใช้เป็นร่มเครื่องยศ คู่กันกับคานหามตามบรรดาศักดิ์ มีชั้นตามที่หุ้มผ้าแดงหรือหุ้มผ้าขาวโรยทอง เรียกว่า พื้นกํามะลอ, ถ้ามีริ้วขาวและน้ำเงินสลับกันที่ระบาย เรียกว่า กรรชิงเกล็ด, กระชิง กระฉิ่ง กะชิง กันฉิ่ง หรือ กันชิง ก็เรียก.
กรอบ ๑ : [กฺรอบ] น. สิ่งที่ประกอบตามริมวัตถุมีรูปภาพเป็นต้น, โดยปริยาย หมายความว่า ขอบเขตกําหนด เช่น ทํางานอยู่ในกรอบ.
กระ ๔ : ใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กํา กุ ข ต ส เช่น กบิล - กระบิล, กําแพง - กระแพง, กุฎี - กระฎี, ขจัด - กระจัด, ตวัด - กระหวัด, สะท้อน - กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล - กระกูล, ตระลาการ - กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคําโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม - กระซุ้ม, โดด - กระโดด, พุ่ม - กระพุ่ม, ยาจก - กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทํา - กระทํา, ทุ้ง - กระทุ้ง, เสือกสน - กระเสือกกระสน. (๔) ย้าหน้าคําอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.
กระจกเงา : น. แผ่นกระจกฉาบด้านหลังด้วยแผ่นบาง ๆ ของโลหะเงินหรือโลหะเจือปรอทแล้วทาสีทับ ใช้สําหรับส่องหน้า เป็นต้น, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กระจก, ลักษณนามว่า บาน, ราชาศัพท์ว่า พระฉาย; (วิทยา) วัตถุที่มีผิวมันสามารถส่งภาพหรือแสงสะท้อน กลับได้.
กระจกนูน : น. วัตถุที่มีผิวมัน ลักษณะกลีบบัวคว่ำ สามารถสะท้อน แสงให้เกิดภาพเสมือนหัวตั้งมองเห็นได้ที่ผิวกระจกนั้น.