โพธิ, โพธิ์ : [โพทิ, โพ] น. ความตรัสรู้; ชื่อต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า, บัดนี้หมายถึงต้นไม้จําพวกโพ. (ป., ส.).
ไม้ค้ำโพธิ์ : น. ไม้สำหรับค้ำกิ่งโพธิ์ ทำด้วยไม้จริงหรือไม้ไผ่ ปลายมีง่าม นิยมหุ้มผ้าแดงและผ้าขาว.
กบาล : [กะบาน] น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คําไม่สุภาพ) เช่น ตีกบาล เขกกบาล; แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กบาลบ้าน; เครื่องเซ่นผีที่ใส่ภาชนะกับตุ๊กตาแล้ว นําไปทิ้งที่ทางสามแพร่ง และต่อยหัวตุ๊กตาเสีย เรียกว่า เสียกบาล, เรียกภาชนะที่ใส่เครื่องเช่นนั้น เช่น เอาเหล้า ข้าวใส่กบาลออกเซ่นวัก. (ขุนช้างขุนแผน), บางทีใช้ว่า กระบาล เช่น ปรุตรุเคลือบกระบาลหิน. (จารึกวัดโพธิ์). (ป., ส. กปาล ว่า กะโหลกหัว).
กระแพง : (โบ; กลอน) น. กําแพง เช่น ทิศออกกระแพงแก้วกั้น. (จารึกวัดโพธิ์).
กลมกลืนกลอน : น. ชื่อเพลงยาวกลอักษร ตัวอย่างว่า แสนเสียดายหายห่างโอ้ แสนเสียดายกรายนาฏช่าง แสนเสียดายงอนงามเจ้า ให้อ่านว่า แสนเสียดาย หายห่างโอ้ห่างหาย แสนเสียดายกรายนาฏช่างนาฏกราย แสนเสียดายงอนงามเจ้างามงอน. (จารึกวัดโพธิ์).
กลอักษร : [กน-, กนละ-] น. ชื่อเพลงยาวกลบทที่ซ่อนเงื่อนไว้ให้ อ่านฉงน ตัวอย่างว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตก กระไรเลยระกําใจ จะจากไกลไม่เคย ให้อ่านว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตกโอ้อกเอ๋ย กระไรเลยระกำใจกระไรเลย จะจากไกลไม่เคยจะจากไกล. (กลอักษรงูกลืนหาง). (จารึกวัดโพธิ์).
กวะ : [กะวะ] (กลอน) ว. (ราว)-กะว่า, (ราว)-กับว่า, เช่น นกกระจอกทํารังราวกวะไม้. (จารึกวัดโพธิ์).
กะเอว : น. เอว เช่น ถวัดเท้าท่าเตะมวย ตึงเมื่อย หายฮา แก้กะเอวขดค้อม เข่าคู้โขยกโขยง. (จารึกวัดโพธิ์), สะเอว ก็ว่า.
เกียง : ก. เกี่ยง, รังเกียจ, ไม่ลงรอย, เกี่ยงแย่ง, เกี่ยงแย้ง, เช่น คนใดอันรังร้าย จิตรพิศเกียงกล. (จารึกวัดโพธิ์), โดยมากใช้เป็น เกี่ยง.
เขื่อน : น. เครื่องป้องกันไม่ให้ดินริมนํ้าพัง, สิ่งที่สร้างขึ้นขวางกั้นลํานํ้า เพื่อกัก เก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในทางชลประทานเป็นต้น เช่น เขื่อนเจ้าพระยา, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กำแพงดิน หรืออิฐที่ล้อมรอบต้นโพธิ์; (โบ) รั้ว, กำแพง, คันดินกันตลิ่งพัง, เช่น ปิดประตูเมืองลง เขื่อนขว้าง. (ยวนพ่าย).
ครอบจักรวาล ๓ : [คฺรอบ-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง เช่น พี่นางแกล้งแปลงเรื่องให้เคืองพี่ สรวลซิกซี้กันเสียได้ไม่ไต่สวน จวนจะชื่นช่างมาคืนให้รัญจวน ออสำนวนพี่นางอย่างนี้ออ. (จารึกวัดโพธิ์).
เครงเครียว : (กลอน) ว. ครื้นเครง, เกรียวกราว, เช่น หฤทัยเครงเครียว. (จารึกวัดโพธิ์).
เทพชุมนุม : [เทบ-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง. (จารึกวัดโพธิ์); ชื่อ ภาพเขียนรูปเทวดานั่งประนมมือเรียงกันเป็นแถวตั้งแต่ ๕ ตน ขึ้นไปตามฝาผนังในพระอุโบสถหรือหอพระ จะมีหน้าเดียว หรือ ๔ หน้าอย่างหน้าพรหมก็ได้.
ประอุก : ก. ระอุ; ร้อนรน เช่น หนึ่งอัคนีมีในเชองกราน บมีเป่าพัดพาน ประอุกแลลุกลามเลือน, ผิโคเคียงเกวียนเดิรหน ไป่ทันแก้ปรน ประอุกแลขุกวอดวาย. (จารึกวัดโพธิ์; อภิไธยโพทิบาทว์), ใช้เป็น กระอุ หรือ กระอุก ก็มี.
ห่ม ๒ : ก. ใช้ผ้าเป็นต้นคลุมหรือพันสิ่งใดสิ่งหนึ่งทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน เช่น ห่มผ้า ห่มสไบ เอาผ้าไปห่มต้นโพธิ์.
อสัตถพฤกษ์, อัสสัตถพฤกษ์ : [อะสัดถะพฺรึก, อัดสัดถะพฺรึก] น. ชื่อต้นไม้ที่พระโคตมพุทธเจ้า ประทับอยู่ใต้ต้นแล้วได้ตรัสรู้ เรียกว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์ หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า ต้นโพธิ์.
โพธิปักขิยธรรม : น. ธรรมเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรม เกื้อกูลแก่ความตรัสรู้มี ๓๗ ประการ. (ป. โพธิปกฺขิยธมฺม).
ปัจเจกโพธิ : [ปัดเจกกะโพด] น. ความตรัสรู้เฉพาะตัว คือ ความตรัสรู้ ของพระปัจเจกพุทธเจ้า. (ป.).
กระหยะ : น. ขยะ เช่น หนึ่งนิทไทรในราษตรี บมิหลับดั่งมี กระหยะแล ผงเลือดไร. (อภิไธยโพธิบาทว์). (แผลงมาจาก ขยะ).
กระอุ : (กลอน) ก. ระอุ; ร้อนรน เช่น กระอุอุระประปราณ. (สมุทรโฆษ; สรรพสิทธิ์), หนึ่งรัศมีพระสุริยเย็น รัศมีพระจันทร์ เป็น กระอุแลกลับร้อนรน. (อภิไธยโพธิบาทว์), ใช้เป็น กระอุก หรือ ประอุก ก็มี.
เครง, เครงครา : [เคฺรง, -คฺรา] ว. อึกทึก, กึกก้อง, เช่น หนึ่งกล้วยออกเครือเครงครา กลางลํามายา. (อภิไธยโพธิบาทว์).
ชลัมพุ : (แบบ) น. นํ้า เช่น และไขชลัมพุธารา. (อภิไธยโพธิบาทว์). (ป. ชล + อมฺพุ).
ถวายเนตร : น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาประกบพระหัตถ์ซ้ายอยู่หน้าพระเพลา ลืมพระเนตร ทั้ง ๒ ดูมหาโพธิพฤกษ์ อยู่ในพระอาการสํารวม.
โพธิบัลลังก์ : น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้, รัตนบัลลังก์ หรือ วัชรอาสน์ ก็ว่า. (ป. โพธิปลฺลงฺก).
โพธิสัตว์ : น. ท่านผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. (ส. โพธิสตฺตฺว; ป. โพธิสตฺต).
มหาธาตุ : น. พระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า, พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ ก็เรียก; เรียกพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ที่บรรจุพระบรมธาตุ ว่า มหาธาตุ เช่น เอาทั้งพืชพระศรีมหาโพธิอันพระพุทธเจ้าเราเสด็จอยู่ใต้ต้นและผจญพล ขุนมาราธิราช ได้ปราบแก่สัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธมาปลูกเบื้องหลัง พระมหาธาตุนี้. (ศิลาจารึกนครชุม), เรียกวัดที่มีพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ ที่บรรจุพระบรมธาตุว่า วัดมหาธาตุบ้าง วัดพระศรีมหาธาตุบ้าง วัดพระศรี รัตนมหาธาตุบ้าง.