Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: โมฆียะกรรม, โมฆียะ, กรรม , then กมฺม, กรรม, มฆย, โมฆีย, โมฆียะ, โมฆียะกรรม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : โมฆียะกรรม, 144 found, display 1-50
  1. โมฆีย-, โมฆียะ : [โมคียะ-] (กฎ) ว. ที่อาจเป็นโมฆะได้เมื่อมีการบอกล้าง หรือมีผลสมบูรณ์เมื่อมี การให้สัตยาบัน. (ป.).
  2. กรรม ๑, กรรม- ๑ : [กำ, กำมะ-] น. (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม. (๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมา ยังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้ กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ. (๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ. (๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.
  3. กรรม ๒, กรรม- ๒ : [กํา, กํามะ-] (ไว) น. ผู้ถูกกระทํา เช่น คนกินข้าว ข้าว เป็นกรรม ของกริยา กิน.
  4. โมฆียกรรม : (กฎ) น. นิติกรรมซึ่งอาจบอกล้าง เพิกถอน หรือให้สัตยาบันได้ ถ้าบอกล้างก็เป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ถ้าให้สัตยาบันก็มีผลสมบูรณ์มาแต่ เริ่มแรก, กฎหมายเขียนเป็น โมฆียะกรรม.
  5. กรรมวิบาก : [กํามะวิบาก] น. ผลของกรรม. (ส. กรฺม + วิปาก = ผล; ป. กมฺม + วิปาก).
  6. กรรมการก : [กํามะ-] (ไว) น. ผู้ถูกทํา เป็นส่วนสําคัญส่วนหนึ่ง ใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตํารวจยิงผู้ร้าย ผู้ร้าย เป็น กรรมการก ถ้าต้องการให้ผู้ถูกทําเด่น ก็เรียงเป็นภาค ประธานของประโยค เช่น ผู้ร้ายถูกตํารวจยิง.
  7. กรรมขัย : [กำมะไข] (โบ) น. การสิ้นอายุเพราะกรรม เช่น อันว่า อายุสม์ยังมิควรตายแลมาตายดั่งนั้นชื่อว่ากรรมขัยแล. (ไตรภูมิ). (ส. กรฺม + ป. ขย).
  8. กรรมคติ : [กํามะคะติ] น. ทางดําเนินแห่งกรรม. (ส. กรฺม + ส., ป. คติ ว่า ที่ไป).
  9. กรรมวาจก : [กํามะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรมการก หรือผู้ถูกทํา, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทําหน้าที่เป็น กรรมการก คือ ผู้ถูกทํา, กริยาของประโยคกรรมวาจกต้องใช้ สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมรับ บางทีก็มีกริยานุเคราะห์ ''ถูก'' นำ และใช้หมายไปในทางไม่ดี เช่น เด็กถูกตี ผู้ทำความผิด ถูกลงโทษ, แต่บางทีก็ไม่ปรากฏกริยานุเคราะห์ ''ถูก'' เช่น หนังสือ เล่มนี้แต่งดีมาก.
  10. กรรมวาจา : [กำมะ-] น. คำประกาศกิจการในท่ามกลางสงฆ์. (สฺ กรฺม + วาจา = คำ; ป. กมฺม + วาจา).
  11. กรรมการิณี : [กํามะ-] น. กรรมการซึ่งเป็นเพศหญิง. (ส. กรฺม + การิณี).
  12. กรรมวาจาจารย์ : [กํามะวาจาจาน] น. อาจารย์ผู้ให้สําเร็จกรรมวาจา คือ คู่สวด. (ส. กรฺมวาจา + อาจารฺย = อาจารย์).
  13. กรรมศาลา : [กํามะ-] น. โรงงาน. (ส. กรฺม + ศาลา = โรง).
  14. ทัฬหีกรรม : [ทันฮีกํา] น. การกระทําให้มั่นคงขึ้น ได้แก่การที่ทําซํ้า ลงไปเพื่อให้มั่นคงนกรณีที่การกระทําครั้งแรกไม่สมบูรณ์ มักใช้ใน พิธีสงฆ์ เช่น ทําทัฬหีกรรม สวดทัฬหีกรรม. (ป. ทฬฺหีกมฺม; ส. ทฺฤฒี + กรฺมนฺ).
  15. ทิฏฐุชุกรรม : (แบบ) น. การทําความเห็นให้ตรง คือ เห็นถูกทาง เช่น เห็นว่า ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว (เป็นข้อหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คือ ทานมัย สีลมัย ภาวนามัย อปจายนมัย เวยยาวัจจมัย ปัตติทานมัย ปัตตานุโมทนามัย ธัมมัสสวนมัย ธัมมเทสนามัย ทิฏฐุชุกรรม). (ป. ทิฏฺฐุชุกมฺม).
  16. นิคหกรรม : น. ชื่อกรรมที่สงฆ์ทําแก่ภิกษุที่ควรปราบเพื่อให้เข็ดหลาบ. (ป. นิคฺคหกมฺม).
  17. กฎแห่งกรรม : น. กฎว่าด้วยกรรมและผลแห่งกรรม ที่ผู้กระทําจักต้องได้รับ.
  18. ครุกรรม : [คะรุกำ] น. กรรมหนัก มีทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล, การได้บรรลุ ฌานสมาบัติเป็นครุกรรมฝ่ายกุศล การกระทำอนันตริยกรรมเป็น ครุกรรมฝ่ายอกุศล.
  19. คู่เวรคู่กรรม : น. สามีภรรยาที่ต้องทนอยู่ร่วมกันด้วยความทุกข์ความ เดือดร้อนโดยเชื่อกันว่าเป็นเพราะเวรกรรมที่เขาได้เคยกระทำร่วมกัน มาแต่ชาติก่อน.
  20. เจษฎา ๒ : [เจดสะดา] น. การเคลื่อนไหวอวัยวะ, การไหวมือและเท้า, ท่ารํา; กรรม, การทําด้วยตั้งใจ, การประพฤติ, การตั้งใจทํา, เช่น ภูบาลทุกทวี- ปก็มาด้วยเจษฎา. (สมุทรโฆษ). (ส. เจษฺฏา).
  21. เจ้ากรรม : น. ผู้เคยมีกรรมมีเวรต่อกันมาแต่ชาติก่อน, เจ้ากรรมนายเวร ก็ว่า. ว. ที่ทำให้ผิดหวังหรือได้รับความเดือดร้อน เช่น รถเจ้ากรรมเกิดเสียขึ้น กลางทางเลยไปไม่ทัน เด็กเจ้ากรรมวิ่งมาชนเกือบหกล้ม. อ. คำกล่าวแสดง ความผิดหวังเพราะเกิดอุบัติเหตุโดยไม่คาดคิดมาก่อนเป็นต้น เช่น เจ้ากรรม แท้ ๆ รถมาเสียเอาตอนฝนตกเสียด้วย.
  22. เจ้ากรรมนายเวร : น. ผู้เคยมีกรรมมีเวรต่อกันมาแต่ชาติก่อน, เจ้ากรรม ก็ว่า.
  23. ชนกกรรม : [ชะนะกะกํา] น. กรรมอันนําให้เกิดหรือกรรมอัน เป็นต้นเค้าทั้งข้างดีหรือข้างชั่ว เช่น กรรมอันทําให้เกิดเป็นคน ชั้นสูง เป็นชนกกรรมฝ่ายกุศล. (อรรถศาสน์).
  24. ใช้กรรม : ก. ชดใช้กรรมที่ได้ทําไว้.
  25. วิษณุกรรม : น. พระวิศวกรรม, วิสสุกรรม เวสสุกรรม หรือ เพชฉลูกรรม ก็เรียก.
  26. เวรกรรม : [เวนกำ] น. การกระทำที่สนองผลร้ายซึ่งทำไว้แต่ปางก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนใน อดีต เช่น ไม่รู้ว่าเวรกรรมอะไรต้องมาตกระกำลำบากเมื่อแก่, กรรมเวร หรือ เวร ก็ว่า.
  27. หมดกรรม, หมดกรรมหมดเวร, หมดเวร, หมดเวรหมดกรรม : ก. สิ้นสุด ในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป, สิ้นกรรม สิ้นกรรมสิ้นเวร สิ้นเวร หรือ สิ้นเวรสิ้นกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.
  28. หมดเวร, หมดเวรหมดกรรม : ก. สิ้นสุดในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป, หมดกรรม หมดกรรมหมดเวร สิ้นกรรม สิ้นกรรมสิ้นเวร สิ้นเวร หรือ สิ้นเวรสิ้นกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.
  29. อยู่กรรม, อยู่ปริวาส : ก. อยู่ปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวันที่ กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), เข้าปริวาส หรือ เข้า ปฏิวาสกรรม ก็ว่า.
  30. จีวรกรรม : (แบบ) น. การเตรียมจีวรเพื่อเดินทาง เช่น ซัก สุ ย้อม. (ส.; ป. จีวรกมฺม).
  31. ภัณฑูกรรม : น. การปลงผม. (ป. ภณฺฑุกมฺม).
  32. ศุจิกรรม : น. การรักษาความบริสุทธิ์. (ส.; ป. สุจิกมฺม).
  33. อกุศลกรรม : [อะกุสนละกํา] น. ความชั่วร้าย, โทษ, บาป. (ส. อกุศล + กรฺมนฺ; ป. อกุสลกมฺม).
  34. ก่อกรรมทำเข็ญ : ก. ก่อความเดือดร้อนให้ร่ำไป.
  35. เข้ากรรม : (ถิ่น-อีสาน) ก. อยู่ไฟ.
  36. คุรุกรรม : น. กิจหรือหน้าที่แห่งครู.
  37. จองเวรจองกรรม : ก. ผูกอาฆาตพยาบาทไม่มีที่สิ้นสุด.
  38. ชาลกรรม : น. การจับปลา. (ส.).
  39. ดนตรีกรรม : (กฎ) น. งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้อง ไม่ว่าจะมีทำนองและคำร้องหรือมีทำนองอย่างเดียว และหมายความ รวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียง ประสานแล้ว.
  40. ถึงแก่กรรม : ก. ตาย (ใช้แก่คนทั่วไปในคําพูดที่สุภาพ), ถึงมรณกรรม หรือ ถึงแก่มรณกรรม ก็ว่า.
  41. ทัฬหีกรรม : ดู ทัฬหะ, ทัฬหิ, ทัฬหี.
  42. ทารุณกรรม : [ทารุนนะกํา] น. การกระทําอย่างโหดร้าย. (ส.).
  43. นิรโทษกรรม : [นิระโทดสะกํา] (กฎ) น. ตามกฎหมายแพ่ง หมายถึง การกระทําที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่า ไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เช่น การกระทำการป้องกันโดยชอบ ด้วยกฎหมาย การกระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย; ตามกฎหมาย อาญา หมายถึง การลบล้างการกระทําความผิดอาญาที่บุคคลได้กระทํา มาแล้ว โดยมีกฎหมายที่ออกภายหลังการกระทำผิดกำหนดให้การ กระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทําการนั้นพ้นจากการ เป็นผู้กระทำความผิด.
  44. บรทารกรรม : [-ทาระ-] (แบบ) น. การประพฤติผิดในเมียเขา. (ส.).
  45. ปฐมกรรม : [ปะถมมะกํา] น. กฎเบื้องต้นหรือข้อสําคัญ; ชื่อพิธี แบบหนึ่งที่กษัตริย์ในครั้งโบราณกระทําแก่ผู้เป็นปรปักษ์.
  46. ผาติกรรม : น. การทําให้เจริญ, ใช้ในวินัยว่า การจําหน่ายครุภัณฑ์ เพื่อประโยชน์สงฆ์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเอาของเลวแลกเปลี่ยน เอาของดีกว่าให้แก่สงฆ์ หรือเอาของของตนถวายสงฆ์เป็นการ ทดแทนที่ตนทําของสงฆ์ชํารุดไปบ้าง, รื้อของที่ไม่ดีออกเสียทํา ให้ใหม่ดีกว่าของเก่า เช่น เอาที่วัดไปทําอย่างอื่นแล้วสร้างวัด ถวายใหม่เป็นการชดใช้.
  47. พลีกรรม : [พะลีกํา] น. การบูชา, พิธีบูชา.
  48. เพชฉลูกรรม : [เพ็ดฉะหฺลูกํา] น. พระวิศวกรรม.
  49. มาลากรรม : น. การช่างดอกไม้.
  50. ยัญกรรม : น. การเซ่นสรวงบูชาของพราหมณ์.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-144

(0.1247 sec)