โรคาพยาธิ : [โรคาพะยาทิ] น. ความเจ็บไข้.
โรคาพยาธิ :
ดู โรค, โรค.
โรคา : (กลอน) น. โรค.
พยาธิ ๑ : [พะยาทิ] น. ความเจ็บไข้ เช่น โรคาพยาธิ ชาติชราพยาธิ. (ป. พฺยาธิ, วฺยาธิ; ส. วฺยาธิ).
พยาธิ ๒ : [พะยาด] น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังซึ่งอย่างน้อยในระยะหนึ่งของ ชีวิตจะเป็นปรสิตอยู่ในมนุษย์และสัตว์ ชนิดตัวแบน เช่น พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด ชนิดตัวกลมหรือหนอนพยาธิ เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิ เส้นด้าย พยาธิแส้ม้า.
วยาธิ : [วะยาทิ] น. พยาธิ. (ป. วฺยาธิ, พฺยาธิ; ส. วฺยาธิ).
หนอนพยาธิ : [หฺนอนพะยาด] (ปาก) น. พยาธิตัวกลม.
เทวทูต : น. ชื่อคติแห่งธรรมดา ๓ ประการ คือ ชรา พยาธิ มรณะ.
โรค, โรค :
ตัวตืด : น. ชื่อพยาธิในชั้น Cestoda ตัวแบนเป็นปล้องเรียงต่อกันเป็นแถบยาว หัวมี อวัยวะใช้เกาะยึด ถัดจากหัวเป็นคอซึ่งเป็นส่วนที่สร้างปล้องออกมาเรื่อย ๆ บางชนิดมีเพียง ๒-๓ ปล้อง บางชนิดมีถึง ๑,๐๐๐ ปล้อง ปล้องท้ายสุดเกิดก่อน ปล้องถัดจากคอเกิดหลังสุด แต่ละปล้องมีอวัยวะทั้งเพศผู้และเพศเมียรวมอยู่ ด้วยกัน มักอาศัยดูดอาหารในลําไส้ของมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลัง ทําให้ เป็นโรคโลหิตจาง ถ้ามีจํานวนมากจะไปกั้นทางเดินอาหาร ทําให้มีอาการปวด ท้องอย่างรุนแรง มีหลายชนิดและหลายวงศ์ เช่น ชนิด Taenia solium ซึ่งตัวอ่อน เรียก เม็ดสาคู อยู่ในเนื้อหมู ชนิด T. saginata ซึ่งตัวอ่อนอยู่ในเนื้อวัว, ทั้ง ๒ ชนิด อยู่ในวงศ์ Taeniidae และเป็นพยาธิในลําไส้เล็กของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วย นมบางชนิด.
เท้าช้าง : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ทําให้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งมีอาการหนังหนา หยาบ คล้ายหนังช้าง และมีขนาดโตขึ้น มักพบบ่อยที่เท้าหรือขา สาเหตุเนื่องจากพยาธิตัวกลมฟิลาเรีย (filaria) ซึ่งมีหลายชนิด ทําให้ ท่อทางเดินนํ้าเหลืองของอวัยวะนั้น ๆ อุดตัน.
ตัวจี๊ด : น. ชื่อพยาธิชนิด Gnathostoma spinigerum ในวงศ์ Gnathostomatidae ลําตัวสีแดง ยาว ๑๐-๕๐ มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยพบในกระเพาะของสุนัข แมว และเสือ ตัวอ่อนพบในปลา ไก่ กบ หรือสัตว์เลื้อยคลาน ติดต่อถึง คนได้เมื่อกินสัตว์เหล่านี้ที่ยังดิบซึ่งมีตัวอ่อนของพยาธิชนิดนี้อยู่ ตัวอ่อน เมื่ออยู่ในคนสามารถเคลื่อนตัวไปตามเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ได้อาจเป็นตุ่ม นูนขึ้นมาตามผิวหนังและปวดบวม, หนอนด้น ก็เรียก.
ใบไม้ ๓ : น. ชื่อพยาธิทางเดินอาหารในอันดับ Digenea มีหลายสกุลและ หลายวงศ์ ลําตัวแบนคล้ายใบไม้ เป็นพยาธิที่ทําอันตรายต่อระบบ ทางเดินอาหารของมนุษย์และสัตว์ โดยเฉพาะตับ ถุงนํ้าดีและท่อ นํ้าดี มีหลายชนิด เช่น ชนิด Fasciola hepatica, Opisthorchis sinensis, Fasciolopsis buski.
ปรสิต, ปรสิต- : [ปะระสิด, ปะระสิดตะ-] น. (แพทย์) สัตว์พวกพยาธิที่อาศัยอยู่ใน มนุษย์และสัตว์; (เกษตร) ตัวเบียน เช่น กาฝาก. (อ. parasite).
ปรสิตวิทยา : [ปะระสิดตะวิดทะยา, ปะระสิดวิดทะยา] (แพทย์) น. วิชาที่ว่าด้วยพยาธิ.
ปากขอ : น. ชื่อพยาธิตัวกลมขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Ancylostomatidae มีส่วนหัวโค้งงอคล้ายตาขอ ในช่องปากมีฟันแหลมหรือเป็นแผ่น ใช้เกาะเกี่ยวผนังลำไส้ อาศัยดูดกินเลือดมนุษย์และสัตว์ ขนาดเล็ก ที่สุดยาวประมาณ ๕ มิลลิเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดยาวประมาณ ๓๐ มิลลิเมตร เช่น ชนิด Necator americanus, Ancylostoma duodenale อยู่ในลำไส้เล็กของมนุษย์ ชนิด A. braziliense, A. ceylanicum อยู่ในลำไส้เล็กของสุนัขและแมว.
พญามุตติ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Grangea maderaspatana Poir. ในวงศ์ Compositae ใช้ทํายาได้. (พยาธิมุตติ).
ระดูขาว : น. สิ่งที่ถูกขับถ่ายออกมาทางช่องคลอด ลักษณะข้นหรือ ค่อนข้างข้น สีขาวหรือสีเหลืองปนเขียว มีกลิ่นเหม็น เกิดจากสาเหตุ หลายประการ เช่น ติดเชื้อไวรัส ติดเชื้อพยาธิชนิด Trichomonas vaginalis เนื้องอก, ตกขาวหรือมุตกิด ก็เรียก.
วิฬังค์ : น. ผักดอง. (ป.; ส. วิฑงฺค ว่า ยาสําหรับฆ่าตัวพยาธิในท้อง).
สาคู ๒ : น. ชื่อตัวอ่อนของพยาธิตัวตืดหมูชนิด Taenia solium ในวงศ์ Taeniidae ฝังตัวอยู่ในอวัยวะต่าง ๆ ของหมู ลักษณะเป็นถุงรูปคล้ายเม็ดสาคู ภาย ในมีหัวของตัวตืด.
เอือน ๑ : (โบ) น. พยาธิในท้องชนิดหนึ่ง เช่น ลางคาบมีตืดมีเอือนในท้องนั้น. (ไตรภูมิ).
โรคนิทาน : [โรคะ] น. คัมภีร์แพทย์โบราณว่าด้วย สมุฏฐานแห่งโรค.
โรคประจำตัว : น. โรคที่มีติดตัวอยู่เป็นประจํา รักษาไม่หายขาด.
โรคศิลปะ : [โรกสินละปะ] น. การปฏิบัติเพื่อรักษาโรค.
โรคสมอง : น. โรคที่ก่อให้เกิดความผิดปรกติใด ๆ แก่สมอง. (อ. cerebropathy).
การประกอบโรคศิลปะ : (กฎ) น. การประกอบวิชาชีพที่กระทำหรือ มุ่งหมายจะกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ การผดุงครรภ์ แต่ไม่รวมถึงการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และ สาธารณสุขอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ.
เชื้อโรค : น. สิ่งที่มีชีวิต เมื่อเข้าสู่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์แล้ว ทําให้เกิดโรคได้; (กฎ) เชื้อจุลินทรีย์หรือผลิตผลจากเชื้อ จุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรคในคนหรือสัตว์.
บัณฑุโรค : (แบบ) น. โรคผอมเหลือง, โรคเพื่อดี. (ป. ปณฺฑุโรค).
บานทะโรค : น. โรคริดสีดวงทวารชนิดหนึ่ง ที่ดากบานออกมา ข้างนอก.
สัญจรโรค : น. กามโรค. ว. เรียกหญิงโสเภณีว่า หญิงสัญจรโรค.
อัม, อัม : [อำ, อำมะ] น. ไข้เจ็บ, โรค; ชีวิต; ภัย, ความกลัว. (ส. อมฺ).
อามัย : น. ความป่วยไข้, โรค, ความไม่สบาย, ตรงข้ามกับ อนามัย คือ ความสบาย ความไม่มีโรค. (ป., ส.).
ไม่ถูกโรคกัน : (ปาก) ก. เข้ากันไม่ได้, ไม่ถูกนิสัยกัน.
ค : พยัญชนะตัวที่ ๔ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคํา ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น โรค มรรค มารค เทคนิค.
รุชา : น. ความไม่สบาย, ความเสียดแทง; โรค. (ป., ส.).
ก้นปล่อง : น. ชื่อยุงในสกุล Anopheles วงศ์ Culicidae มีหลายชนิด ที่พบเป็นสามัญเช่น ชนิด A. minimus ยุงเหล่านี้เวลาเกาะ หรือดูดเลือดคนหรือสัตว์ หัวจะปักลง ก้นชี้ขึ้น ผนังด้านล่าง ของส่วนท้องไม่มีเกล็ด ตัวเมียมีรยางค์ที่ปากยาวออกมา ๑ คู่ เช่นเดียวกับตัวผู้ ทําให้เหมือนกับมีปากเป็นสามแฉก ตัวเมียดูดเลือดและบางชนิดเป็นพาหะในการนําโรคมาสู่คน และสัตว์ เช่น โรคมาลาเรีย ตัวผู้กินน้ำหรือน้ำหวานจากดอกไม้.
กรรมพันธุ์ : [กำมะพัน] ว. มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ เกี่ยวเนื่องด้วย กรรมของตนเอง. น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกล วิการบางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย หรือ พ่อแม่, พันธุกรรม ก็ว่า. (ส. กรฺม + พนฺธุ; ป. กมฺมพนฺธุ = ''มีกรรม เป็นเผ่าพันธุ์'' เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง).
กระจก : น. แก้วที่ทําเป็นแผ่น; โรคต้อชนิดหนึ่ง เรียกว่า ต้อกระจก. (ป., ส. กาจ = แก้ว, ดินที่ใช้ทำแก้ว).
กระบองราหู : น. ชื่อโรคตามตําราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นโรคซางชนิดหนึ่ง ที่ขึ้นเป็นเม็ดที่เด็กอ่อน, ละบองราหู ก็เรียก.
กระเบา ๑ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Hydnocarpus วงศ์ Flacourtiaceae เช่น กระเบาใหญ่ หรือ กระเบาน้ำ (H. anthelminthica Pierre ex Laness.) เป็นไม้ต้น ขนาดใหญ่ ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีน้ำตาล ขนาดเท่าผลส้มโอ ขนาดย่อม เนื้อในเป็นแป้งสีเหลืองอ่อน ๆ กินได้ เมล็ดมีน้ำมัน เคยใช้เป็นยาแก้โรคเรื้อน ต้นที่มีแต่ดอกเพศผู้ เรียกว่า แก้วกาหลง, กระเบากลัก หรือ กระเบียน (H. ilicifolia King) เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีดํา ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง.
กระแพ้ง : น. ไม้ไผ่ที่ปล้องข้างในเป็นโรค มีสีดํา ๆ กลิ่นเหม็น, กําแพ้ง ก็ว่า.
กระษัย : [-ไส] น. ชื่อโรคตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า ทําให้ร่างกาย ทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, กษัย ก็ว่า. (ส. กฺษย ว่า โรคซูบผอม).
กระษัยกล่อน : [-ไสกฺล่อน] น. ชื่อโรคตามตําราแพทย์แผนโบราณ ทําให้ร่างกายผอมแห้ง เกิดจากโรคกล่อน.
กระสบ : น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ในตําราแพทย์แผนโบราณว่า มักขึ้นในไส้ ให้เวียนหัว ให้ราก จุก สมุฏฐานเกิดจากธาตุไฟหย่อน.
กระอ้า : น. โรคพืชชนิดหนึ่งเกิดแก่ใบยาสูบ ทําให้ใบเฉาเหี่ยวแห้ง หรือตายนึ่ง.
กรามช้าง ๑ : น. ตําราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่ง ขึ้นที่แถวกราม มีอาการเป็นเนื้อร้ายงอกขึ้นที่ต่อมแถวก้านคาง ทําให้ขากรรไตรพองโตใหญ่ออกมา เรียกว่า มะเร็งกรามช้าง.
กราย ๒ : [กฺราย] น. โรคซางจรชนิดหนึ่ง มีอาการตัวร้อน ลงราก กระหายน้ำ. (แพทย์).
กรูด ๓ : [กฺรูด] น. โรคหูด.
กล่อน : [กฺล่อน] น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า เกิดจากของเหลวเข้าไปขังอยู่ในถุงอัณฑะ, ถ้าของเหลวนั้นเป็นน้ำ เรียกว่า กล่อนน้ำ, ถ้าเป็นเลือด เรียกว่า กล่อนเลือด, ถ้าเป็นหนอง เรียกว่า กล่อนหนอง.