เอกชน : [เอกกะ] น. บุคคลคนหนึ่ง ๆ. ว. ส่วนบุคคล, ไม่ใช่ ของรัฐ, เช่น โรงพยาบาลเอกชน.
โรงเรียน : น. สถานศึกษา.
โรงเรียนกินนอน, โรงเรียนประจำ : น. โรงเรียนที่นักเรียนต้องกินอยู่ หลับนอนอยู่ที่โรงเรียนเป็นประจํา, เรียกนักเรียนเช่นนั้นว่า นักเรียน กินนอน หรือ นักเรียนประจํา.
แผงคอ : น. แผงทําด้วยสักหลาดหรือกํามะหยี่ สําหรับติดคอเสื้อ ราชปะแตนซึ่งเป็นเครื่องแบบเอกชนที่ขอเข้าเฝ้า หรือเครื่องแบบ นิสิตชายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือเครื่องแบบนักเรียนโรงเรียน วชิราวุธวิทยาลัยเป็นต้น; (โบ) แผงทําด้วยสักหลาดหรือกํามะหยี่ สําหรับติดคอเสื้อราชปะแตนซึ่งเป็นเครื่องแบบทางราชการ; ขน ที่สันคอม้า.
กฎหมายเอกชน : (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ระหว่างเอกชนหรือระหว่างเอกชนกับรัฐ ในฐานะที่รัฐดำเนินการ อย่างเอกชนเกี่ยวกับสถานภาพของบุคคลตามกฎหมาย สิทธิและ หน้าที่ของเอกชน รวมทั้งวางระเบียบเกี่ยวกับทรัพย์สินของเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์. (อ. private law).
ฝากโรงเรียน : ก. นําเด็กไปสมัครเข้าเป็นนักเรียนในโรงเรียน.
พิทยาคาร : น. โรงเรียน.
ภาษีบำรุงท้องที่ : (กฎ) น. ภาษีซึ่งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมี กรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของ เอกชน มีหน้าที่ต้องเสียเป็นรายปีจากราคาปานกลางของที่ดินตามที่ ทางราชการได้ประกาศกําหนดไว้ เพื่อให้เป็นรายได้ขององค์การบริหาร ส่วนท้องถิ่น ซึ่งที่ดินนั้นอยู่ในเขต.
มอบตัว : ก. นำเด็กนักเรียนไปมอบให้อยู่ในความปกครองของ โรงเรียน เช่น มอบตัวนักเรียน, ยอมตัวให้อยู่ในความควบคุมของ เจ้าหน้าที่เพื่อสู้คดี เช่น ผู้ร้ายเข้ามอบตัว.
กฎหมายปกครอง : (กฎ) น. กฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชน ที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบในทางปกครองของรัฐ และการ ดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะ รวมทั้งวางหลักความเกี่ยวพันในทางปกครองระหว่างฝ่ายปกครอง กับเอกชน. (อ. administrative law).
กฎหมายมหาชน : (กฎ) น.กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ระหว่างรัฐกับเอกชน ในฐานะที่รัฐมีอำนาจปกครองเอกชนที่อยู่ ในดินแดนของรัฐนั้น เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายอาญา. (อ. public law).
การคลัง : น. การจัดการเงิน, การคลังแผ่นดิน หรือ การคลังสาธารณะ คือ การจัดการเงินของประเทศ, การคลังเอกชน คือ การจัดการ เงินของบุคคล เช่น บริษัท; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับ การเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ ซึ่งรัฐมีอํานาจดําเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมาย และไม่อยู่ในอํานาจ หน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญา ผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อํานาจหรือให้สัตยาบัน รวมทั้งการค้า ประกันหนี้ของส่วนราชการ องค์การของรัฐ สถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจ.
การบ้าน : น. งานที่ครูกําหนดให้นักเรียนไปทําที่บ้าน (เฉพาะโรงเรียน), งานที่เกี่ยวกับบ้าน, มักใช้เข้าคู่กับคําอื่น เช่น การบ้านการเมือง การบ้านการเรือน.
กินนอน : น. เรียกโรงเรียนที่จัดให้นักเรียนกินอยู่หลับนอน ในโรงเรียนว่า โรงเรียนกินนอน, เรียกนักเรียนที่อยู่ในโรงเรียน กินนอนว่า นักเรียนกินนอน.
เข้า ๑ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทําให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้; เคลื่อนมาสู่ที่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ โมง; ใส่, บรรจุ, เช่น เข้าหีบ; ประสม, แทรก, เช่น เข้ายาดำ; รวม เช่น เข้าหุ้น เข้าทุน; รวม เป็นพวก เช่น เข้าพรรค เข้าแถว เข้าข้าง; ถูกกัน, ลงรอยกัน, ทําให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ, เช่น เสียงเข้ากัน สีเข้ากัน เข้าไม้; เคลื่อนมาสู่ เช่น พระศุกร์เข้า; สิง เช่น เจ้าเข้า ผีเข้า; เริ่ม เช่น เข้าเรียน, เริ่มทํางาน เช่น โรงเรียนเข้า; เริ่มอยู่ ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน เข้าทํางาน. ว. ตรงข้ามกับ ออก เช่น ทางเข้า ขาเข้า; ใช้ประกอบคําอื่นแสดงความหมายเร่งรัดหรือเน้นความว่า มากขึ้น เช่น เร็วเข้า คิดเข้า หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า.
คดีแพ่ง : (กฎ) น. คดีที่ฟ้องร้องเกี่ยวกับสิทธิส่วนเอกชน.
คลินิก : น. สถานรักษาพยาบาล โดยมากเป็นของเอกชน มักไม่รับผู้ป่วยให้พัก รักษาตัวประจํา; แผนกของโรงพยาบาลที่รักษาโรคเฉพาะทาง. (อ. clinic).
คอนแวนต์ : น. สํานักชีในคริสต์ศาสนา, เรียกโรงเรียนซึ่งชีในสํานักนั้น ๆ ตั้งขึ้น และเป็นผู้ดําเนินการสอนว่า โรงเรียนคอนแวนต์. (ฝ. convent).
จดหมายเหตุ : น. หนังสือบอกข่าวคราวที่เป็นไป, รายงานหรือบันทึกเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น, เอกสารที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ผลิตขึ้นเพื่อ ใช้เป็นหลักฐานและเครื่องมือในการปฏิบัติงาน.
เจาะ ๒, เจาะจง : ก. ตั้งใจเฉพาะ, มุ่งไปที่, เช่น นักข่าวเจาะข่าวเรื่องยาเสพติดในโรงเรียน หัวหน้าเจาะจงให้เขาทำงานชิ้นนี้.
โฉบ : ก. โผลงมาคว้าเอาสิ่งของไป (ใช้แก่นก) เช่น กาโฉบลูกไก่, ฉวยเอาไป อย่างรวดเร็ว เช่น เด็กโฉบมะม่วงนอกรั้วไปเสียแล้ว; เจตนาไปที่ใดที่หนึ่ง เช่น โฉบไปหน้าโรงเรียน.
โดดร่ม : ก. โดดออกจากอากาศยานในขณะอยู่ในอากาศเพื่อลงสู่พื้นดิน โดยอาศัยร่มชูชีพ, กระโดดร่ม ก็ว่า; โดยปริยายหมายความว่า หนีงาน หนีโรงเรียน.
โดยปริยาย : ว. โดยอ้อม, โดยผิดเพี้ยนไปจากความหมายเดิม, เช่น โดดร่ม ความหมายตรงว่า โดดจากเครื่องบินโดยมีร่มชูชีพเป็นเครื่องพยุง ความหมายโดยปริยายว่า หนีงาน, หนีโรงเรียน.
นักเรียน : น. ผู้ศึกษาเล่าเรียน; ผู้รับการศึกษาจากโรงเรียน.
เนติบัณฑิต : น. ผู้ได้รับประกาศนียบัตรทางวิชากฎหมายของโรงเรียน กฎหมาย กระทรวงยุติธรรม, ผู้สอบได้ตามหลักสูตรของสํานักศึกษา อบรมกฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา.
เนื่อง : ก. ติดต่อกัน, เกี่ยวข้องกัน, เช่น เรื่องนี้เนื่องกับเรื่องนั้น เรื่องมันเนื่อง ถึงกัน. น. แหวนทองเกลี้ยงมีหลายวงไขว้ติดกันรวมเป็นวงเดียวกันได้, เรียกวัตถุอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น ถ้วยเนื่อง คือ ถ้วยที่มีหลาย ชั้นติดกัน, เนื่องรอบวงในประดับเพชร, เนื่องเพชรลงยาราชาวดี. (ตํานานเครื่องราชอิสริยาภรณ์). เนื่องจาก, เนื่องด้วย, เนื่องแต่ สัน. เพราะเหตุที่ เช่น โรงเรียนปิด เนื่องจากนํ้าท่วม เนื่องด้วยเขาป่วย จึงมาไม่ได้ เนื่องแต่เหตุนั้นนั่นเอง.
บ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน : (สํา) น. สถานที่ตนเคยอยู่อาศัยมาก่อน. บ้านจัดสรร น. กลุ่มบ้านซึ่งรัฐหรือเอกชนเป็นผู้ลงทุนสร้างให้ก่อน โดยยอมให้ผู้ซื้อผ่อนชําระก็ได้.
ใบสุทธิ : น. เอกสารแสดงวิทยฐานะและความประพฤติเป็นต้นของ บุคคลผู้ถือเมื่อลาออกหรือจบการศึกษาชั้นสูงสุดของโรงเรียน.
ประชาบาล : น. การศึกษาของท้องถิ่น มีราชการบริหารส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ดําเนินการ, เรียกโรงเรียนประเภทนี้ว่า โรงเรียนประชาบาล; (เลิก) การปกครองพลเมืองในท้องถิ่น.
ประโยชน์ : [ปฺระโหฺยด] น. สิ่งที่มีผลใช้ได้ดีสมกับที่คิดมุ่งหมายไว้, ผลที่ได้ตาม ต้องการ, สิ่งที่เป็นผลดีหรือเป็นคุณ, เช่น ประโยชน์ของการศึกษา ประโยชน์ของโรงเรียน. (ส. ปฺรโยชน; ป. ปโยชน).
ปอเนาะ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. โรงเรียนที่สอนหนังสือและอบรมศาสนาอิสลาม.
ปิด : ก. กันหรือกั้นไว้ไม่ให้เผยออก เช่น ปิดฝาหม้อ, กันหรือกั้นไว้ให้ เข้าออกไม่ได้ เช่น ปิดถนน; ติด เช่น ปิดประกาศ ปิดทอง; โดย ปริยายหมายความว่า หยุด เช่น โรงเรียนปิด, ทําให้หยุด เช่น ปิดพัดลม ปิดวิทยุ, ไม่เปิดเผย เช่น ปิดวิชา ปิดความ.
เปอร์เซ็นต์ : น. จํานวนที่เทียบเป็นส่วนร้อยหรือร้อยละ, การคิดเทียบเป็น ส่วนร้อย เรียกว่า ร้อยละ หรือ ต่อร้อย ใช้เครื่องหมาย % แทน เช่น นักเรียนโรงเรียนนี้สอบได้ ๗๐ % คือ สอบได้ ๗๐ คน จาก จำนวนนักเรียนทั้งหมด ๑๐๐ คน เด็กคนนี้สอบได้ ๘๐ % คือ ได้ คะแนน ๘๐ คะแนน จากคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน; (ปาก) ค่า นายหน้า, ค่าตอบแทนในการติดต่อซื้อขายเป็นต้น, เช่น ได้ เปอร์เซ็นต์ ให้เปอร์เซ็นต์.
ฝึกสอน : ก. ฝึกหัดการสอนในโรงเรียนตามหลักสูตรวิชาการศึกษา; สอนให้ทําจนเป็น, สอนให้เป็นคนดี, เช่น เฝ้าฝึกสอน.
พิทยาลัย : น. โรงเรียนชั้นมัธยมศึกษา.
เพื่อน ๑ : น. ผู้ชอบพอรักใคร่กัน, ผู้สนิทสนมคุ้นเคยกัน, เช่น เขามีเพื่อนมาก, ผู้ร่วมสถาบันหรือร่วมอาชีพเป็นต้น เช่น เพื่อนร่วมโรงเรียน เพื่อน ร่วมรุ่น เพื่อนข้าราชการ เพื่อนกรรมกร, ผู้ร่วมธุระ เช่น อยู่เป็น เพื่อนกันก่อน ไปเป็นเพื่อนกันหน่อย, ผู้อยู่ในสภาพเดียวกัน เช่น เพื่อนมนุษย์ เพื่อนร่วมโลก.
แพ่ง : น. แรง, กําลัง; ทาง, แพร่ง. ก. สร้าง; เพ่ง, ตรวจดู, พิจารณา. ว. งาม, น่าดูมาก; (กฎ) ที่เกี่ยวกับสิทธิส่วนเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง คดีแพ่ง.
ฟาสซิสต์ : น. ลัทธิการเมืองที่ผู้นํารวบอํานาจทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไว้หมด และมีนโยบายชาตินิยมอย่างรุนแรง แต่เคารพ ในกรรมสิทธิ์ของเอกชน, ผู้ที่นิยมลัทธินั้น. ว. เกี่ยวกับลัทธิฟาสซิสต์. (อ. fascism, fascist).
ภาค, ภาค : [พาก, พากคะ] น. ส่วน เช่น ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ, ฝ่าย เช่น ภาครัฐบาล ภาคเอกชน ภาคเหนือ ภาคใต้, บั้น, ตอน, เช่น หนังสือภูมิศาสตร์ ภาคต้น หนังสือประวัติศาสตร์ภาคปลาย พงศาวดารภาค ๑, คราว เช่น การศึกษา ภาคฤดูร้อน, ส่วนของประเทศที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยเพื่อสะดวกในด้าน การปกครอง การศึกษา การทหาร เป็นต้น เช่น เจ้าคณะภาค แม่ทัพภาค. (ป.).
มุ่งหน้า : ก. ตรงไปสู่จุดหมาย เช่น เขามุ่งหน้าไปโรงเรียน.
ยุยง : ก. ยุหรือส่งเสริมให้ทำในสิ่งที่ไม่ดีหนักขึ้น เช่น ยุยงให้หนีโรงเรียน ยุยงให้เล่นการพนัน.
รถร่วม : น. รถโดยสารเอกชนที่เข้ามาร่วมกับบริษัทหรือองค์การที่ได้รับ สัมปทานในการเดินรถ เช่น รถร่วม บขส.
รถส่วนบุคคล : น. รถยนต์นั่งที่เอกชนเป็นเจ้าของ.
ร่วม : ก. มีส่วนรวมอยู่ด้วยกัน เช่น ร่วมกิน ร่วมนอน, มีส่วนรวมเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน เช่น ร่วมใจ ร่วมสามัคคี, มีส่วนรวมในที่แห่งเดียวกัน เช่น ร่วมโรงเรียน ร่วมบ้านร่วมห้อง ร่วมหอ, มีส่วนรวมในภาวะหรือสถานะ เดียวกัน เช่น เพื่อนร่วมชาติมีศัตรูร่วมกัน ทำบุญร่วมญาติ ร่วมเป็นร่วมตาย ร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมชะตากรรม. ว. ล่วงไปมากจวนถึงที่หมาย, เกือบ, เกือบถึง, เช่น ร่วมถึง ร่วมเสร็จ ทํามาร่วมเดือนแล้ว ซากสัตว์นี้มีอายุร่วม ๑,๐๐๐ ปี.
ระเบียบการ : น. ข้อกําหนดหรือข้อบังคับที่บัญญัติขึ้นเป็นแนวปฏิบัติ เช่น ระเบียบการของโรงเรียน.
รักบี้ : น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง เล่นครั้งแรกที่โรงเรียนรักบี้ ประเทศอังกฤษ แบ่ง ผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย โดยปรกติเล่นฝ่ายละ ๑๕ คน แต่ที่เล่นฝ่ายละ ๗ คน ก็มี ผู้เล่นแต่ละฝ่ายพยายามแย่งลูกรักบี้ไปวางพ้นแนวประตูฝ่ายตรงข้าม แล้วนำมาเตะ ณ แนวจุดเตะเพื่อให้เข้าประตูฝ่ายตรงข้ามฝ่ายที่ได้คะแนน มากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ, เรียกเต็มว่า รักบี้ฟุตบอล, เรียกลูกหนังที่มีลักษณะ กลมรีใช้ในการเล่นรักบี้ว่า ลูกรักบี้. (อ. rugby football).
เร่ง : ก. รีบ เช่น เร่งปักผ้าเช็ดหน้าให้ทันงาน เร่งตรวจข้อสอบ, บังคับให้เร็ว, บอกเตือนให้รีบปฏิบัติ, เช่น เร่งคนงานให้ทำงานให้ทันเวลา เร่งลูกให้ แต่งตัวไปโรงเรียน.
โรงเรียนสาธิต : น. โรงเรียนที่ขึ้นกับสถาบันผลิตครู ตั้งขึ้นเพื่อเป็นที่ ฝึกสอนของนักศึกษาครู หรือเพื่อเป็นโรงเรียนตัวอย่างทางด้านการ สอนหรือการบริหาร.
ล้ม : ก. กิริยาที่ตั้งอยู่แล้วเอนลงหรือทอดลงถึงพื้นหรือทลายลง เช่น ต้นไม้ล้ม ล้มตัวลงนอน ตึกล้ม, ทำให้มีอาการเช่นนั้น เช่น ล้ม จอมปลวก ถูกผลักล้มลง, ตั้งอยู่ไม่ได้ เช่น กิจการล้ม ธนาคารล้ม โรงเรียนล้ม; ฆ่า เช่น ล้มวัว ล้มควาย, ตาย เช่น ช้างล้ม, ตัดโค่น เช่น ล้มกอไผ่; สมยอมหรือทำให้สมยอมกันในทางที่ไม่สุจริต เช่น ล้มคดี ล้มมวย. ว. ที่ตั้งอยู่แล้วเอนลงหรือทอดลงถึงพื้นหรือ ทลายลง เช่น ไม้ล้มข้ามได้ คนล้มอย่าข้าม; ที่สมยอมกันในทาง ไม่สุจริต เช่น มวยล้ม.
ลอยนวล : ว. ตามสบาย, ไม่มีผู้ขัดขวางจับกุม, เช่น ผู้ร้ายหนีไป อย่างลอยนวล; กรีดกราย เช่น แทนที่จะไปโรงเรียน กลับไปเดิน ลอยนวลอยู่ที่ห้างสรรพสินค้า.