Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: โหนกแก้ม, โหนก, แก้ม , then กม, แก้ม, หนก, โหนก, โหนกแก้ม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : โหนกแก้ม, 70 found, display 1-50
  1. โหนกแก้ม : น. ส่วนของแก้มตรงที่มีกระดูกนูนออกมา.
  2. แก้ม : น. บริเวณหน้าทั้ง ๒ ข้างถัดตาลงมา, ราชาศัพท์ว่า พระปราง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีรูปเช่นนั้น เช่น เฉือนมะม่วงเอาแต่ ๒ แก้ม = เฉือนเอา ๒ ส่วนที่มีลักษณะเหมือนแก้ม.
  3. โหนก : [โหฺนก] ว. นูนยื่นออกมา เช่น หน้าผากโหนก.
  4. แก้มช้ำ : น. ชื่อปลาน้าจืดชนิด Puntius orphoides ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่มีลักษณะเด่นที่มีลําตัวยาวกว่า โดยเฉพาะที่แผ่นปิดเหงือกมีสีแดงเรื่อคล้ายรอยช้ำ สุดแผ่นปิดเหงือกดํา โคนครีบหางมีจุดสีดํา พื้นครีบสีแดง ขอบบนและล่างดํา มีชุกชุมทั่วไป ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, ปักษ์ใต้เรียก ปก.
  5. แก้มแดง : น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L.
  6. แก้มแหม่ม : น. ชื่อชมพู่พันธุ์หนึ่งของชนิด Eugenia javanica Lam. ผลกลมแป้น สีชมพูเรื่อ ๆ.
  7. ดำแก้มขาว : ดู เต่าดำ ที่ เต่า๑.
  8. กโบล : [กะโบน] น. แก้ม. (ป. กโปล).
  9. กม ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด ว่า แม่กม หรือ มาตรากม.
  10. กม ๒ : (โบ) ก. กุม เช่น เกลือกเจ้าแม่มาคิดคม ครุบคั้นกินกม บไว้บวางตัวตู. (เสือโค).
  11. กระพุ้ง : น. ส่วนที่ป่องออก เช่น กระพุ้งแก้ม กระพุ้งก้น.
  12. กระสูบ : น. ชื่อปลาน้ำจืด ๒ ชนิด ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาแก้มช้า แต่ลําตัวเพรียวและโตกว่าชนิดแรกคือ กระสูบขาว (Hampala macrolepidota) มักมีลายดําพาดขวางที่บริเวณลําตัว ใต้ครีบหลัง พื้นหางสีแดงขอบบนและล่างสีดํา ขนาดยาวถึง ประมาณ ๗๐ เซนติเมตร อีกชนิดหนึ่งคือ กระสูบจุด (H. dispar) ลําตัวมีจุดดําอยู่ตอนกลาง ปลายครีบหางมนกว่า และไม่มีแถบสีดํา ตัวยาวเต็มที่ไม่เกิน ๒๐ เซนติเมตร, สูด หรือ สูบ ก็เรียก.
  13. กะวะ ๒ : น. ชื่อนกเงือกชนิด Buceros bicornis ในวงศ์ Bucerotidae โคนปากด้านบนมีลักษณะโหนกคล้ายกล่องขนาดใหญ่ คอสีขาว ปีกสีดําพาดเหลือง ปลายปีกขาว หางสีขาวพาดดํา, กก หรือ กาฮัง ก็เรียก.
  14. กำโบล ๑ : (แบบ) น. กโบล, กระพุ้งแก้ม, เช่น ปรางเปรียบกำโบลบง- กชรัตนรจนา. (สุธน). (ป., ส. กโปล).
  15. กินปลี : น. ชื่อนกในวงศ์ Nectariniidae ตัวเล็ก ปากยาวโค้งงองุ้มปลายแหลมเล็ก กินแมลง น้ำหวานในปลีกล้วยและดอกไม้ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น กินปลีอกเหลือง (Nectarinia jugularis) กินปลีแก้มสีทับทิม (Anthreptes singalensis).
  16. แก้ววิเชียร : น. ชื่อโรคซางละอองเป็นฝ้าบาง ๆ ที่ขึ้นตามลิ้น หรือเพดานหรือกระพุ้งแก้ม สีขาวดั่งเนื้อในมะพร้าว มีอาการท้องอืด ลงท้องนับหนไม่ถ้วน. (แพทย์).
  17. โกศ ๒ : [โกด] น. ฝัก, กระพุ้ง; ดอกไม้ตูม เช่น ชมช่อไม้เหมือนแก้ม โกศเกลา. (ทวาทศมาส).
  18. ขมับ : [ขะหฺมับ] น. ส่วนที่อยู่หางคิ้วเหนือกระดูกแก้มทั้ง ๒ ข้าง.
  19. ครัดเคร่ง : [คฺรัดเคฺร่ง] (กลอน) ก. แน่น, ตึง เช่น แก้มทั้งสองข้างดังปรางทอง เต้านม ทั้งสองก็ครัดเคร่ง. (ขุนช้างขุนแผน), เคร่งครัด ก็ว่า. ว. เข้มงวด, กวดขัน; ถูกต้องครบถ้วน.
  20. เครา : [เคฺรา] น. ขนที่ขึ้นตามแก้มหรือขากรรไตร, ราชาศัพท์ ว่า พระทาฐิกะ. (ทมิฬ เค-รา).
  21. จรุง, จรูง : [จะรุง, จะรูง] (กลอน) ก. จูง, ชักชวน, เช่น ปลดยากพรากทุกข์ยุคเขิน จรุงราษฎร์ดำเนินสู่ศุขสวัสดีโดยไว. (ดุษฎีสังเวย); ยั่ว เช่น จรุงใจ; กรุ่น, อบอวล, ชื่น, เช่น จรุงกลิ่นแก้มน้องแก้ว ไป่วาย. (กำสรวล).
  22. จอน ๑, จอนหู : น. ชายผมข้างหูที่ระลงมาที่แก้ม.
  23. ชมพู่ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางหลายชนิดในสกุล Syzygium วงศ์ Myrtaceae ผลกินได้ เช่น ชมพู่แก้มแหม่ม [S. samarangense (Blume) Merr. et L.M. Perry] ชมพู่นํ้าดอกไม้ [S. jambos (L.) Alston] ชมพู่สาแหรก [S. malaccensis (L.) Merr. et L.M. Perry].
  24. เชย : ก. สัมผัสเบา ๆ หรือช้อนขึ้นเบา ๆ ด้วยความเอ็นดูหรือรักใคร่ เช่น เชยแก้ม เชยคาง; โปรยปรายลงมา ในคําว่า ฝนเชย; พัดมา เฉื่อย ๆ (ใช้แก่ลม); สกัดงาเอานํ้ามันเรียกว่า เชยนํ้ามันงา; (ปาก) ว. ไม่ทันสมัย, เปิ่น.
  25. ต่อเติม : ก. ขยายหรือเพิ่มให้มากหรือใหญ่ขึ้น เช่น ต่อเติมข้อความ ต่อเติมบ้าน. ว่า แก้มตอบ. มีแต้มตั้งแต่ ๑ ถึง ๖; การเล่นไพ่ป๊อกฝรั่งระหว่าง ๒ หรือ ๔ คน โดยเรียงแต้ม ไพ่จากรูป ๗ แล้วต่อแต้มสูงขึ้นไปหรือต่อแต้มตํ่าลงมา.
  26. ตอบ : ก. ทําหรือพูดโต้ในทํานองเดียวกับที่มีผู้ทําหรือพูดมา เช่น ชกตอบ ตีตอบ ด่าตอบ เยี่ยม ตอบ, กล่าวแก้ เช่น ตอบปัญหา, กล่าวเมื่อมีผู้ถาม เช่น ตอบคําถาม, แจ้ง กลับไปให้อีกฝ่ายหนึ่ง รู้ เช่น ตอบจดหมาย. ว. เรียกแก้มที่มีลักษณะยุบลึกเข้าไป undefined
  27. ตะโหงก ๒ : [-โหฺงก] น. โคนทางมะพร้าวแห้ง; สิ่งที่นูนโหนกขึ้นจากพื้นราบ เช่น หัวตะโหงกตอไม้ ; ก้อนเนื้อที่ต้นคอของสัตว์บางชนิดเช่นวัว, หนอก ก็ว่า.
  28. เทพา : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Pangasius sanitwongsei ในวงศ์ Schilbeidae ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้ายปลาสวาย เว้นแต่มีครีบหลัง ครีบอก และ ครีบท้องยื่นยาวเป็นเส้น ทั้งยังมีจุดสีขาวเด่นอยู่เหนือครีบอกหลัง กระพุ้งแก้ม พบอาศัยอยู่ในเขตแม่นํ้าเจ้าพระยาและแม่นํ้าโขง เมื่อ โตเต็มที่มีขนาดยาวกว่า ๓ เมตร.
  29. บุบ : ก. ทุบ ตํา หรือเคี้ยวเบา ๆ พอให้เป็นรอยหรือแตก; บู้ลง, บุ๋มลง, เช่น ขันบุบ แก้มบุบ.
  30. บุ๋ม : ว. ที่ยุบเป็นรอยลึกลงไป เช่น แก้มบุ๋ม.
  31. ปก ๒ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ปลาแก้มชํ้า. (ดู แก้มชํ้า).
  32. ปราง : [ปฺราง] น. แก้ม; มะปราง.
  33. ปุ้ย : น. ลักษณะแก้มที่ตุ่ยออกมาเช่นในเวลากินอาหาร; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ของลับหญิง.
  34. พวง ๒ : ว. ลักษณะที่ยื่นพองออกมา เช่น แก้มเป็นพวง.
  35. พอง : ก. อาการที่โป่งหรือฟูขึ้นมาเพราะมีอากาศหรือน้ำเป็นต้นอยู่ภายใน เช่น ลูกโป่งพองลม ถูกน้ำร้อนลวกหนังพอง เหยียบไฟเท้าพอง, ทำให้โป่ง ฟู หรือตั้งขึ้น เช่น อึ่งอ่างพองตัว เป่าลูกโป่งให้พอง เป่า ปี่จนแก้มพอง ลิงพองขน แมวทำขนพอง; ขยายตัวให้โตขึ้นเช่น เห็ดหูหนูเมื่อแช่น้ำย่อมพองตัว ข้าวตังเมื่อเอาไปทอดก็จะพอง.
  36. มด ๑ : น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Formicidae ส่วนท้องปล้องที่ ๑ หรือ ปล้องที่ ๑ และปล้องที่ ๒ ซึ่งติดกับอกคอดกิ่ว ด้านหลังปล้องท้องดังกล่าวมีโหนกสูงขึ้น ซึ่งอาจจะโค้งมนหรือเป็นแผ่นแบน ลักษณะนี้ทําให้มดแตกต่างไปจากต่อ แตน และ ปลวก.
  37. ยิ้มแป้น : ก. ยิ้มทําแก้มแป้น.
  38. ยุ้ย : ว. ยื่นโป่งออกมาอย่างน่ารักน่าเอ็นดู เช่น แก้มยุ้ย เด็กพุงยุ้ย.
  39. ยูง ๑ : น. ชื่อนกขนาดใหญ่ในสกุล Pavo วงศ์ Phasianidae ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้ จะมีขนหางยาวและมีแวว เพื่อใช้รําแพนให้ตัวเมียสนใจ อาศัยอยู่ตามป่า โปร่ง มักร้องตอนเช้าหรือพลบคํ่า กินเมล็ดพืช แมลง และสัตว์เล็ก ๆ มี ๒ ชนิด คือ ยูงไทย (P. muticus) หงอนบนหัวตั้งตรงเป็นกระจุก หนังข้าง แก้มสีฟ้าและเหลือง ขนส่วนคอ หลัง ตลอดไปถึงปลายหางสีเขียว และ ยูงอินเดีย (P. cristatus) หงอนบนหัวแผ่เป็นรูปพัด หนังข้างแก้มสีขาว ขนส่วนคอและอกด้านบนสีนํ้าเงิน.
  40. ลักยิ้ม : น. รอยเล็ก ๆ ที่บุ๋มลงไปที่แก้ม.
  41. หน้ากระดูก : น. รูปหน้าที่มีกระดูกสันแก้มสูง.
  42. หมั่นไส้ : ก. ชังนํ้าหน้า, รู้สึกขวางหูขวางตา; (ปาก) ชวนให้รู้สึกเอ็นดู, (มักใช้แก่เด็ก), เช่น เด็กคนนี้อ้วนแก้มยุ้ย น่าหมั่นไส้, มันไส้ ก็ว่า.
  43. หวำ : ว. บุ๋มลงไป เช่น ผอมจนแก้มหวำ เนื้อตะโพกหวำ, ลึกไม่มาก, เป็นแอ่ง เช่น พื้นดินหวำ.
  44. หัวตะโหงก : [-โหฺงก] น. สิ่งที่นูนโหนกขึ้นมาจากพื้นราบ เช่น หัวตะโหงก ตอไม้.
  45. เหลือง ๕ : [เหฺลือง] น. (๑) ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Caesio วงศ์ Pomadasyidae รูปร่างคล้ายปลากะพง ลําตัว ครีบ และหางสีเหลือง ครีบหางเป็นแฉกลึก มีเกล็ดถึงโคนครีบหลังและหาง เช่น ชนิด C. erythrogaster, C. chrysozonus. (๒) ชื่อปลาทะเลชนิด Halichoeres nigrescens ในวงศ์ Labridae ลําตัว แบนข้างค่อนข้างหนา สีเขียว ไม่มีเกล็ดที่แก้ม มีเส้นสีม่วงระหว่างตา พาดเฉียงจากตาไปที่แก้ม ๒-๓ เส้น ขนาดยาวประมาณ ๑๔ เซนติเมตร, เหลืองหิน ก็เรียก.
  46. อุรังอุตัง : น. ชื่อลิงขนาดใหญ่ชนิด Pongo pygmaeus ในวงศ์ Pongidae รูปร่างคล้ายคน ขนตามลําตัวยาวสีนํ้าตาลแดง แขนยาว ขาสั้น และค่อนข้างเล็ก ใบหูเล็กมาก ตัวผู้มีถุงลมขนาดใหญ่ตรงคอหอย และกระพุ้งแก้มทั้ง ๒ ข้างพองห้อย นิ้วตีนนิ้วแรกไม่มีเล็บ อาศัย อยู่บนต้นไม้ กินผลไม้ยอดและหน่อของต้นไม้ มี ๒ พันธุ์ย่อย คือ พันธุ์สุมาตรา (Pongo pygmaeus abeli) และพันธุ์บอร์เนียว (P.pygmaeus pygmaeus) มีถิ่นกําเนิดเฉพาะในเกาะสุมาตราและ เกาะบอร์เนียวเท่านั้น.
  47. กมลาสน์ : [กะมะลาด] (แบบ) น. ผู้มีบัวเป็นที่นั่ง คือ พระพรหม. (ป., ส. กมล = บัว + อาสน = ที่นั่ง).
  48. กุ่ม : น. ชื่อไม้ต้นในสกุล Crateva วงศ์ Capparidaceae ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย ๓ ใบ ดอกเป็นช่อ กลีบดอกสีขาวแล้วกลายเป็นสีเหลือง ผลกลมหรือรูปไข่ ผิวนอกแข็งและสาก ๆ สีเขียวนวล เช่น กุ่มบก [C. adansonii DC. subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs] กุ่มน้ำ [C. magna (Lour.) DC. และ C. religiosa Forst.f.].
  49. เห็นแก่ : ก. มุ่งเฉพาะเพื่อ เช่น เห็นแก่ตัว เห็นแก่พวก เห็นแก่ได้.
  50. กิโลเมตร : น. ชื่อมาตราวัด เท่ากับ ๑,๐๐๐ เมตร, อักษรย่อว่า กม., (ปาก) เรียกสั้น ๆ ว่า กิโล. (ฝ. kilometre).
  51. [1-50] | 51-70

(0.1199 sec)