Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: โหม , then หม, โหม, โหมะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : โหม, 86 found, display 1-50
  1. โหม ๑, โหม- : [โหมะ-] น. การเซ่นแก่เทพดาของพวกพราหมณ์โดยใช้เนยเผาในไฟ; การบูชายัญ, การเซ่นสรวงทั้งปวง. (ป., ส.).
  2. โหม : [โหมฺ] ก. ระดม เช่น โหมกําลัง โหมไฟ.
  3. โหม : [โหมฺ] น. ผักโหม. [ดู ขม๒(๑)].
  4. โหมกรรม : น. พิธีเซ่นสรวง. (ส. โหม + กรฺมนฺ).
  5. โหมกูณฑ์ : น. พิธีพราหมณ์เกี่ยวแก่การบูชาไฟ. (ส.).
  6. ผักโหม : ดู ขม๒(๑).
  7. ย่านพาโหม : น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล Paederia วงศ์ Rubiaceae ลำต้นมีขน กลิ่นเหม็น เช่น ชนิด P. linearis Hook.f. ใช้แต่งกลิ่นอาหารและทำยา ได้, ตดหมูตดหมา ก็เรียก.
  8. ศานติโหม : น. การบูชาไฟเพื่อกําจัดเสนียดจัญไร. (ส.).
  9. กระโหม : [-โหมฺ] (กลอน) ก. โหม เช่น ศัพท์ส้าวกระโหมโครม. (บุณโณวาท).
  10. กระแต ๓ : น. ชื่อเพลงร้อง เดิมเป็นของไทยทางเหนือ เรียกว่า กระแตเล็ก, ถ้าทําโหมโรงสําหรับเสภา เรียกว่า กระแตใหญ่.
  11. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  12. กันทะ : (โบ) น. กระทะ เช่น จึ่งตั้งโลหะกันทะโดยตบะบนเส้าโขมดผี ให้ประโคมแล้วโหมอัคคี มาลีธูปเทียนบูชา. (รามเกียรติ์ ร. ๒ ตอนศึกไมยราพณ์).
  13. ขม ๒ : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกในสกุล Amaranthus วงศ์ Amaranthaceae มี หลายชนิด เช่น ผักขมหนาม (A. spinosus L.) ลําต้นมีหนาม ใช้ทํา ยาได้ ผักขมสวน (A. tricolor L.) ผักขมแดง (A. caudatus L.) ใบ สีแดง ปลูกเป็นไม้ประดับ, ผักโขม หรือ ผักโหม ก็เรียก. (๒) บวบขม. [ดู นมพิจิตร(๒)]. (๓) หวายขม. [ดู หวาย(๑)]. (๔) เทียนขม. (ดู เทียนขม ที่ เทียน๓). (๕) ชื่อบัวสายพันธุ์หนึ่งในสกุล Nymphaea ดอกเล็ก สีขาว สายกินได้ หัวมีรสขม.
  14. ตดหมูตดหมา : ดู ย่านพาโหม.
  15. บักโกรก : [-โกฺรก] (ปาก) ว. ซูบผอมเพราะหักโหมกําลังเกินไป.
  16. สมิต ๓ : [สะมิด] น. กิ่งแห้งของต้นไม้บางชนิด เช่นต้นโพใช้เป็นเชื้อไฟในพิธี โหมกูณฑ์. (ส.); ใบไม้ ๓ ชนิด คือ ใบมะม่วง ใบทอง และใบตะขบ ที่ถวายพระเจ้าแผ่นดินในพิธีอภิเษก เช่นราชาภิเษก.
  17. หักแรง : ก. โหมทำงานจนเกินกำลัง เช่น อย่าหักแรงทำงานจนเกินไป จะทำ ให้ล้มป่วย.
  18. เหม่, เหม่ ๆ : [เหฺม่] (กลอน) อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความโกรธเพื่อขู่หรือตวาด, อุเหม่ ก็ว่า. ว. เสียงดังเช่นนั้น แสดงความโกรธ.
  19. แหม่ : [แหฺม่] ว. เสียงขู่เด็กเล็ก ๆ ให้กลัว.
  20. โหม : [โหฺม่] (ปาก) ก. โผล่. ว. โด่ เช่น นั่งหัวโหม่.
  21. ใหม่ : ว. เพิ่งมี เช่น มาใหม่ รุ่นใหม่, มีอีกนอกจากที่เคยมีอยู่แล้ว เช่น มีเมียใหม่, ซํ้า เช่น พูดใหม่ ทำใหม่ อ่านใหม่, อีกครั้งหนึ่ง เช่น ตื่นมาแล้วกลับไป นอนใหม่, ยังไม่ได้ใช้ เช่น ของใหม่, ไม่เคยประสบมาก่อน เช่น ความรู้ ใหม่ เพลงใหม่, เริ่มแรก เช่น ข้าวใหม่ นักเรียนใหม่; ไม่ใช่เก่า เช่น บ้านสร้างใหม่.
  22. ห่ม ๑ : ก. ขย่ม เช่น เด็กห่มกิ่งพุทรา ห่มเสาเข็ม.
  23. ห่ม ๒ : ก. ใช้ผ้าเป็นต้นคลุมหรือพันสิ่งใดสิ่งหนึ่งทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน เช่น ห่มผ้า ห่มสไบ เอาผ้าไปห่มต้นโพธิ์.
  24. หมี่ ๑ : น. เรียกแป้งข้าวเจ้าที่โรยเป็นเส้นลงในนํ้าเดือดพอสุกแล้วนํามาตากแห้ง ว่า เส้นหมี่, ชื่ออาหารประเภทหนึ่งที่ทําด้วยเส้นหมี่ เช่น หมี่กรอบ หมี่กะทิ. (จ.).
  25. หมี่ ๒ : น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่ง ทอโดยเอาเชือกมัดด้ายหรือไหมเป็นเปลาะ ๆ ตามลาย แล้วย้อมสี เมื่อทอแล้วจะได้ลวดลายต่าง ๆ ตามที่มัดไว้, ผ้ามัดหมี่ ก็เรียก.
  26. หมู่ ๑ : น. กลุ่มชนิดเดียวกัน เช่น หมู่ดาว หมู่เมฆ, พวกชนิดเดียวกัน เช่น หมู่มนุษย์ หมู่โจร; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น มีจำนวน ไม่เกิน ๑๐ คน มีหัวหน้าเรียกว่า ผู้บังคับหมู่ หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้หมู่, ถ้าเป็นทหารบก หรือตำรวจจะต้องมียศเป็นนายสิบ, ถ้าเป็นทหารเรือหรือทหารอากาศ จะต้องมียศเป็นจ่า.
  27. หมู่ ๒ : น. ระยะเวลา เช่น หมู่นี้สุขภาพไม่ค่อยดี หมู่นั้นไม่ว่าง.
  28. หมู่ ๓ : ดู คอแดง.
  29. ก๊ก : น. พวก, หมู่, เหล่า, โดยปรกติมักใช้เข้าคู่กันว่า เป็นก๊กเป็นพวก เป็นก๊กเป็นหมู่ เป็นก๊กเป็นเหล่า. (จ. ว่า ประเทศ).
  30. กบิล ๒ : [กะบิน] น. ระเบียบ, แบบ, ทาง, เช่น กบิลความ; วิธีการ เช่น กบิลเมือง; กระบวน, หมู่, เช่น กบิลไม้; บรรดา เช่น กบิลว่าน, คํานี้บางทีเขียนเป็น กะบิล กระบิล ระบิล. (เทียบ ฮ. กปิล ว่า ชนิด, จําพวก, ตระกูล).
  31. กรม ๒ : [กฺรม] (แบบ) น. ลําดับ เช่น จะเล่นโดยกรม. (สมุทรโฆษ). [ส.; ข. กฺรุํ (กฺรม) ว่า หมวด, หมู่, กอง; ครอบครัว เช่น มวยกฺรุํ = ครอบครัวหนึ่ง].
  32. กระทรวง ๑ : [-ซวง] น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง. (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา. (ปกีรณําพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา. (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป. (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ ซื่อให้เสื่อมเท็จ. (สุ. สอนเด็ก). (ดู กระซุง).
  33. กาย, กาย- : [กายยะ-] น. ตัว เช่น ไม่มีผ้าพันกาย, และมักใช้เข้าคู่กับคํา ร่าง เป็น ร่างกาย, ใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า หมู่, พวก, เช่น พลกาย = หมู่ทหาร. (ป., ส.).
  34. ขนาน ๑ : [ขะหฺนาน] น. หมู่; ลักษณนามเรียกยาที่ปรุงขึ้น เช่น ยาขนานหนึ่ง ยา ๒ ขนาน.
  35. ขย่ม : [ขะหฺย่ม] ก. ใช้นํ้าหนักตัวกดลง แล้วยกตัวขึ้นแล้วกลับกดลงอีก ซ้ำ ๆ กัน, ห่ม ก็ว่า. (ดู ห่ม๑).
  36. ขยอง ๒ : น. โขยง, พวก, หมู่, ฝูง.
  37. ขันธ์ : น. ตัว, หมู่, กอง, พวก, หมวด, ส่วนหนึ่ง ๆ ของรูปกับนามที่แยก ออกเป็น ๕ กอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเรียกว่า ขันธ์ ๕ หรือ ขันธ์ทั้ง ๕. (ป.; ส. สกนฺธ).
  38. โขยง : [ขะโหฺยง] น. พวก, หมู่, ฝูง. ว. หมดด้วยกัน.
  39. คณ-, คณะ : [คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อ การอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่า ซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะ อักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรอง แต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะแต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
  40. คอแดง : น. ชื่องูลายสาบชนิด Rhabdophis subminiatus ในวงศ์ Colubridae ตัวสีเขียวหรือเทา คอสีแดง ออกหากินเวลากลางวัน มีพิษอ่อน, หมู่ ก็เรียก.
  41. จักรวาล : [-วาน] น. ปริมณฑล; ประชุม, หมู่; เทือกเขาในนิยาย เป็นกําแพง ล้อมรอบโลกและเป็นเขตกั้นแสงสว่างกับความมืด, บริเวณโดยรอบของ โลก, ทั่วโลก. (ส.; ป. จกฺกวาล).
  42. จำพวก : น. พวก, ประเภท, ชนิด, หมู่, เหล่า.
  43. เฉียง ๑ : ว. เฉหรือเบี่ยงจากแนวไปทางใดทางหนึ่ง เช่น เฉียงเหนือ เฉียงใต้ ห่ม สไบเฉียง.
  44. ชาติ ๑, ชาติ ๑ : [ชาด, ชาติ, ชาดติ] น. การเกิด เช่น ชาตินี้ ชาติหน้า; กําเนิด เช่น มีชาติมีสกุล; เหล่ากอ, เทือกเถา, เผ่าพันธุ์, เช่น ชาติเสือ ชาติขี้ข้า; ชนิด, จําพวก, ชั้น, หมู่; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วความหมายคงเดิมหรือหมายถึงพวกหรือหมู่ เช่น คชาชาติ มนุษยชาติ. (ป., ส.).
  45. ชุมนุม : น. กอง, หมู่, พวก. ก. ประชุม, รวมกัน.
  46. ซัด ๒ : ก. สาดโดยแรง เช่น ซัดทราย ซัดปูน, เหวี่ยงไปโดยแรง เช่น ซัดหอก, ทอด เช่น ซัดลูกบาศก์ ซัดเชือกบาศ, อาการที่คลื่นเหวี่ยงตัวไปมา โดยแรง เช่น คลื่นซัดฝั่ง, ป้ายความผิดไปถึงคนอื่น เช่น นายดํา ซัดนายขาว, รําทิ้งแขนออกไปข้างหน้า เช่น ซัดแขน; เบน เช่น พระอาทิตย์ซัดใต้ซัดเหนือ; คําค่อนว่าหมายความว่า ห่ม เช่นว่า ซัดแพรสี.
  47. ท่วย : (กลอน) น. หมู่, เหล่า.
  48. ทวย ๑ : น. หมู่, เหล่า, เช่น ทวยราษฎร์.
  49. ทำนวย ๑ : น. หมู่, เหล่า.
  50. ทีม : น. ชุด, หมู่, คณะ. (อ. team).
  51. [1-50] | 51-86

(0.0761 sec)