ใจความ : น. ส่วนสําคัญของเรื่อง, ตรงข้ามกับ พลความ.
ข้อใหญ่ใจความ : น. เรื่องสําคัญ.
พลความ : [พนละ] น. ข้อความที่ไม่ใช่ส่วนสำคัญของเรื่อง, ตรงข้าม กับ ใจความ.
ข้อ : น. ส่วนที่อยู่ระหว่างปล้องของไม้ไผ่หรืออ้อยเป็นต้น, ส่วนตรงที่ของ ๒ สิ่งมาต่อกัน เช่น ข้อต่อท่อประปา; ตอนหนึ่ง ๆ, ชิ้นหนึ่ง ๆ, ท่อน หนึ่ง ๆ, เช่น อ้อยควั่นเป็นข้อ ๆ เข็มขัดทองเป็นข้อ ๆ; เรียกอวัยวะ บางส่วนที่มีข้อต่อและงอได้ เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้า; เนื้อความ ตอนหนึ่ง ๆ, ใจความสั้น ๆ ของเรื่อง, ข้อความ ก็ว่า, เรื่อง เช่น ข้อพิพาท ข้อยุติ, หัวข้อ เช่น ข้ออ้าง ข้อข้องใจ.
ข้อความ : น. เนื้อความตอนหนึ่ง ๆ, ใจความสั้น ๆ ของเรื่อง.
โดยสังเขป : ว. โดยย่อ, โดยใจความย่อ, เช่น กล่าวโดยสังเขป.
สรุป, สรูป : [สะหฺรุบ, สะหฺรูบ] ก. ย่อเอาเฉพาะใจความสำคัญของเรื่องเป็น ประเด็น ๆ ไป เช่น สรุปข่าว สรุปสถานการณ์, โบราณใช้ว่า สรวป ก็มี. น. ประเด็นย่อ ๆ ของเรื่อง เช่น กล่าวโดยสรุป.
สังกรประโยค : [สังกะระปฺระโหฺยก, สังกอระปฺระโหฺยก] น. ประโยคใหญ่ที่มีประโยค เล็กตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปมารวมกัน โดยมีประโยคหลักที่มีใจความ สำคัญเพียงประโยคเดียว ส่วนประโยคเล็กทำหน้าที่แต่งหรือประกอบ ประโยคหลัก.
สังเขป : น. ใจความย่อ, เค้าความย่อ, เช่น เขียนมาพอเป็นสังเขป. (ป.; ส. สํเกฺษป).
อติ : [อะติ] คํานําหน้าคําที่มาจากบาลีและสันสกฤตให้มีใจความว่า พิเศษ, ยิ่ง, มาก, เลิศล้น; ผ่าน, ล่วง, พ้นเลยไป, เขียนเป็น อดิ ก็มี. (ป., ส.).
อเนกรรถประโยค : [อะเนกัดถะปฺระโหฺยก] น. ประโยคใหญ่ที่มีใจความสำคัญอย่างน้อย ๒ ใจความมารวมกัน และใจความนั้น ๆ จะต้องมีลักษณะเป็นประโยค โดยมีสันธานเป็นบทเชื่อมหรือละสันธานไว้ในฐานที่เข้าใจ.
อมความ : ก. เก็บใจความสําคัญ, ใช้ถ้อยคำน้อยแต่เก็บความสำคัญไว้ ได้มาก; (โบ) จำไว้ในใจ, จำใจความได้.