Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ใช่ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ใช่, 25 found, display 1-25
  1. ใช่ : ว. คํารับรองแสดงว่า เป็นเช่นนั้น, เป็นอย่างนั้น, ถูก, แน่; บางทีก็ใช้เป็นคําปฏิเสธหมายความว่า ไม่ใช่ เช่น ใช่คน ใช่สัตว์ ใช่ว่า.
  2. ขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายาย : (สำ) ถ้าไม่ใช่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ของตน ก็ไม่ควรไว้วางใจใคร, ทํานองเดียวกับภาษิตที่ว่า อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง.
  3. รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม : (สํา) ก. เรียนรู้ไว้ไม่หนักเรี่ยวหนักแรงหรือ เสียหายอะไร.
  4. กริกกริว : [กฺริกกฺริว] ว. ขี้ริ้ว, เลว, เช่น โฉมใช่โฉมคนค้า หน้าใช่หน้ากริกกริว. (ลอ).
  5. กักขัง : ก. บังคับให้อยู่ในสถานที่อันจํากัด, เก็บตัวไว้ในสถานที่ อันจํากัด. (กฎ) น. โทษทางอาญาสถานหนึ่ง ที่ให้กักตัวผู้ต้องโทษ ไว้ในสถานที่ซึ่งกําหนดไว้อันมิใช่เรือนจํา.
  6. -การ ๒ : น. ผู้ทํา, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาสคําบาลีและสันสกฤต เช่น กรรมการ ตุลาการ, ถ้าอยู่หลังคําอื่นที่ไม่ใช่คําศัพท์ มีความหมายเป็นเฉพาะก็มี เช่น กงการ เจ้าการ นักการ ผู้บังคับการ ผู้กำกับการ.
  7. เกราะ ๔ : [เกฺราะ] ก. พูดเลียบเคียง เช่น อย่าคําเพราะเกราะกล่าวเจรจา. (รามเกียรติ์ ร. ๑), ใช้ว่า เกลาะ ก็มี เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะ ให้เพราะพริ้ง. (อิเหนา).
  8. เกลาะ : [เกฺลาะ] ก. พูดเลียบเคียง เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะให้เพราะพริ้ง. (อิเหนา), ใช้ว่า เกราะ ก็มี เช่น อย่าคําเพราะเกราะกล่าวเจรจา. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  9. คลับคล้าย, คลับคล้ายคลับคลา : [คฺลับคฺล้าย, -คฺลับคฺลา] ก. จำได้แต่ไม่แน่ใจ, จำได้อย่างเลือนลาง, ไม่แน่ใจว่าใช่, เช่น คลับคล้ายว่าเป็นคนคนเดียวกัน, ฉันคลับคล้าย คลับคลาว่าจะเคยพบเขามาก่อน.
  10. จร ๑, จร- : [จอน, จอระ-, จะระ-] ว. ไม่ใช่ประจํา เช่น คนจร รถจร, แทรกแปลกเข้ามา เช่น โรคจร ลมจร. ก. ไป, เที่ยวไป; ประพฤติ. (ป., ส.), ใช้เป็นบทท้าย สมาสก็มี เช่น ขจร = เที่ยวไปในอากาศ, วนจร = เที่ยวไปในป่า, ที่ใช้ควบ กับคําไทยก็มี.
  11. โฉม ๑ : น. รูปร่าง, ทรวดทรง, เค้า, เช่น เนื้อชาววังใช้ช้า โฉมใช่โฉมคนค้า หน้าใช่หน้า กริกกริว. (ลอ). ว. งาม.
  12. ตระกัด : [ตฺระ-] (โบ) ก. ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น พ่อเอ๋ย ใช่ตั้งใจแก่ความกําหนัด ใน ความตระกัดกรีธา. (ม. คําหลวง กุมาร), กระกัด ก็ว่า.
  13. ทำบุญ : ก. ประกอบกรรมดี มีการเลี้ยงพระ ตักบาตร ถวายจตุปัจจัย แก่พระสงฆ์ เป็นต้น, ทําบุญทํากุศล ก็ว่า. ทำบุญเอาหน้า (สํา) ก. ทําบุญเพื่ออวดผู้อื่น ไม่ใช่ทําด้วยใจบริสุทธิ์, มักพูดเข้าคู่กับ ภาวนากันตาย.
  14. ที่ไหนได้ : (ปาก) ว. อะไรได้, หาใช่เช่นนั้นไม่, คําใช้แสดงความ ประหลาดใจ ไม่พอใจ ปฏิเสธ หรือแย้ง เป็นต้น เช่น ก พูดว่า หนังสือเล่มนี้ราคาถึง ๑๐ บาทไหม ข ตอบว่า ที่ไหนได้ ตั้ง ๕๐ บาท.
  15. ธรรมวัตร : น. ลักษณะเทศน์ทํานองธรรมดาอย่างหนึ่งที่แสดงอยู่ทั่วไป ไม่ใช่ทํานองแบบเทศน์มหาชาติ.
  16. นอกเหนือ : ว. ยิ่งกว่านี้, มากกว่านี้, ใช่แต่เท่านี้.
  17. นั่นแหละ : [แหฺละ] คําแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น นั่นแหละ ใช่แล้ว คุณนั่นแหละ. นั่นเอง คําประกอบคําอื่นแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เขานั่นเอง.
  18. ป่าเส็งเคร็ง : น. ป่าไม้เล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งไม่ใช่ป่าสําคัญ.
  19. เปลือง : [เปฺลือง] ก. ใช้หมดไปสิ้นไปเกินควร, หมดไป สิ้นไปโดยใช่เหตุ, เช่น เปลืองเงิน เปลืองเวลา เปลืองที่. ว. ลักษณะที่หมดไปสิ้นไป เกินควร เช่น ใช้เงินเปลือง.
  20. ภรรดร, ภรรดา : [พันดอน, พันดา] น. ผัว เช่น ปัญหามีแต่จักหา ภรรดาสมศักดิ์สมศรี หาได้ใช่ง่ายชายดี สมกับเทวีลูกเรา. (กนกนคร), ใช้ว่า ภัสดา ก็ได้, โบราณใช้ว่า ภรัสดาษ ก็มี. (ส. ภรฺตฺฤ; ป. ภตฺตา).
  21. ร้า ๓ : (กลอน) ก. รา, วางมือ, เช่น ใช่จักร้าโดยง่าย. (นิทราชาคริต).
  22. ลอง ๒ : ก. กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้รู้ว่าเป็นอย่างไร เช่น ลองชิม ผลไม้ว่าจะมีรสชาติอย่างไร, กระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้รู้ว่า เป็นอะไรหรือใช่หรือไม่ เช่น ลองชิมก้อนขาว ๆ ว่าเป็นเกลือหรือ น้ำตาล; ทดสอบความสามารถหรือคุณภาพว่าพอดีหรือเหมาะสม หรือไม่ เช่น ลองเสื้อ ลองแว่น ลองรองเท้า ลองกำลัง ลองรถ; หยั่ง ท่าที เช่น ลองชวนเขาไปเที่ยวซิ ลองเกี้ยวเขาดู.
  23. สัพเพเหระ : (ปาก) ว. ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, ไม่ใช่สิ่งสําคัญ, เช่น ของสัพเพเหระ เรื่องสัพเพเหระไม่มีประโยชน์.
  24. หาไม่ ๒, หา...ไม่ : ว. ใช้ในความปฏิเสธ นิยมใช้คร่อมกับคำนามหรือคำ กริยา เช่น หาใช่คนไม่ = ไม่ใช่คน หาพบไม่ = ไม่พบ.
  25. เอามือซุกหีบ : (สํา) ก. หาเรื่องเดือดร้อนหรือความลําบากใส่ตัว โดยใช่ที่.
  26. [1-25]

(0.0122 sec)