Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ให้การ , then หการ, ให้การ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ให้การ, 34 found, display 1-34
  1. ให้การ : (กฎ) ก. ให้ถ้อยคําเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นมา เช่น จําเลยให้การต่อศาล.
  2. โยง ๑ : ก. ผูกให้ติดกันเพื่อลากหรือจูงไป เช่น โยงเรือ, เกี่ยวเนื่อง เช่น ให้การ โยงไปถึงอีกคนหนึ่ง. ว. เรียกอาการที่มัดมือ ๒ ข้างแขวนขึ้นไปให้เท้า พ้นพื้นหรือเรี่ย ๆ พื้นว่า มัดมือโยง, เรียกอาการที่อยู่ประจําแต่ผู้เดียว ผู้อื่นไม่ต้องอยู่ว่า อยู่โยง, เรียกเรือสําหรับลากจูงเรืออื่นว่า เรือโยง และ เรียกเรือที่ถูกลากจูงไปนั้นว่า เรือพ่วง.
  3. ให้ถ้อยคำ : (กฎ) ดู ให้การ. ให้ท่า ก. พูดหรือแสดงกิริยาให้รู้ว่ายินดีติดต่อด้วยหรือไม่รังเกียจ(ใช้แก่ผู้หญิง).
  4. กล, กล- : [กน, กนละ-] น. การลวงหรือล่อลวงให้หลงหรือให้เข้าใจผิด เพื่อให้ฉงนหรือเสียเปรียบ เช่น เล่ห์กล, เล่ห์เหลี่ยม เช่น กลโกง; เรียกการเล่นที่ลวงตาให้เห็นเป็นจริงว่า เล่นกล; เครื่องกลไก, เครื่องจักร, เครื่องยนต์, เช่น ช่างกล. ว. เช่น, อย่าง, เหมือน, เช่น เหตุผลกลใด; เคลือบแฝง เช่น ถ้าจําเลยให้การเป็นกลความ. (กฎหมาย).
  5. แก้ฟ้อง : (กฎ) ก. แก้ไขคำฟ้องตามที่ศาลสั่งในกรณีที่ คำฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย; ยื่นคำให้การเป็นข้อ ต่อสู้คดีเพื่อแก้คำฟ้อง.
  6. คล้องจอง : ก. สัมผัสกัน, มีเสียงสระเดียวกันหรือถ้ามีตัวสะกดก็ต้อง อยู่ในมาตราเดียวกัน เช่น มี-ปี จันทร์-ฉัน การ-บาน; ไม่ขัดกัน เช่น พยานให้การคล้องจองกัน.
  7. คำฟ้องแย้ง : (กฎ) น. คําฟ้องที่จําเลยฟ้องโจทก์มาในคําให้การในเรื่อง ที่เกี่ยวกับคําฟ้องเดิมของโจทก์, ฟ้องแย้ง ก็ว่า เช่น ยกฟ้องแย้ง.
  8. เจือสม : ก. มีความสอดคล้องหรือสนับสนุนให้น่าเชื่อ เช่น คำให้การของพยาน โจทก์กับพยานจำเลยเจือสมกัน.
  9. ชักใบให้เรือเสีย : (สํา) ก. พูดหรือทําขวาง ๆ ให้การสนทนา หรือการงานเขวออกนอกเรื่องไป.
  10. ซ้อมพยาน : ก. ซักซ้อมพยานว่าจะให้การต่อศาลอย่างใด จึงจะสอดคล้องต้องกันดี.
  11. ซัดทอด : ก. อ้างถึง, บ่งถึง; (กฎ) ให้การปรักปรําพาดพิงถึงบุคคลอื่น.
  12. ถามปากคำ : (กฎ) ก. ซักถามเพื่อให้บุคคลให้การ โดยพนักงาน สอบสวนหรือพนักงานอัยการ เช่น ถามปากคําพยาน ถามปากคํา ผู้ต้องหา, (ปาก) สอบปากคํา.
  13. นิรโทษกรรม : [นิระโทดสะกํา] (กฎ) น. ตามกฎหมายแพ่ง หมายถึง การกระทําที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่า ไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เช่น การกระทำการป้องกันโดยชอบ ด้วยกฎหมาย การกระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย; ตามกฎหมาย อาญา หมายถึง การลบล้างการกระทําความผิดอาญาที่บุคคลได้กระทํา มาแล้ว โดยมีกฎหมายที่ออกภายหลังการกระทำผิดกำหนดให้การ กระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทําการนั้นพ้นจากการ เป็นผู้กระทำความผิด.
  14. แนวร่วม : น. ประชาชนที่มีแนวความคิดคล้อยตามและให้การสนับสนุน แก่พวกที่มีความคิดเห็นในแนวเดียวกัน.
  15. ประจักษ์พยาน : (กฎ) น. พยานบุคคลที่เป็นผู้ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบ ข้อความเกี่ยวในเรื่องที่ให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง.
  16. ปรักปรำ : [ปฺรักปฺรํา] ก. กล่าวโทษหรือให้การใส่ร้ายเกินความเป็นจริง.
  17. ปากคำ : น. คําให้การ เช่น ให้ปากคำแก่เจ้าหน้าที่สอบปากคำจำเลย.
  18. เปะปะ : ว. ไม่ตรงเป้า เช่น ชกเปะปะ, ไม่ตรงประเด็น เช่น พูดเปะปะ ให้การเปะปะ, ไม่ตรงทาง เช่น เมาเหล้าเดินเปะปะ, ไม่เป็นระเบียบ เช่น นอนมือเท้าเปะปะ, บางทีใช้ว่า สะเปะสะปะ.
  19. ผู้จัดการมรดก : (กฎ) น. บุคคลที่ตั้งขึ้นโดยพินัยกรรมหรือโดย คำสั่งศาลให้มีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็น เพื่อให้การ เป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และ เพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป หรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก.
  20. ผู้อุปการะ : (กฎ) น. ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หมายความถึง (๑) ผู้ที่ได้อุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาผู้ตายมาแต่เยาว์ ฉันบิดามารดากับบุตร หรือ (๒) ผู้ที่ได้อุปการะข้าราชการประจำหรือ ข้าราชการบำนาญผู้มีรายได้ไม่เพียงพอแก่อัตภาพ หรือได้อุปการะ ข้าราชการบำนาญผู้ซึ่งป่วยเจ็บทุพพลภาพหรือวิกลจริตไม่สามารถ ที่จะช่วยตัวเองได้ ผู้อุปการะตามข้อนี้ต้องเป็นผู้ให้อุปการะประจำ เป็นส่วนใหญ่.
  21. พยาน : [พะยาน] น. หลักฐานเครื่องพิสูจน์ข้อเท็จจริง, ผู้ที่รู้เห็นเหตุการณ์ หรือข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นหลักฐานเครื่องพิสูจน์ได้; (กฎ) บุคคลซึ่ง ให้การในเรื่องหรือสิ่งที่ตนได้เห็นได้ยิน หรือได้รับรู้มาโดยวิธีอื่น. (อ. witness).
  22. พยานบอกเล่า : (กฎ) น. พยานบุคคลซึ่งให้การโดยตนมิได้เห็น ได้ยิน หรือรู้เรื่องมาด้วยตนเอง แต่ได้ยินหรือได้ฟังจากผู้อื่น. (อ. hearsay evidence).
  23. พาดพิง : ก. เกี่ยวโยงไปถึง เช่น ให้การพาดพิงถึงผู้อื่น.
  24. ฟ้องแย้ง : (กฎ) ก. การที่จําเลยฟ้องโจทก์มาในคําให้การในเรื่องที่ เกี่ยวกับคําฟ้องเดิมของโจทก์. น. คําฟ้องแย้ง.
  25. ฟังได้ : ว. พอเชื่อถือได้ เช่น ที่พยานให้การมานั้นฟังได้, ไม่ขัดหู เช่น เพลงไพเราะพอฟังได้.
  26. ภาคเสธ : [พากเสด] ก. แบ่งรับแบ่งสู้ เช่น ให้การภาคเสธ คือ ให้การรับบ้าง ปฏิเสธบ้าง.
  27. มหาวิทยาลัย : [มะหาวิดทะยาไล] น. สถาบันอุดมศึกษาที่มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลายสาขาวิชา หรือหลายกลุ่มสาขาวิชา เพื่อให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา ปริญญา และประกาศนียบัตรบัณฑิตแก่ ผู้สําเร็จการศึกษา รวมทั้งดําเนินการวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ.
  28. ยอกย้อน : ก. ซับซ้อนซ่อนเงื่อน เช่น ทำกลอุบายยอกย้อน, กลับไปกลับมาอย่างมี เงื่อนงำ เช่น พยานให้การยอกย้อน, ยุ่งยากซับซ้อนสะสางยาก เช่น คดี ยอกย้อน. ว. ย้อนให้เจ็บอกเจ็บใจ เช่น พูดจายอกย้อน, ย้อนยอก ก็ว่า.
  29. วกวน : ก. ลดเลี้ยวไปมา, คดไปคดมา, เช่น ทางเข้าออกวกวน, อ้อมไปอ้อมมา, ย้อนไปย้อนมา, เช่น ให้การวกวน เขียนหนังสือ วกวนอ่านไม่เข้าใจ.
  30. วัวพันหลัก : (สํา) ว. อาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่ เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่ สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อ นั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใด คนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคน นั้นเป็นสามี.
  31. ส่งเสีย : ก. ให้การอุดหนุน, เกื้อกูล, เช่น ส่งเสียลูกเรียนหนังสือ.
  32. สอบปากคำ : ก. ซักถามเพื่อให้บุคคลให้การโดยพนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการ เช่น สอบปากคําพยาน สอบปากคําผู้ต้องหา, กฎหมายใช้ว่า ถามปากคํา.
  33. หย่า : ก. เลิกเป็นผัวเมียกัน; (กฎ) ทําให้การสมรสสิ้นสุดลงโดยความยินยอม ของคู่สมรสทั้ง ๒ ฝ่ายหรือโดยคําพิพากษาของศาล; เลิก เช่น หย่านม หย่าศึก.
  34. อ้าย ๒ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้ เช่น อ้ายหนุ่ม อ้ายด่าง, คําประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีฐานะตํ่ากว่า อย่างนายเรียกคนใช้, คําประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูงแสดงว่ามี ความสนิทสนมมาก มักใช้กันในหมู่เด็กผู้ชาย, คําใช้ประกอบ หน้าชื่อผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบคํา บางคําที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามาก ด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อ้ายหนู อ้าย น้องชาย, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น อ้ายเราก็ไม่ดี อ้ายจะไปก็ไม่มีที่จะไป อ้ายจะอยู่หรือก็คับใจ, คำประกอบ หน้าชื่อสัตว์บางชนิดโดยไม่เน้นเพศ เช่น อ้ายเหลือม อ้ายทุย, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้นในเชิงบริภาษ เช่น อ้ายทึ่ม อ้ายโง่ อ้ายควาย, คําใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น อ้ายนั่น อ้ายนี่, เขียนเป็น ไอ้ ก็มี, (โบ) คํานําหน้าชื่อผู้ชาย มักใช้ในทางไม่ดี เช่น อ้ายดีผู้ร้ายรับเปนสัจให้การซัดพวก เพื่อนถึงอ้ายเชด อ้ายแสน อ้ายคง อ้ายมั้น. (สามดวง).
  35. [1-34]

(0.0646 sec)