ไกล่ : [ไกฺล่] ก. ทา, ไล้.
ไกล่เกลี่ย : ก. พูดจาให้ปรองดองกัน, พูดจาให้ตกลงกัน; ลูบไล้; ทําให้เรียบร้อย, ทําให้มีส่วนเสมอกัน, เกลี่ยไกล่ ก็ว่า.
เกลี่ยไกล่ : ก. พูดจาให้ตกลงกัน, พูดให้ปรองดองกัน; ทําให้เรียบร้อย, ทําให้มีส่วนเสมอกัน, ไกล่เกลี่ย ก็ว่า.
กล, กล- : [กน, กนละ-] น. การลวงหรือล่อลวงให้หลงหรือให้เข้าใจผิด เพื่อให้ฉงนหรือเสียเปรียบ เช่น เล่ห์กล, เล่ห์เหลี่ยม เช่น กลโกง; เรียกการเล่นที่ลวงตาให้เห็นเป็นจริงว่า เล่นกล; เครื่องกลไก, เครื่องจักร, เครื่องยนต์, เช่น ช่างกล. ว. เช่น, อย่าง, เหมือน, เช่น เหตุผลกลใด; เคลือบแฝง เช่น ถ้าจําเลยให้การเป็นกลความ. (กฎหมาย).
คนกลาง : น. ผู้ถือเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายโน้นฝ่ายนี้ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น, ผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ย, ผู้ทําการค้าระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค.
ปรองดอง : [ปฺรอง-] ก. ออมชอม, ประนีประนอม, ยอมกัน, ไม่แก่งแย่งกัน, ตกลงกันด้วยความไกล่เกลี่ย, ตกลงกันด้วยไมตรีจิต.
เปรียบเทียบ : ก. พิจารณาเทียบเคียงให้เห็นลักษณะที่เหมือนกันและ ต่างกัน. (กฎ) น. การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม กฎหมายกําหนดค่าปรับผู้กระทําผิดในคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนด ให้เปรียบเทียบปรับได้ เมื่อผู้กระทําผิดยินยอมเสียค่าปรับแล้ว คดีอาญา เป็นอันเลิกกัน; การที่นายอําเภอเรียกผู้ถูกร้องมาไกล่เกลี่ยให้เลิกแล้ว ต่อกันในคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ซึ่งมูล คดีเกิดในอําเภอนั้น หรือผู้ถูกร้องมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอนั้น ตาม กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่.
รอมชอม : ก. ปรองดองกัน, ประนีประนอมกัน, ตกลงกันด้วยการไกล่เกลี่ย, ลอมชอม หรือ ออมชอม ก็ว่า.
ลอมชอม : ก. ปรองดองกัน, ประนีประนอมกัน, ตกลงกันด้วยการไกล่เกลี่ย, รอมชอม หรือ ออมชอม ก็ว่า.
ออมชอม : ก. ปรองดองกัน, ประนีประนอมกัน, ตกลงกันด้วยการไกล่เกลี่ย, รอมชอม หรือ ลอมชอม ก็ว่า.
กลฉ้อฉล : [กน-] (กฎ) น. การใช้อุบายหลอกลวงด้วยการแสดง ข้อความอันเป็นเท็จ หรือการจงใจปิดบังซ่อนเร้นข้อความจริงเพื่อให้ ผู้อื่นหลงผิดแสดงเจตนาทำนิติกรรม การแสดงเจตนาเพราะถูก กลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ. (อ. fraud).
กลบท : [กนละบด] น. คําประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้คําหรือสัมผัส เป็นชั้นเชิงยิ่งกว่าธรรมดา เช่น อมรแมนแม่นแม้นเจ้างามโฉม. (กลบทตรีประดับ).
กลไฟ : [กน-] น. เรียกเรือโดยสารหรือบรรทุกสินค้าที่ใช้ฟืนเป็นต้น เป็นเชื้อเพลิง มีขนาดใหญ่กว่าเรือไฟ นิยมใช้แล่นในท้องทะเลหรือ มหาสมุทร ว่า เรือกลไฟ.
กลละ : [กะละละ] (แบบ) น. รูปเริ่มแรกที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา เช่น ผู้หญิงอันมีครรภ์ด้วยชลามพุชโยนิ เมื่อแรกก่อเป็นนั้น น้อยนักหนา เรียกชื่อว่า กลละหัวปีมีเท่านี้. (ไตรภูมิ). (ป., ส.).
กลอักษร : [กน-, กนละ-] น. ชื่อเพลงยาวกลบทที่ซ่อนเงื่อนไว้ให้ อ่านฉงน ตัวอย่างว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตก กระไรเลยระกําใจ จะจากไกลไม่เคย ให้อ่านว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตกโอ้อกเอ๋ย กระไรเลยระกำใจกระไรเลย จะจากไกลไม่เคยจะจากไกล. (กลอักษรงูกลืนหาง). (จารึกวัดโพธิ์).
กลพยาน : [กน-] น. พยานที่ถูกวานให้ไปถามเป็นคํานับ. (สามดวง).
กลอกแกลก : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ว. เหลวไหล, ไม่แน่นอน.
กลี่ : [กฺลี่] น. ภาชนะสําหรับใส่หมากบุหรี่ โดยมากมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีลิ้นข้างใน ยกออกได้.
กลู่ : [กฺลู่] (โบ; กลอน) ก. เกลื่อน, ใช้เข้าคู่กับคํา กลาด เช่น โกยกลู่กลาดคือลาญใน. (ม. คําหลวง จุลพน).
กะโล่ : น. ภาชนะสานของโบราณ ทารัก รูปแป้น ปากคลุ่ม ใช้ใส่ของมีเครื่องตัดผมเป็นต้น; ภาชนะสานคล้ายกระด้ง มีหลายขนาด แต่ชนิดที่ทาชันเพื่อไม่ให้น้ารั่วออก สําหรับหมักขี้ไต้นั้น มีขนาดใหญ่กว่ากระด้งมาก; เรียกสีหน้าที่แสดงความดีใจหรือภาคภูมิใจมากว่า หน้าบานเป็นกะโล่; ชื่อหมวกกันแดดชนิดหนึ่ง ทรงคลุ่ม มีปีกแข็งโดยรอบ โครงทําด้วยไม้ฉําฉาหรือไม้ก๊อกเป็นต้น แล้วหุ้มผ้าหรือทําด้วยใบลาน เรียกว่า หมวกกะโล่. (รูปภาพ กะโล่)
แกล่ : [แกฺล่] (โบ) ว. ใกล้, เกือบ, เช่น สามลักษณะนี้ใกล้ แกล่แม้นไป่มี. (โลกนิติ).
ชอบมาพากล : ว. ชอบกล, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ชอบมาพากล.
รังปืนกล : น. ที่ซุ่มกำบังดักยิงข้าศึกทำเป็นมูนดินหรือทำด้วยกระสอบ ทรายเป็นต้น มีช่องสำหรับสอดปืนกลออกไป.
กุญแจกล : น. กุญแจที่เปิดโดยใช้รหัส.
เกียจกล : ก. ซ่อนกล.
ปืนกล : น. ปืนที่มีกลไกยิงได้เร็วมาก.
ไม่ชอบมาพากล : ว. ไม่น่าไว้วางใจ, ไม่เข้าที.
เรือกลไฟ : น. เรือโดยสารหรือบรรทุกสินค้าที่ใช้ฟืนเป็นต้นเป็นเชื้อเพลิง มีขนาดใหญ่กว่าเรือไฟ นิยมใช้แล่นในทะเลหรือมหาสมุทร.
เล่ห์กล : น. การลวงหรือล่อลวงให้หลงผิดหรือเพื่อให้เข้าใจผิด.
เล่ห์กล ก็มี. : ว. คล้าย, เปรียบ, เช่น, เหมือน.
เล่ห์กล, เล่ห์เหลี่ยม : น. ชั้นเชิง, อุบาย.
กิโลลิตร : น. ชื่อมาตราตวง เท่ากับ ๑,๐๐๐ ลิตร หรือ ๑ ลูกบาศก์เมตร, อักษรย่อว่า กล. (ฝ. kilolitre).
ประเล่ห์ : ว. ประหนึ่ง, ประดุจ, เช่น, กล. (ส. ปฺรเหลิ).
ประเหล : [ปฺระเหน] ว. ประหนึ่ง, ประดุจ, มักใช้เลือนเป็น ประเล่ห์. (ส. ปฺรเหลิ ว่า ปริศนา, กล).
กบเต้นกลางสระบัว : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า หมายชิดมิตรเชือนไม่เหมือนหมาย.
กบเต้นต่อยหอย : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า คิดยิ่งแสนแค้น ยิ่งศรเสียบทรวงหมอง.
กบเต้นสลักเพชร : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า เจ็บเรียมห่าง จางรักให้ใจเรียมหวน.
กบเต้นสามตอน : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า เจ็บคําจําคิดจิตขวย.
กร ๒ : [กอน] น. มือ (มักใช้ในบทประพันธ์); แขน เช่น เจ้างามกรอ่อน ดังงวงเอราวัณ. (กลบท). (ป., ส.).
กรรชิด : [กัน-] (โบ; กลอน) ก. กระชิด เช่น สองกรกลเกียดเกี้ยว กรรชิด. (ลอ).
กระจายนะมณฑล : (โบ) น. ชื่อกลบทวรรคต้นใช้อักษรสูงนําหน้า วรรคที่ ๒ ใช้อักษรกลาง วรรคที่ ๓ ใช้อักษรต่า ตัวอย่างว่า สมเด็จพระศิริวิบุลกิตติ์ กําจัดจากโศกวิโยคหา ค่อยตรึกตรองฉลองคุณพระชนมา. (ชุมนุมตํารากลอน).
กระเช้าสวรรค์ : น. อุปกรณ์เพื่อความเพลิดเพลินชนิดหนึ่ง มักมีตามสวนสนุกและในงานเทศกาลต่าง ๆ ประกอบด้วยล้อโลหะ ขนาดใหญ่คู่ขนานกัน หมุนด้วยแรงกลในแนวตั้งรอบแกนที่ติดอยู่ กับที่ มีที่นั่งในกระเช้าโลหะซึ่งห้อยติดอยู่เป็นช่วงระหว่างโครง ของล้อทั้ง ๒, ชิงช้าสวรรค์ ก็ว่า.
กระแตไต่ไม้ ๑ : น. ชื่อกลบท ตัวอย่างว่า หมายหมองมาดสวาท น้องมาดหมองหมาย; ชื่อเพลง เดิมเป็นของชาวเหนือพวกกะเหรี่ยง บัดนี้ใช้เป็นเพลงโหมโรงหรือเพลงเสภา ทําตอนรื่นเริง.
กระทวย : น. ทวย คือ ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทำเป็นรูปนาค เช่น กระทวยธวัชกลงวง คชินทรจ้วงจับลม. (เพชรมงกุฎ).
กระย่อน : ก. ขย้อน คือ อาการขยับขึ้นขยับลง, กระหย่อน ก็ใช้; ยวบยาบ, แกว่ง เช่น ลมไกวกิ่งกลฟ้อนก็กระย่อนอยู่ยานโยน. (สมุทรโฆษ); ขยับ เช่น ยกค้อนกระย่อนดูบริพาร. (สมุทรโฆษ).
กระเหน็จ : (โบ) น. วิธี, อย่าง, อุบาย, เช่น กลกระเหน็จต่าง ๆ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
กระเหน็จกระแหน่ : (โบ) น. เชิงชั้น, เล่ห์กล, เช่น กระเหน็จกระแหน่รณรงค์. (สมุทรโฆษ).
กระแหน่ : (โบ; กลอน) น. เล่ห์กล, แง่งอน, ท่วงที, เช่น ข้ากระไดกระแหน่ แต่งแง่แผ่ตนท่า. (ลอ).
กระอึก : (กลอน) ก. อึกทึก, อึง, เช่น ตระคอกคึกกระอึกอึง. (กลบท ๒; ม. คําหลวง จุลพน).