ไก่ : น. ชื่อสัตว์ปีกจําพวกนก มีหลายวงศ์ บินได้ในระยะสั้น หากินตามพื้นดิน ตกไข่ก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว ตัวผู้ หงอนใหญ่และเดือยยาว เช่น ไก่แจ้ ไก่อู ไก่ตะเภา.
ไก่กอและ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยไก่ที่ถอดกระดูก ชุบเครื่องปรุงรส ปิ้งให้สุก.
ไก่แก้ว : น. ชื่อไก่ชนิดหนึ่ง เช่น ไก่แก้วขันไจ้ไจ้. (ลอ).
ไก่ต่อ : น. ไก่ตัวเมียที่เลี้ยงไว้เพื่อนำไปต่อไก่ป่า.
ไก่บ้าน : น. ชื่อไก่ชนิด Gallus gallus ในวงศ์ Phasianidae เป็นไก่ที่มีสายพันธุ์มาจากไก่ป่า แตกต่างจากไก่ป่าที่ขนลำตัวมี สีต่าง ๆ กัน เช่น สีดำ ขาว น้ำตาลอมแดง มีแข้งสีแตกต่างกัน เช่น สีเหลือง ขาว โดยที่ไก่ป่ามีสีเทาเข้ม การคัดและผสมพันธุ์ทำให้มี สายพันธุ์แตกต่างกันมาก เลี้ยงไว้ตามบ้านเพื่อเป็นอาหาร.
ไก่แก่แม่ปลาช่อน : (สํา) น. หญิงค่อนข้างมีอายุที่มีมารยา และเล่ห์เหลี่ยมมาก และมีกิริยาจัดจ้าน.
ไก่เขี่ย : ว. หวัด, ยุ่งจนเกือบอ่านไม่ออก, (มักใช้แก่ลายมือ).
ไก่เตี้ย : น. ชื่อไม้เถาชนิด Canavalia maritima (Aubl.) Thouars ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามหาดทรายชายทะเล ดอกสีชมพู ขาว หรือม่วง, กําพร้า หรือ ถั่วคร้า ก็เรียก.
ไก่เถื่อน : น. ไก่ป่า.
ไก่บินไม่ตกดิน : (สำ) น. บริเวณที่มีอาคารบ้านเรือนหนาแน่นแออัด.
ไก่รองบ่อน : (สํา) น. ผู้ที่อยู่ในฐานะตัวสํารอง ซึ่งจะเรียกมาใช้เมื่อไรก็ได้.
ไก่สามอย่าง : น. เครื่องกินแกล้มเหล้า มีกุ้งแห้ง ถั่วลิสง และตะไคร้ เป็นหลัก อาจเพิ่ม ขิง หัวหอม หรือพริกขี้หนูเข้าด้วยก็ได้.
ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ : (สํา) ว. ต่างฝ่ายต่างรู้ความลับ ของกันและกัน.
ไก่อ่อน, ไก่อ่อนสอนขัน : (สํา) น. ผู้มีประสบการณ์น้อยยัง ไม่รู้ทันเล่ห์เหลี่ยมของคน.
ไข่ไก่ : ว. มีสีเหลืองอมแดงน้อย ๆ ดังเปลือกไข่ไก่ เรียกว่า สีไข่ไก่.
เดือยไก่ ๑ : น. โรคริดสีดวงทวารชนิดหนึ่งที่งอกออกมาคล้ายเดือยไก่.
เดือยไก่ ๒ : น. ชื่อพริกพันธุ์หนึ่งของชนิด Capsicum annuum L. ผลคล้ายเดือยไก่ แก่ แล้วสีเหลือง, พริกเหลือง ก็เรียก.
ประคำไก่ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Drypetes roxburghii Wall. ในวงศ์ Euphorbiaceae ลําต้นและกิ่งก้านสีขาวนวล ใบหนาเป็นมัน ผลกลมรีสีขาวอมเทา ใช้ทํายาได้, มะคําไก่ ก็เรียก.
มะคำไก่ : ดู ประคําไก่.
หงอนไก่ : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Celosia argentea L. var. cristata Kuntze ในวงศ์ Amaranthaceae ดอกสีแดงลักษณะคล้ายหงอนไก่. (๒) ชื่อไม้ต้นชนิด Heritiera littoralis Ait. ในวงศ์ Sterculiaceae ผลเป็นสัน. (๓) ชื่อไม้พุ่ม รอเลื้อยชนิด Cnestis palala Merr. ในวงศ์ Connaraceae ดอกสีแดง ลักษณะคล้ายหงอนไก่, หงอนไก่ป่า ก็เรียก.
หนังไก่ : น. ชื่อแพรหรือกระดาษพิมพ์ที่มีเนื้อย่นคล้ายหนังไก่.
หางกะลวยไก่ : น. ต้นไม้ชนิดหนึ่งมีดอกเหมือนหางกะลวยไก่. (พจน. ๒๔๙๓).
กระดูกไก่ดำ : น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล Justicia วงศ์ Acanthaceae ชนิด J. gendarussa Burm.f. ใบยาวรี ออกตรงข้ามกัน ลําต้น กิ่ง ก้านใบ และเส้นกลางใบสีม่วงดํา ใช้ทํายาได้, กระดูกดําเฉียงพร้ามอญ หรือ สันพร้ามอญ ก็เรียก; และชนิด J. grossa C.B. Clarke ดอกสีขาว อมเขียว ฝักยาว เปลือกแข็งและมีขน ผลแก่แตกตามยาว.
เกี้ยวคอไก่ : น. วิธีนุ่งผ้าเอาชายพกรัดอีกชายหนึ่งไว้ แล้วเหน็บให้แน่น.
งงเป็นไก่ตาแตก : (สำ) ก. งงมากจนทำอะไรไม่ถูก.
ดูกไก่ดำ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Prismatomeris malayana Ridl. ในวงศ์ Rubiaceae สูง ได้ถึง ๓ เมตร ใบรี ออกตรงข้ามกัน ปลายและโคนใบแหลม ดอกสีขาว กลิ่นหอม.
ปล่อยไก่ : (ปาก) ก. แสดงความโง่ออกมา.
ปีกไก่ : ดู เนื้ออ่อน.
เป็ดขันประชันไก่ : (สํา) น. ผู้ที่มีความรู้ความสามารถน้อยแต่อวด แสดงแข่งกับผู้ที่มีความรู้ความสามารถสูง.
พออ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ : (สํา) รู้ทันกัน, พอแย้มปากก็เห็นไรฟัน ก็ว่า.
ไม่ใช่ขี้ไก่ : (สํา) ว. ไม่เลว, มีอะไรดีเหมือนกัน ดูหมิ่นไม่ได้.
รั้วไก่ : น. แผงราชวัติที่เป็นตาสี่เหลี่ยมสําหรับกันโรงพิธี, รั้วก่าย ก็ว่า.
ลิ้นไก่ : น. ติ่งบนเพดานอ่อนที่ยื่นลงมาในช่องปาก.
ลิ้นไก่สั้น : ว. อาการที่พูดอ้อแอ้หรือพูดไม่ชัดอย่างคนเมาเหล้าเป็นต้น.
ลูกขนไก่ : (ปาก) น. ลูกแบดมินตัน.
หมาหยอกไก่ : (สํา) น. เรียกอาการที่ชายหยอกล้อหญิงในทำนองชู้สาว เป็นทีเล่นทีจริง.
หมูไปไก่มา : (สํา) ลักษณะของการถ้อยทีถ้อยอาศัยกันด้วยการให้สิ่งของ แลกเปลี่ยนหรือตอบแทนซึ่งกันและกันเป็นต้น.
เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ : (สํา) ว. หยิบหย่ง, ทําอะไรไม่จริงจัง, ไม่เอาการเอางาน.
โหราเดือยไก่ : น. ชื่อเรียกรากแห้งของพืชหลายชนิดในสกุล Aconitum วงศ์ Ranunculaceae เช่น ชนิด A. fischeri Rchb., A. carmichaeli Debx., A. chasmanthum Stapf มีพิษร้ายแรง ใช้ทํายาได้.
กลี : [กะลี] น. สิ่งร้าย, โทษ; เรียกโรคห่าที่เป็นแก่สัตว์เลี้ยงเช่นเป็ด ไก่ วัว ควาย; ด้านของลูกสกาที่มีแต้มเดียว คือมีแต่ทางแพ้; ชื่อผีร้ายหรือผีการพนันตามคติของพราหมณ์. ว. ร้าย, ไม่เป็นมงคล, มักใช้ว่า กาลี. (ป., ส. กลิ).
ขัน ๓ : ก. อาการร้องอย่างหนึ่งของไก่หรือนกบางชนิด เฉพาะในตัวผู้ เช่น ไก่ ไก่ฟ้า นกเขา ใช้เป็นสัญญาณติดต่อสื่อสารในสัตว์ประเภทเดียวกัน จะร้องมากในระหว่างฤดูผสมพันธุ์ หรือในเวลาจำเพาะเช่นเช้าตรู่.
คำพ้องรูป : น. คำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ) กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู.
ตัวจี๊ด : น. ชื่อพยาธิชนิด Gnathostoma spinigerum ในวงศ์ Gnathostomatidae ลําตัวสีแดง ยาว ๑๐-๕๐ มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยพบในกระเพาะของสุนัข แมว และเสือ ตัวอ่อนพบในปลา ไก่ กบ หรือสัตว์เลื้อยคลาน ติดต่อถึง คนได้เมื่อกินสัตว์เหล่านี้ที่ยังดิบซึ่งมีตัวอ่อนของพยาธิชนิดนี้อยู่ ตัวอ่อน เมื่ออยู่ในคนสามารถเคลื่อนตัวไปตามเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ได้อาจเป็นตุ่ม นูนขึ้นมาตามผิวหนังและปวดบวม, หนอนด้น ก็เรียก.
นักษัตร ๒ : [นักสัด] น. ชื่อรอบเวลา กําหนด ๑๒ ปี เป็น ๑ รอบ เรียกว่า ๑๒ นักษัตร โดยกําหนดให้สัตว์เป็นเครื่องหมายในปีนั้น ๆ คือ ชวด-หนู ฉลู-วัว ขาล-เสือ เถาะ-กระต่าย มะโรง-งูใหญ่ มะเส็ง-งูเล็ก มะเมีย-ม้า มะแม-แพะ วอก-ลิง ระกา-ไก่ จอ-หมา กุน-หมู.
น้ำเต้า :
น. (๑) ชื่อไม้เถาล้มลุกชนิด Lagenaria siceraria Standl. ในวงศ์ Cucurbitaceae อยู่ในจําพวกฟักแฟง ดอกสีขาว ผลกินได้ เมื่อแก่แห้ง ใช้เป็นภาชนะได้; อวัยวะส่วนที่อยู่โคนงวงช้าง มีรูปโป่งคล้ายลูกนํ้าเต้า; ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง เล่นโดยเจ้ามือจะเป็นผู้ซัดหรือ ฝัดลูกบาศก์ ซึ่งมี ๖ หน้า เขียนเป็นรูป นํ้าเต้า ปู ปลา เสือ ไก่ และกุ้ง ให้ลูกค้าแทง. (๒) โกฐนํ้าเต้า. (ดู โกฐนํ้าเต้า ที่ โกฐ).
ปี้ ๒ : ก. ร่วมเพศเพื่อสืบพันธุ์ (ใช้แก่ นก เป็ด ไก่ เป็นต้น).
แร้ว : น. เครื่องสําหรับดักสัตว์ มี นก ไก่ เป็นต้น มีบ่วงติดอยู่กับปลายของไม้ ที่เรียกว่า คันแร้ว ซึ่งเอาโคนปักไว้ที่ดินทำปลายให้โน้มลงมา มีไกที่ เรียกว่า ปิ่น ขัดไว้ระหว่างหลักขัดแร้วกับคอน วางบ่วงดักไว้บนคอน เมื่อสัตว์มาจับคอนตรงที่วางบ่วงไว้ ไม้คอนจะเลื่อนลง ทำให้ปิ่นหลุด บ่วงก็จะรูดมัดขาไว้.