ไขว่คว้า : ก. เอื้อมมือฉวยเอาอย่างสับสน, พยายามจับหรือถือเอา, คว้าไขว่ ก็ว่า.
ไขว่ : [ไขฺว่] ก. ไขว้ เช่น ไขว่ชะลอม, ก่ายกัน. ว. อาการที่เคลื่อนไหวไปมา อย่างสับสน เช่น เดินไขว่ โบกมือไขว่. น. เรียกแผ่นกระดาษที่รองรับ แผ่นทองคำเปลวสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ จำนวน ๒๐ แผ่นว่า ๑ ไขว่.
คว้าไขว่ : [-ไขฺว่] ก. เอื้อมมือฉวยเอาอย่างสับสน, พยายามจับหรือถือเอา, ไขว่คว้า ก็ว่า.
คว้า : [คฺว้า] ก. ยื่นมือไปจับหรือฉวยมาโดยเร็ว, ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ศัพท์นี้ไปคว้ามาจากไหน; กิริยาชักว่าวกระตุกให้หัวว่าวปักลง แล้วช้อนขึ้นไปทางใดทางหนึ่งตามความต้องการ เช่น ว่าวจุฬากับ ว่าวปักเป้าคว้ากัน.
ไขว่ห้าง : ว. อาการที่นั่งหรือนอนเอาขาพาดบนเข่าซึ่งตั้งชันอยู่.
คว้าน้ำเหลว : (สํา) ก. ไม่ได้ผลตามต้องการ.
ผวา : [ผะหฺวา] ก. แสดงอาการเช่นเอามือไขว่คว้าหรืออ้าแขนโถมตัว เข้ากอดเมื่อสะดุ้งตกใจหรือตื่นเต้นเป็นต้น. ว. อาการที่หวาด สะดุ้งเพราะตกใจกลัวเป็นต้น เช่น นอนผวากลัวโจรมาปล้น, อาการที่เด็กนอนสะดุ้งยกมือไขว่คว้า ในคำว่า เด็กนอนผวา, อาการที่อ้าแขนโผเข้ากอดกัน เช่น เด็กวิ่งผวาเข้าหาแม่.
ขวะไขว่เขวี่ย : [ขฺวะไขฺว่เขฺวี่ย] (กลอน) ก. ขวักไขว่ เช่น เดินขวะไขว่เขวี่ย. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
คำโท : (ฉันทลักษณ์) น. คำที่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์โทกำกับอยู่ไม่ว่า คำนั้นจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใด เป็นคำบังคับในการแต่งโคลง เช่น ข้า คว้า แล้ว.
ฉวย : ก. คว้า จับ หรือหยิบเอาโดยเร็ว. สัน. ถ้า, แม้.
หมับ : ว. คำสำหรับประกอบกิริยาที่เอาอะไร ๆ ไปอย่างฉับไวไม่รีรอ เช่น คว้า หมับ ฉวยหมับ หยิบหมับ, มับ ก็ว่า.
คะไขว่ : [-ไขฺว่] (กลอน) ว. ขวักไขว่, สับสน, โบราณเขียนเป็น คไขว่ ก็มี เช่น ขว้างหอกซรัดคไขว่ ไล่คคลุกบุกบัน. (ตะเลงพ่าย).
คำกร่อน : (ไว) น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็น อักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออก เสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม เป็น คระ โครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็น เสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ.
เฉี่ยว : ก. กิริยาของนกที่โฉบลงมาคว้าอาหารไปโดยเร็ว, อาการที่กระทบหรือ เสียดสีไปโดยเร็ว เช่น รถเฉี่ยวคน. (ปาก) ว. ล้ำยุค, นำสมัย, เช่น ผู้หญิง คนนี้แต่งตัวเฉี่ยว.
โฉบ : ก. โผลงมาคว้าเอาสิ่งของไป (ใช้แก่นก) เช่น กาโฉบลูกไก่, ฉวยเอาไป อย่างรวดเร็ว เช่น เด็กโฉบมะม่วงนอกรั้วไปเสียแล้ว; เจตนาไปที่ใดที่หนึ่ง เช่น โฉบไปหน้าโรงเรียน.
ดือ : (กลอน) น. สะดือ เช่น ขุนช้างฉุดผ้าคว้าจิ้มดือ. (ขุนช้างขุนแผน).
แบหลา. : (กลอน) ก. ฆ่าตัวตาย เช่น เห็นเพลิงพลุ่งรุ่งโรจน์โชตนา ก็แบหลาโจนเข้าในอัคคี, ฉวยคว้าได้กริชของพี่ยา จะแบหลาชีวัน ให้บรรลัย, น้องจะแบหลาครานี้ ตายตามพระพี่ที่หายไป. (อิเหนา).
ประหว่า : ก. เปล่าเปลี่ยว, ว้าเหว่, เช่น มือประหว่าคว้าหมอน. (สมุทรโฆษ).
ภาคนิพนธ์ : [พากคะ, พาก] น. รายงานการค้นคว้าประจําภาคเรียน. (อ. term paper).
มับ : ว. คําสําหรับประกอบกริยาที่เอาอะไร ๆ ไปอย่างฉับไวไม่รีรอ เช่น คว้ามับ ฉวยมับ หยิบมับ, หมับ ก็ว่า.
มุบ : ก. ยุบลง. ว. อาการที่ยอบตัวลงโดยเร็ว เช่น มุบหัวลง, อาการที่ของด้านใด ด้านหนึ่งจมลงจากระดับเดิม เช่น พอปลากินเบ็ด ทุ่นเบ็ดก็มุบลง แพด้าน หนึ่งมุบลง, อาการที่คว้าสิ่งของโดยเร็ว เช่น พอของตกก็เอามือคว้ามุบ, อาการที่สัตว์งับสิ่งของโดยเร็ว เช่น ปลาฮุบเหยื่อมุบ พอโยนขนมให้หมา ก็เอาปากรับมุบ.
ละล้าละลัง : ว. ห่วงหน้าห่วงหลัง, พะวงหน้าพะวงหลัง, พะวักพะวน, เช่น เกิดไฟไหม้ละล้าละลังคว้าอะไรไม่ถูก.
หมุบหมับ : ว. อาการที่หยิบฉวยหรือกินโดยเร็ว เช่น แย่งกันกินหมุบหมับ, บางทีก็ใช้แยกกัน เช่น คว้าคนละหมุบคนละหมับ.
หมุบ, หมุบ ๆ : [หฺมุบ] ว. อาการที่หยิบ กัด หรือเคี้ยวโดยเร็ว เช่น พอได้โอกาสก็คว้าหมุบ ปลาฮุบเหยื่อหมุบ ๆ.
เขว : [เขฺว] ว. เหไปนอกทาง, ผิดทาง, ไม่ตรงทาง.
แขวะ : [แขฺวะ] ก. เอาสิ่งมีคมแหวะคว้านให้กว้าง; พูดชวนวิวาท.
ไขว้ : [ไขฺว้] ก. ขัด เช่น ไขว้เฉลว, สับกัน เช่น ส่งของไขว้ คือ เอาของคนหนึ่ง ไปส่งคืนให้อีกคนหนึ่ง, ก่ายสับกัน เช่น ไขว้ขา; กิริยาที่เตะตะกร้อด้วย บิดเท้าไปอีกข้างหนึ่ง เรียกว่า เตะไขว้.
ควั่งคว้าง : [คฺวั่งคฺว้าง] (กลอน) ว. แกว่งไปมา, กวัดแกว่ง, ไหลวน, โบราณเขียนเป็น คว่งงคว้งง ก็มี เช่น สระเหนาะน้ำคว่งงคว้งง ควิวแด. (กำสรวล).
คว่ำ : [คฺวํ่า] ก. พลิกเอาด้านบนลงล่าง เช่น รถคว่ำ เรือคว่ำ; กิริยาที่เอาด้าน หน้าลง เช่น นอนคว่ำ, กิริยาที่เอาด้านบนลงล่าง เช่น คว่ำชาม, ตรงข้าม กับ หงาย; เรียกใบหน้าที่แสดงอาการไม่พอใจหรือโกรธจนไม่เงยหน้า ขึ้นมองดูว่า หน้าคว่ำ; โดยปริยายหมายความว่า ทำให้อีกฝ่ายหนึ่ง พ่ายแพ้ เช่น คว่ำคู่ต่อสู้.
เผ : น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง ใช้ไพ่ป๊อก มักเล่นกัน ๔ คน เจ้ามือแจกไพ่ ควํ่า ๑ ใบแรก แล้วแจกไพ่หงายอีก ๔ ใบ ก็มี แจกไพ่หงายใบที่ ๒ และที่ ๓ เหลือนอกนั้นแจกควํ่า ก็มี ผู้ใดถือไพ่รวมได้แต้มหรือศักดิ์ สูงกว่าตามกติกา ผู้นั้นชนะ.
สรเหนาะ, สระเหนาะ : [สฺระเหฺนาะ] (กลอน) ว. เสนาะ, ไพเราะ; วังเวงใจ, เศร้าใจ, เช่น สรเหนาะนิราษน้อง ลงเรือ. (โคลงกำสรวล), สระเหนาะน้ำคว่วงคว้วง ควิวแด. (โคลงกำสรวล). (ข. สฺรโณะ ว่า นึกสังเวช สงสารวังเวงใจ อาลัยถึง).