ไขว่ : [ไขฺว่] ก. ไขว้ เช่น ไขว่ชะลอม, ก่ายกัน. ว. อาการที่เคลื่อนไหวไปมา อย่างสับสน เช่น เดินไขว่ โบกมือไขว่. น. เรียกแผ่นกระดาษที่รองรับ แผ่นทองคำเปลวสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ จำนวน ๒๐ แผ่นว่า ๑ ไขว่.
ขวา : [ขฺวา] ว. ตรงข้ามกับซ้าย, ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศใต้ เรียกว่า ด้านขวามือ ด้านทิศเหนือ เรียกว่า ด้านซ้ายมือ, ถ้าหันหลังไป ทางต้นนํ้าหรือยอดนํ้า ด้านขวามือเรียกว่า ฝั่งขวา ด้านซ้ายมือเรียกว่า ฝั่งซ้าย, คู่กับซ้าย แต่ใหญ่กว่าหรือสําคัญกว่า เช่น มเหสีฝ่ายขวา อัครสาวกฝ่ายขวา. (การเมือง) น. เรียกกลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการ เศรษฐกิจเป็นต้นโน้มไปทางอนุรักษนิยมว่า ฝ่ายขวา.
ไขว่คว้า : ก. เอื้อมมือฉวยเอาอย่างสับสน, พยายามจับหรือถือเอา, คว้าไขว่ ก็ว่า.
ไขว่ห้าง : ว. อาการที่นั่งหรือนอนเอาขาพาดบนเข่าซึ่งตั้งชันอยู่.
กินขวา, กินซ้าย : ก. อาการที่รถ เรือ ว่าว เป็นต้น เคลื่อนล้ำไปทางขวา หรือซ้ายมากเกินควร.
ขวะไขว่เขวี่ย : [ขฺวะไขฺว่เขฺวี่ย] (กลอน) ก. ขวักไขว่ เช่น เดินขวะไขว่เขวี่ย. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
แขนขวา : น. บริวารหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง เปรียบเสมือนแขนข้างขวา.
แขนซ้ายแขนขวา : น. บริวารหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นหัวเรี่ยว หัวแรงเปรียบเสมือนแขนซ้ายแขนขวา.
คว้าไขว่ : [-ไขฺว่] ก. เอื้อมมือฉวยเอาอย่างสับสน, พยายามจับหรือถือเอา, ไขว่คว้า ก็ว่า.
ทักขิณา : น. ทักษิณา, ทานเพื่อผลอันเจริญ; ขวา, ทิศใต้. (ป.; ส. ทกฺษิณา).
กรมท่าขวา : [กฺรมมะ-] (กฎ; โบ) น. ส่วนราชการที่มีหน้าที่ เกี่ยวกับชนชาวแขก.
เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา : (สํา) ก. บอกหรือสอนไม่ได้ผล.
ถนัดขวา : ว. ที่ทําได้คล่องแคล่วด้วยมือขวา.
ฝ่ายขวา : (การเมือง) น. กลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการเศรษฐกิจ เป็นต้นโน้มไปทางอนุรักษนิยม.
เบื้อง ๑ : น. ทาง, ข้าง, ด้าน, (ใช้ในลักษณะที่เริ่มต้นไปถึงปลาย สูงตํ่า หรือ ซ้าย ขวา เป็นต้น) เช่น เบื้องต้น เบื้องปลาย เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องซ้าย เบื้องขวา.
สดำ : [สะ] ว. ขวา. (ข. สฺฎำ).
สะพานหัน : น. สะพานที่สร้างให้บางส่วนหันเบนออกไปทางซ้ายหรือ ขวา เพื่อปิดทางให้เรือแล่นผ่าน.
กรรเจียกจอน : น. เครื่องประดับหู, เขียนเป็น กรรเจียกจร ก็มี เช่น กรรเจียกจอนจําหลักลายซ้ายขวา. (สังข์ทอง).
กระบี่ธุช : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วย ผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธง เดียวกันซึ่งเป็นเหล็ก และทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้าย และด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงบริเวณที่สวม ต่อคันธงท่อนล่างติดรูปพระกระบี่ คือหนุมานในท่ายืนยกขาหน้า และขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวน พยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราช พิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา.
กะบัง ๒ : น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้เสาหรือไม้ลําปักทางซ้าย และทางขวาเรียงกันเป็นลําดับ แล้วเอาเฝือกขนาบกับเสาทั้ง ๒ ข้าง อย่างเดียวกับจิบ แต่ระหว่างกลางทําร้านซึ่งสานด้วยไม้ไผ่ตลอดเป็น ทางเพื่อให้ปลาเสือกตัวขึ้นแล้วเลื่อนตกลงไปในถุงอวนหรือตาข่าย ที่ดักไว้ปลายทาง ต้องจับในเวลาที่น้ำไหลเชี่ยว, กะบังรังเฝือก ก็ว่า.
ขวานฟ้า : น. ขวานที่ทําด้วยหินในยุคหิน เชื่อกันว่าตกลงมาจากฟ้า เมื่อเวลาฟ้าผ่า.
ขัดสมาธิ : [ขัดสะหฺมาด] ว. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้นแล้วเอา ขาไขว้กันทับฝ่าเท้า, ถ้าเอาขาซ้อนทับกันเรียกว่า ขัดสมาธิสองชั้น, ถ้าเอาขาขวาทับขาซ้าย เรียกว่า ขัดสมาธิราบ, ถ้าเอาฝ่าเท้าทั้ง ๒ ข้างขึ้น ข้างบน เรียกว่า ขัดสมาธิเพชร, ขัดสมาธิราบและขัดสมาธิเพชรนั้น เป็น ท่าพระพุทธรูปนั่ง. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถ นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวา ทับพระหัตถ์ซ้าย.
เขื่อน : น. เครื่องป้องกันไม่ให้ดินริมนํ้าพัง, สิ่งที่สร้างขึ้นขวางกั้นลํานํ้า เพื่อกัก เก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในทางชลประทานเป็นต้น เช่น เขื่อนเจ้าพระยา, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กำแพงดิน หรืออิฐที่ล้อมรอบต้นโพธิ์; (โบ) รั้ว, กำแพง, คันดินกันตลิ่งพัง, เช่น ปิดประตูเมืองลง เขื่อนขว้าง. (ยวนพ่าย).
ครุฑพ่าห์ : [คฺรุดพ่า] น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธง เทำด้วยผ้าปักไหมทองป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ใน คันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็กและทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้าย และด้านขวา ปลายคันธงทำเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงตรงส่วนสวม ต่อกับคันธงท่อนล่างติดรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เรียกเต็มว่า ธงพระ ครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ใหญ่, ใช้เข้าคู่กับ ธงกระบี่ธุช โดยธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา และ ธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย.
คอปาด : น. เรียกเสื้อที่มีคอตัดปาดตรงจากไหล่ซ้ายถึงไหล่ขวาว่า เสื้อคอปาด.
คะไขว่ : [-ไขฺว่] (กลอน) ว. ขวักไขว่, สับสน, โบราณเขียนเป็น คไขว่ ก็มี เช่น ขว้างหอกซรัดคไขว่ ไล่คคลุกบุกบัน. (ตะเลงพ่าย).
คำกร่อน : (ไว) น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็น อักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออก เสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม เป็น คระ โครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็น เสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ.
งอมืองอตีน : ก. เกียจคร้าน, ไม่สนใจขวนขวายทําการงาน, ไม่คิดสู้.
แง้ม : ก. เปิดแต่น้อย ๆ เช่น แง้มประตู. (โบ) น. ริม, ข้าง, เช่น ปากคลอง บางกอกน้อยแง้มขวา.
จับยาม : ก. นับยามตามหลักยามสามตา (ตรีเนตร) โดยนับตามหลัก ๓ หลัก คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร เวียนกันไป โดยนับขึ้นต้นที่อาทิตย์ ถ้าวันจับยาม เป็นวันข้างขึ้น ให้นับเวียนขวาจากอาทิตย์ไปยังจันทร์และอังคาร ถ้าวันจับ ยามเป็นวันข้างแรม ให้นับเวียนซ้ายจากอาทิตย์ไปยังอังคารและจันทร์ แล้ว ทำนายตามตำรา.
จิบ ๒ : น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ใช้เสาหรือไม้ลําปักทางซ้ายและ ทางขวาเรียงกันเป็นลําดับ แล้วเอาเฝือกขนาบกับเสาทั้ง ๒ ข้างอย่างเดียว กับกะบัง แต่ระหว่างกลางเอาอวนลงกางกั้นให้ปลาเข้าถุงอวน จับเมื่อ เวลานํ้าไหลอ่อน ๆ.
เฉวียงบ่า : ว. เรียกการห่มผ้าปิดทางบ่าซ้ายเปิดบ่าขวาว่า ห่มเฉวียงบ่า.
ซ้าย : ว. ตรงข้ามกับ ขวา, ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศเหนือ เรียกว่า ด้านซ้ายมือ ด้านทิศใต้ เรียกว่า ด้านขวามือ, ถ้าหันหลัง ไปทางต้นนํ้าหรือยอดนํ้า ด้านซ้ายมือ เรียกว่า ฝั่งซ้าย ด้านขวามือ เรียกว่า ฝั่งขวา; (การเมือง) เรียกกลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมือง การเศรษฐกิจ เป็นต้น ที่นิยมการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง ว่า ฝ่ายซ้าย, โดยทั่วไปใช้หมายถึงกลุ่มที่นิยมลัทธิสังคมนิยมและ คอมมิวนิสต์.
ดรรชนี ๒ : [ดัดชะนี] (คณิต) น. จํานวนที่เขียนไว้บนมุมขวาของอีกจํานวนหนึ่งซึ่ง เรียกว่า ฐาน เพื่อแสดงการยกกําลังของฐานนั้น เช่น ๓๒ ๒ เป็นดรรชนี ของ ๓; ตัวเลขอัตราส่วนซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลาหนึ่ง เช่น ดรรชนีค่าครองชีพ; ดัชนี ก็ใช้. (อ. index number). ดรรชนีหักเห (แสง) น. ดรรชนีหักเหระหว่างตัวกลางคู่หนึ่งที่แสงผ่าน คือ อัตราส่วนระหว่างไซน์ของมุมตกกระทบของแสงในตัวกลางหนึ่ง ต่อไซน์ของมุมหักเหของแสงในอีกตัวกลางหนึ่ง, ดัชนีหักเห ก็ใช้. (อ. refractive index).
ดอง ๒ : น. วิธีห่มผ้าของภิกษุสามเณรอย่างหนึ่งโดยปิดบ่าซ้าย เปิดบ่าขวา เรียกว่า ห่มดอง.
ดัชนี ๒ : [ดัดชะนี] (คณิต) น. จำนวนที่เขียนไว้บนมุมขวาของอีกจำนวนหนึ่งซึ่ง เรียกว่า ฐานเพื่อแสดงการยกกำลังของฐานนั้น เช่น ๓๒ ๒ เป็นดัชนีของ ๓; ตัวเลขอัตราส่วนซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลาหนึ่ง เช่น ดัชนีค่า ครองชีพ; ดรรชนี ก็ใช้. (อ. index number).
ด้าน ๑ : น. ฝ่าย, ข้าง, ทาง, ส่วน, เช่น ด้านซ้าย ด้านขวา ด้านวิชาการ ด้านศิลปกรรม ด้านวิทยาศาสตร์.
ตกขอบ : ว. ที่สุดข้างใดข้างหนึ่ง เช่น ขวาตกขอบ, เต็มที่ เช่น ฮาตกขอบ.
ตบแผละ : [-แผฺละ] น. การเล่นชนิดหนึ่ง มีคนเล่น ๒ คน หันหน้าเข้าหากัน แต่ละฝ่ายตบเข่าและตบมือของตัวเองก่อน จึงใช้มือซ้ายตบมือซ้ายและ มือขวาตบมือขวาของอีกฝ่ายหนึ่งสลับกันกับตบมือและตบเข่า.
ถวายเนตร : น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาประกบพระหัตถ์ซ้ายอยู่หน้าพระเพลา ลืมพระเนตร ทั้ง ๒ ดูมหาโพธิพฤกษ์ อยู่ในพระอาการสํารวม.
ทักขิญ : [-ขิน] น. ความเป็นเบื้องขวา หมายความว่า สะดวกในการพูดจา ปราศรัย, ความอารีอารอบ, ความกรุณา. (ป. ทกฺขิ?ฺ?).
ทักขิณ : (แบบ) ว. ทักษิณ, ใต้; ข้างขวา. (ป.; ส. ทกฺษิณ).
ทักขิณาวัฏ : น. การเวียนขวา. ว. เวียนไปทางขวา คือเวียนเลี้ยว ทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา, ทักษิณาวรรต ก็ว่า, ตรงข้ามกับ อุตราวัฏ หรือ อุตราวรรต. (ป.; ส. ทกฺษิณาวรฺต).
ทักษิณ : น. ทิศใต้ ใช้ว่า ทิศทักษิณ. ว. ใต้; ข้างขวา เช่น ฝ่ายทักษิณ. (ส.; ป. ทกฺขิณ).
ทักษิณาจาร : น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่งนับเนื่องในนิกายหนึ่งของ ศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบขวาหรือฝ่ายขวา มีพิธีกรรมเปิดเผย ไม่มีลามกอนาจาร, คู่กับ วามาจาร, ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลักปฏิบัติทํานองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์ โดยถือ พระไวโรจนพุทธะแทนพรหมัน. (ส.).
ทักษิณาวรรต : น. การเวียนขวา. ว. เวียนไปทางขวา คือเวียนเลี้ยว ทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา, ทักขิณาวัฏ ก็ว่า, ตรงข้ามกับ อุตราวรรต หรือ อุตราวัฏ. (ส. ทกฺษิณาวรฺต; ป. ทกฺขิณาวฏฺฏ).
ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อย : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีเหลืองรูปสี่เหลี่ยม มี ภาพครุฑที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอดเรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลักเป็นภาพครุฑจับนาค จำนวน ๔ กาบ มีหางนกยูงผูกเป็นแพนเสียบที่กาบ, ใช้เชิญนำกระบวน พยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับ ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย หรือ ธงชัยราชกระบี่ยุทธ โดยธงชัย พระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวา และธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยหรือธงชัย ราชกระบี่ยุทธอยู่ทางด้านซ้าย.
ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีแดงรูปสี่เหลี่ยม มี ภาพพระกระบี่คือหนุมานที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอด เรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลัก เป็นภาพหนุมานจำนวน ๔ กาบมีหางนกยูงเป็นแพนเสียบที่แผ่นกาบ มี อีกชื่อหนึ่งว่า ธงชัยราชกระบี่ยุทธ, ใช้เชิญนำกระบวนพยุหยาตราและ อัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับ ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยโดยธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยอยู่ทางด้านซ้าย และธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวา.
ธุรำ : น. สายเครื่องหมายวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ สวมจากซ้ายไปขวา เรียกว่า สายธุรํา, ธุหรํ่ายัชโญปวีต หรือ สายมงคล ก็เรียก.
นาคาวโลก : [คาวะ] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ ซ้ายห้อยเยื้องมาข้างหน้าประทับไว้ที่พระเพลาข้างซ้าย พระหัตถ์ขวา ห้อยลงข้างพระองค์ตามปรกติเอี้ยวพระกายผินพระพักตร์เหลียวไป ข้างหลัง เป็นกิริยาทอดพระเนตรพระนครไพศาลีผิดปรกติคล้ายดูอย่าง ไว้อาลัย ด้วยจะเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย จะไม่ได้เสด็จมาเห็นอีกต่อไป.