Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ไขว้หลัง, ไขว้, หลัง , then ขว, ไขว้, ไขว้หลัง, หลง, หลํ, หลัง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ไขว้หลัง, 849 found, display 1-50
  1. ไขว้ : [ไขฺว้] ก. ขัด เช่น ไขว้เฉลว, สับกัน เช่น ส่งของไขว้ คือ เอาของคนหนึ่ง ไปส่งคืนให้อีกคนหนึ่ง, ก่ายสับกัน เช่น ไขว้ขา; กิริยาที่เตะตะกร้อด้วย บิดเท้าไปอีกข้างหนึ่ง เรียกว่า เตะไขว้.
  2. หลัง : น. ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหน้าอก; ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับด้านหน้าของ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง; ส่วนเบื้องบน เช่น หลังมือ หลังเท้า. ว. อยู่ตรงข้ามกับ ข้างหน้า, ตรงข้ามกับ ก่อน (ใช้แก่เวลาที่ผ่านพ้นไปแล้ว), ในลําดับถัดไป เช่น คนหลัง; ลักษณนามเรียกเรือนหรือสิ่งที่มีลักษณะอย่างเรือนว่า หลัง เช่น เรือนหลังหนึ่ง ศาลา ๒ หลัง.
  3. หลัง : ก. หลง มักใช้เข้าคู่กับคํา บ้า เป็น บ้าหลัง.
  4. ไพล่ : [ไพฺล่] ก. ไขว้ เช่น เอามือไพล่หลัง, เอี้ยว, หลบไป, หลีกไป; แทนที่จะเป็นอย่างนี้กลับเป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น เคยทำอย่างนี้ ไพล่ไปทำอย่างนั้น.
  5. ไพล่หลัง : ก. เอาแขน ๒ ข้างไขว้ไปข้างหลัง เช่น ถูกจับมัดมือไพล่ หลัง, เอามือ ๒ ข้างจับกันไขว้ไว้ข้างหลัง เช่น ตำรวจยืนถ่างขาเอา มือไพล่หลังในเวลายืนรับเสด็จ.
  6. ไขว้โรง : ก. กลับตรงกันข้าม (เดิมเป็นภาษาใช้ในการพนันหวย ก ข มีตัวโรงเช้า โรงคํ่า เมื่อผู้แทงระบุตัวแทงแล้ว ถ้าหากตัวออกกลับกันเสีย ก็เรียกว่า ขุนบาลกินอย่างไขว้โรง, ตรงกับว่า โอละพ่อ).
  7. หลังจาก : สัน. ภายหลัง.
  8. หลังฉาก : (สำ) ว. ที่ไม่แสดงให้ปรากฏเปิดเผย เช่น เขาทำเป็นเศรษฐีใช้ จ่ายฟุ่มเฟือย แต่ฐานะหลังฉากเต็มไปด้วยหนี้สิน, ตรงข้ามกับ หน้าฉาก. น. ความเป็นไปหรือพฤติกรรมที่ไม่เปิดเผย, ตรงข้ามกับ หน้าฉาก.
  9. หลังเต่า : ว. มีลักษณะนูนโค้งขึ้น เช่น ถนนเป็นหลังเต่า ทับทิมเม็ดนี้ เจียระไนแบบหลังเต่า. น. สันดอน.
  10. หลังยาว : (สำ) ว. เรียกคนเกียจคร้านเอาแต่นอนว่า ขี้เกียจหลังยาว, ขี้เกียจสันหลังยาว ก็ว่า.
  11. หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน : (สำ) ว. ที่ต้องตรากตรำทำงานหนัก มักหมายถึง ชาวไร่ชาวนา ซึ่งในเวลาทำไร่ทำนาหลังต้องสู้กับแดด และหน้าต้อง ก้มลงดิน.
  12. ไขว้เขว : ก. สับกัน; (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า เอาของไปจํานํา.
  13. หลังเขียว : ดู กุแล.
  14. หลังฉัตร : น. ส่วนที่เป็นพื้นราบรอบปุ่มฆ้อง, ชานฉัตร ก็ว่า.
  15. หลังบ้าน : (ปาก) น. ภรรยาของผู้มีอำนาจในวงราชการบ้านเมือง.
  16. กระพา : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง สําหรับใส่สิ่งของบรรทุกไว้ ที่หลังคน มีสายรัดไขว้หน้าอก ใช้อย่างต่างใส่วัว แต่มีอันเดียว.
  17. ขาหมา : น. ไม้ ๒ อันที่ทำเป็นขาไขว้กัน ใช้วางบนหลังช้าง สำหรับนั่ง บรรทุกของ หรือลากไม้.
  18. พก ๑ : น. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้ไว้ที่บริเวณสะดือ มีลักษณะคล้ายถุง เล็ก ๆ เรียกว่า ชายพก ใส่เงินหรือหมากเป็นต้น; แผ่นดิน. ก. เอา เก็บหรือซ่อนไว้ในพกหรือในสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พกมีด พกนาฬิกา, เรียกสิ่งที่นำติดตัวไปในลักษณเช่นนั้น เช่น มีดพก ปืนพก นาฬิกาพก; พัง, ทําลาย, เช่น ดุจพสุธาพังดังพสุธาพก. (ม. ร่ายยาว มหาราช); ผก, หก, ตก; (กลอน) วก เช่น ภายหลังมา จึงพราหมณ์ชูชก พกมาทวงทอง. (ม. คําหลวง ชูชก).
  19. ก้มหลัง : ก. น้อมหลังลงเพื่อแสดงกิริยาเคารพ.
  20. กระดูกสันหลัง : น. กระดูกที่อยู่ในแนวกึ่งกลางทางด้านหลังของ ลําตัว เป็นแกนของร่างกาย มีลักษณะเป็นข้อ ๆ ต่อกันเป็นแนวตั้งแต่ บริเวณคอต่อจนถึงบริเวณด้านหลังของทวารหนัก ทําหน้าที่ป้องกัน อันตรายให้แก่ไขสันหลัง, โดยปริยายหมายถึงส่วนที่สําคัญ, ส่วนที่เป็นพลังค้าจุน, เช่น ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ.
  21. กินหน้า, กินหลัง, กินหาง : ว. ลักษณาการของว่าวที่สายซุงบนสั้น เรียกว่า กินหน้า, ที่สายซุงบนยาว เรียกว่า กินหลัง, ที่เสียหางตัวเอง เรียกว่า กินหาง.
  22. คล้อยหลัง : ว. ผ่านพ้นไปยังพอเห็นหลังไว ๆ เช่น เขาเพิ่งเดิน คล้อยหลังไปไม่นาน.
  23. เครื่องหลัง : น. สัมภาระที่ทหารหรือนักเดินทางเป็นต้นนําติดตัวไป โดยผูกรัดไว้ข้างหลัง.
  24. จุดหลัง : ก. เอาเล็บจิกหรือกดตุ่มหรือผื่นที่หลังเพื่อแก้คันเป็นต้น.
  25. ตบหัวลูบหลัง : (สํา) ก. ทําหรือพูดให้กระทบกระเทือนใจในตอนแรกแล้ว กลับทําหรือพูดเป็นการปลอบใจในตอนหลัง.
  26. ตลบหลัง : ก. ปล่อยให้ล่วงลํ้าเข้าไปแล้วย้อนกลับมาตีหรือทําร้ายภายหลัง.
  27. ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก : (สํา) ว. ต่อหน้าทำเป็นดี แต่พอลับหลังก็นินทาหรือ หาทางทำร้าย, หน้าไหว้หลังหลอก ก็ว่า.
  28. ถอยหลัง : ก. เคลื่อนไปข้างหลัง, โดยปริยายหมายความว่า ไม่เจริญ ก้าวหน้า.
  29. ทับหลัง : น. ลวดลายที่ทําประดับไว้บนหลังตู้; ท่อนหินรูปสี่เหลี่ยม ผืนผ้าที่สลักเป็นลวดลายต่าง ๆ ประดับอยู่เหนือประตูเข้าปราสาทหิน; เรียกตัวไม้ที่อยู่ตอนบนหน้าต่างหรือประตูหลังกรอบเช็ดหน้า ใช้บังคับ ปลายเดือยบานแผละหน้าต่างหรือประตูว่า ทับหลังหน้าต่าง หรือ ทับ หลังประตู. (ปาก) ก. อยู่ข้างล่าง (ใช้แก่การพนันเช่นไพ่ตอง).
  30. ทับหลังลัคน์ : (โหร) ก. เรียกลักษณะที่พระเคราะห์ที่อยู่ในเรือน วินาศหรือเป็น ๑๒ กับลัคนาว่า พระเคราะห์ทับหลังลัคน์.
  31. แนวหลัง : น. ผู้ที่อยู่หลังแนวรบ.
  32. เบื้องหลัง : ว. ข้างหลัง; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ไม่เปิดเผยหรือแอบ แฝงอยู่, เบื้องหน้าเบื้องหลัง ก็ว่า.
  33. เป็นบ้าเป็นหลัง : ว. เอาจริงเอาจังเกินไป เช่น ทํางานเป็นบ้าเป็นหลัง.
  34. พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ : (สํา) ก. เปลี่ยนแปลงหรือทําให้ผิดไป จากเดิมอย่างตรงกันข้าม, กลับหน้ามือเป็นหลังมือ ก็ว่า.
  35. ฟ้าเคืองสันหลัง : (สํา) น. เคราะห์กรรมหรือโทษทัณฑ์ร้ายแรงที่ เกิดจากอํานาจเบื้องบนหรือผู้ปกครอง เช่น ต่อฟ้าเคืองสันหลังจึง รําพัน. (ขุนช้างขุนแผน).
  36. ฟ้าไม่กระเทือนสันหลัง : (สํา) น. อํานาจเบื้องบนหรือผู้ปกครองยัง ไม่ลงโทษทัณฑ์ ใช้ในสํานวนว่า ถ้าฟ้าไม่กระเทือนสันหลังก็ยัง ไม่รู้สึก.
  37. ภายหลัง : น. ข้างหลัง, ต่อจากนั้นไป.
  38. ไม้เกาหลัง : น. ไม้ด้ามยาว ปลายด้านหนึ่งมักทำเป็นรูปมือ สำหรับใช้เกาหลัง, ราชาศัพท์ ใช้ว่า ฉลองได.
  39. ย้อนหลัง : ก. ถอยกลับไปหาอดีต เช่น ให้ผลย้อนหลัง มีผลย้อนหลัง.
  40. ลับหลัง : ว. ไม่ใช่ต่อหน้า เช่น นินทาลับหลัง ว่าร้ายลับหลัง.
  41. ล้าหลัง : ว. ช้าอยู่ข้างหลังเขา เช่น เดินล้าหลัง, ไม่ก้าวหน้า เช่น ความคิดล้าหลัง.
  42. ลูบหน้าลูบหลัง : ก. เอามือลูบตามเนื้อตามตัวลูกหลานเป็นต้นด้วย ความเมตตาเอ็นดู เช่น คุณย่าลูบหน้าลูบหลังหลาน.
  43. แลหน้าแลหลัง : ก. พิจารณาให้รอบคอบ เช่น จะทำอะไรต้องแล หน้าแลหลังให้ดีเสียก่อน.
  44. ไล่หลัง : ก. ตามมาติด ๆ, ตามมาใกล้ ๆ, เช่น ฝนไล่หลังมา มีคะแนน ไล่หลังมา ด่าไล่หลัง.
  45. วังหลัง : น. วังซึ่งเป็นที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข มักตั้งอยู่ทางด้านหลังของพระราชวังหลวง.
  46. วันหน้าวันหลัง : น. วันใดวันหนึ่งในอนาคต เช่น จะทำอะไรก็เผื่อวัน หน้าวันหลังไว้บ้าง.
  47. วันหลัง : น. วันหลังจากวันนี้ไป เช่น วันหลังจะมาเยี่ยมอีก, ใช้ว่า วันหน้า ก็มี.
  48. วัวสันหลังหวะ : น. คนที่มีความผิดติดตัวทําให้คอยหวาดระแวง, วัวสันหลังขาด ก็ว่า.
  49. ว่าตามหลัง : ก. ติเตียนหรือนินทาเมื่อผู้ถูกว่าคล้อยหลังไปแล้ว.
  50. สลักหลัง : (กฎ) ก. เขียนข้อความลงในด้านหลังตราสาร เพื่อโอนไป ซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่ตราสารนั้น เช่น สลักหลังตั๋วแลกเงิน; เขียนลงข้างหลังเอกสารเป็นต้น เช่น สลักหลังเช็ค สลักหลังรูปให้ไว้ เป็นที่ระลึก.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-849

(0.1830 sec)