ตรีภูมิ, ไตรภูมิ : น. ตรีภพ. (ส. ตฺริภูมิ).
กรรมขัย : [กำมะไข] (โบ) น. การสิ้นอายุเพราะกรรม เช่น อันว่า อายุสม์ยังมิควรตายแลมาตายดั่งนั้นชื่อว่ากรรมขัยแล. (ไตรภูมิ). (ส. กรฺม + ป. ขย).
กรวิก ๑ : [กะระ-, กอระ-] (แบบ) น. นกการเวก. (ไตรภูมิ). (ป., ส. กรวีก).
กระคุก : (โบ) ก. คุกคลาน เช่น ทั้งล้มทั้งลุกกระคุกหัวเข่า. (ไตรภูมิ).
กระนก :
[-หฺนก] (โบ; แผลงมาจาก กนก) น. ทองคํา. (ไตรภูมิ). (ดู กนก).
กระสา ๒ : น. ชื่องูชนิดหนึ่ง เช่น งูไซงูกระสา. (ไตรภูมิ).
กลละ : [กะละละ] (แบบ) น. รูปเริ่มแรกที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา เช่น ผู้หญิงอันมีครรภ์ด้วยชลามพุชโยนิ เมื่อแรกก่อเป็นนั้น น้อยนักหนา เรียกชื่อว่า กลละหัวปีมีเท่านี้. (ไตรภูมิ). (ป., ส.).
จำหุด : ก. แม่น, ปรากฏ, เที่ยง, แข็งแรง, เปรื่องปราด, ศักดิ์สิทธิ์, สําคัญ, เช่น อันหนึ่งให้จำหุดให้กระทำบุญ. (ไตรภูมิ). (ข. จํหุต ว่า ความถูกต้อง, ความเที่ยงตรง).
ชนมาพิธี, ชนมายุพิธี : [ชนนะ] น. อายุ, อายุขัย, กําหนดอายุ, เช่น ครั้นว่าจะสิ้นชนมาพิธีแล้วก็เสด็จเข้าสู่นฤพานแล. (ไตรภูมิ), ก็อยู่จนสิ้นชนมายุพิธี ในธรณีดลน้นน. (ม. คําหลวง ทศพร). (พิธี ว่า กําหนด).
เพรา ๑ : [เพฺรา] น. เวลาเย็น เช่น เกลออย่ากินเข้าเพราเลย เกลออดเข้าเพรา ให้เถิงรุ่ง. (ไตรภูมิ); มื้อ.
ยอง ๑, ยอง ๆ : ว. อาการที่นั่งชันเข่าทั้ง ๒ โดยก้นไม่ถึงพื้น เช่น นั่งยองอยู่ในท้องแม่. (ไตรภูมิ), หย่อง ก็ว่า.
แล ๒ : ว. อาการที่ทิ้งไว้นานโดยไม่ใส่ใจ เช่น กับข้าวทิ้งแลไว้บนโต๊ะ ไม่มีคนกิน ของวางแลไม่มีคนซื้อ, แร ก็ว่า; ทีเดียว, ฉะนี้, (มักใช้ ในที่สุดประโยคหรือข้อความ หรือคำลงท้ายคำประพันธ์) เช่น ยมพะบาลจับผู้หญิงผู้ชายจำให้ขึ้นจำให้ลงหากันดั่งนั้น หลายคาบ หลายคราลำบากนักหนาแล. (ไตรภูมิ), ห่อนข้าคืนสม แม่แล ฯ. (เตลงพ่าย).
แล ๓ : สัน. และ, กับ, เช่น ให้ประกาศแก่พระราชวงศานุวงศ์แลข้าราชการ ผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายหน้าฝ่ายในและราษฎรในกรุงแลหัวเมืองให้ทราบ ทั่วกัน. (ประกาศ ร. ๔), ฝูงเทพยดาถือค้อนแลตระบองเทียรย่อม แก้วมณีรัตนะเป็นบริวาร. (ไตรภูมิ).
อาม ๑, อ่าม : ว. ไม่ เช่น เลี้ยงลาอามสาย, หนึ่งจงเลี้ยงม่ามอ่ามสาย. (ไตรภูมิ). (ไทยใหญ่ อํ่า ว่า ไม่).
เอือน ๑ : (โบ) น. พยาธิในท้องชนิดหนึ่ง เช่น ลางคาบมีตืดมีเอือนในท้องนั้น. (ไตรภูมิ).
กระหย่อน : (โบ) ก. ขย้อน คือ อาการขยับขึ้นขยับลง เช่น พระยานั่งอยู่ แลกระหย่อนองค์โลดขึ้นทั้งนั้นก็ดี ขึ้นสูงได้ ๑๘ ศอก. (ไตรภูมิ; สรรพสิทธิ์; พงศ. เหนือ), กระย่อน ก็ว่า.
เครือดิน : น. ไม้เถาตามที่กล่าวไว้ในไตรภูมิวินิจฉัยว่ามีสัณฐานประดุจ ดังผักบุ้งและแพงพวย. (ไตรภูมิวินิจฉัย).
ง้วน ๑ : น. เรียกโอชะของบางสิ่ง เช่น ง้วนดิน คือ โอชะของดิน ที่กล่าวไว้ใน คัมภีร์ไตรภูมิโลกวินิจฉัยว่ามีรสหวาน, ง้วนผึ้ง คือ ละอองดอกไม้ที่ ผึ้งนํามาสะสมไว้ที่รัง มีสีเหลือง มีรสมัน หอมหวาน.
ชมพูนท, ชมพูนุท : น. ทองคําเนื้อบริสุทธิ์ (ในคัมภีร์ไตรภูมิ กล่าวว่าเกิดใต้ต้นหว้า), ใช้ว่า ชามพูนท ก็มี. (ส. ชามฺพูนท ว่า เกิดในแม่นํ้าชมพูนที).
ชัมพูนท : [ชําพูนด] น. ทองคําเนื้อบริสุทธิ์ (ในคัมภีร์ไตรภูมิกล่าวว่า เกิดใต้ต้นหว้า), ชมพูนท ชมพูนุท หรือ ชามพูนท ก็ว่า. (ป.; ส. ชามฺพูนท).
ชามพูนท : [ชามพูนด] น. ทองคําเนื้อบริสุทธิ์ (ในคัมภีร์ไตรภูมิกล่าวว่า เกิดใต้ ต้นหว้า), ชมพูนท ชมพูนุทหรือ ชัมพูนท ก็ว่า. (ส. ชามฺพูนท ว่า เกิดในแม่น้ำชมพูนที.).
ตรีกูฏ : น. ชื่อเขา ๓ ยอดในไตรภูมิ, โบราณเรียกว่า ผาสามเส้า. (ส. ตฺริกูฏ ว่า มี ๓ ยอด).
ทวีป : [ทะวีบ] น. เปลือกโลกส่วนที่เป็นพื้นดินซึ่งมีขนาดใหญ่โตกว้าง ขวาง มี ๗ ทวีป คือ เอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และแอนตาร์กติกา บางทวีปกําหนดนํ้าล้อมรอบเป็น ขอบเขต เช่น ทวีปออสเตรเลีย ทวีปแอนตาร์กติกา บางทวีปกําหนด ภูเขา ทะเล แหล่งอารยธรรมเป็นต้น เป็นแนวแบ่งเขต เช่น ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป; (โบ) เกาะ เช่น ลังกาทวีป สิงหฬทวีป; ในคัมภีร์ไตรภูมิ กล่าวว่ามี ๔ ทวีป คือ ๑. ชมพูทวีป ๒. อมรโคยานทวีป ๓. อุตรกุรุทวีป หรืออุตรกุรูทวีป ๔. บุพวิเทหทวีป. (ส.; ป. ทีป).
ศาสนจักร : [สาสะนะจัก, สาดสะนะจัก] น. อํานาจปกครองทาง ศาสนา เช่น ไตรภูมิโลกวินิจฉัยเป็นวรรณกรรมฝ่ายศาสนจักร, ถ้าเป็นฝ่ายพระพุทธศาสนา เรียกว่า พุทธจักร, ถ้าเป็นฝ่าย คริสต์ศาสนา เรียกว่า คริสตจักร, คู่กับ อาณาจักร ซึ่งหมายความ ว่า อํานาจปกครองทางบ้านเมือง.
อสัญญีสัตว์ : น. พรหมพวกหนึ่งมีรูปแต่ไม่มีสัญญา ดังมีกล่าวไว้ ในไตรภูมิกถา. (ป. อส?ฺ??สตฺต).