ไทร : [ไซ] น. ชื่อไม้ต้นในสกุล Ficus วงศ์ Moraceae มีหลายชนิด เช่น ไทรย้อย (F. benjamina L.) ไทรย้อยใบทู่ หรือ ไฮฮี (F. microcarpa L.f.).
ร่มโพธิ์ร่มไทร : (สำ) น. ที่พึ่ง, ผู้ที่ให้ความคุ้มครองและความอบอุ่นใจ, เช่น พ่อแม่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของลูก.
ดอกไม้ไทร : น. ชื่อเพลงปี่พาทย์ทํานองหนึ่ง.
รากอากาศ : น. รากที่แตกออกจากต้นหรือกิ่งของพืชบางชนิด เช่น กล้วยไม้ ไทร.
กระหยะ : น. ขยะ เช่น หนึ่งนิทไทรในราษตรี บมิหลับดั่งมี กระหยะแล ผงเลือดไร. (อภิไธยโพธิบาทว์). (แผลงมาจาก ขยะ).
ไกร ๑ : [ไกฺร] น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ในสกุล Ficus วงศ์ Moraceae ลักษณะคล้ายต้นไทร มี ๒ ชนิด คือ ชนิด F. concinna Miq. เปลือกสีเทาค่อนข้างเรียบ ใบเล็ก ช่อดอกรูปคล้ายผล ออกเป็น คู่ตามง่ามใบ ผลสีชมพู มีกระสีจาง ๆ, ไฮฮี ก็เรียก และชนิด F. superba Miq. เปลือกสีเทาเรียบ ใบใหญ่ ช่อดอกคล้ายชนิดแรก ผลสีชมพู, ไทรเลียบ ก็เรียก.
ชระเอม : [ชฺระ] (กลอน) ว. ร่มเย็น เช่น ดั่งฤๅดั่งไทรชระเอมชรอื้อ. (ม. คําหลวง ชูชก).
ตรีธารทิพย์ : น. ของทิพย์ที่ทน ๓ อย่าง คือ รากไทรย้อย รากราชพฤกษ์ ราก มะขามเทศ.
ทร- : [ทอระ-] คําอุปสรรค แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น ทรชน ทรลักษณ์ ทรพล. (ป. ทุ, ทุรฺ; ส. ทุสฺ).
ทีเอ็นที : น. สารประกอบอินทรีย์ ชื่อเต็มคือ ไทรไนโทรโทลูอีน (trinitrotoluene) มีสูตร C7H5(NO2)3 ลักษณะเป็นของแข็ง มีรูปผลึกสีเหลืองอ่อน หลอมละลายที่ ๘๒?ซ. เป็นวัตถุ ระเบิดชนิดร้ายแรง. (อ. TNT).
ย้อย : ก. ห้อยเป็นทางลงมา เช่น รากไทรย้อยลงมา พวงมะไฟห้อยย้อย, ห้อย ลงมา เช่น รวงผึ้งย้อยลงมา ผมย้อยลงปรกหน้า, ไหลเป็นทางยืดลงมา เช่น น้ำมูกย้อย น้ำตาลย้อย, หยาดห้อยลงมาจวนจะหยด เช่น น้ำหมาก ย้อย น้ำตาย้อย; คราบหินปูนที่ย้อยลงมาจากเพดานถ้ำหินปูน มีลักษณะ เป็นท่อน เป็นกรวย หรือเป็นแผ่นม่าน เรียกว่า หินย้อย.
ย่าน ๒ : น. เครือเถา เช่น ย่านวันยอ ย่านลิเภา, เรียกรากไทรที่ห้อยย้อยลงมาว่า ย่านไทร.
วฏะ : [วะ] (แบบ) น. ไม้ไทร. (ป., ส.).
โอบ : ก. เอาแขนอ้อมไว้ เช่น โอบไหล่, เอาแขนทั้ง ๒ อ้อมไว้ เช่น โอบ ต้นไม้ โอบกอด, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รากไทรโอบรอบเจดีย์เก่า; ตีวงล้อม เช่น เคลื่อนพลเข้าไป โอบกองทัพข้าศึก.
ทรนาว, ทระนาว : [ทอระ-] ว. ระนาว, มากมาย, เช่น พบโพหนึ่งในไพรสณฑ์ สาขานฤมล แลลำทรนาวสาวสาร. (สมุทรโฆษ), งั่วนาวทรนาวเนก กรูดฉุรเฉกจรุงธาร. (ม. คำหลวง จุลพน).
ทรเล่ห์ : [ทอระ-] ก. เฉียดหลังนํ้า เช่น ทุงทองทรเล่ห์สระทรหวล. (ม. คําหลวง มหาพน).
ทรสองทรสุม : [ทอระสองทอระสุม] (กลอน) ก. ซ่องสุม, ประชุมกัน, เช่น ดูทรสองทรสุมผกา. (ม. คําหลวง มหาพน).
ทรงมัณฑ์ : [ซงมัน] ว. มีรูปทรงกลมหรือเหลี่ยมซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เรียวขึ้นไปอย่างหัวเม็ดเสาเกย. (สันนิษฐานกันว่า คําว่า มัณฑ์ น่าจะตัดมาจากคํา มณฑป).
ทรภิกษ์ : น. การขาดแคลนอาหาร, ข้าวยากหมากแพง.
ทรมาทรกรรม : [ทอระมาทอระกํา] (ปาก) ก. ทําให้ทนทุกข์ทรมานไม่รู้จักจบจักสิ้น, ทําให้ทนทุกข์ทรมานอย่างยืดเยื้อ.
ทรรศนีย์ : [ทัดสะนี] ว. น่าดู, งาม, ทัศนีย์ ก็ใช้. (ส. ทรฺศนีย; ป. ทสฺสนีย).
คัพโภทร : [คับโพทอน] น. ครรโภทร, ท้องมีลูก. (ป. คพฺภ + อุทร).
จันทรกลา : [-กะลา] (แบบ) น. เสี้ยวที่ ๑๖ ของดวงจันทร์, โดยอนุโลม หมายถึงงามเหมือนแสงจันทร์อ่อน ๆ นวลตา เช่น ลางล้วนเผือกผ่องคือคิรี ไกลาสรูจี แลพรายคือจันทรกลา. (สมุทรโฆษ). (ส.).
รัตนโกสินทรศก : [รัดตะนะโกสินสก] น. ปีนับตั้งแต่วันตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๒๓๒๔ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๒๓๒๔ เท่ากับ รัตนโกสินทรศก).
ครรโภทร : [คันโพทอน] (แบบ) น. ท้องมีลูก. (ส. ครฺภ + อุทร).
คัพโภทร :
ดู คัพภ-, คัพภ์.
ทรู่ : [ซู่] (กลอน) ก. ลากไป, คร่าไป.
ราเชนทรยาน : [ราเชนทฺระยาน] น. ยานชนิดคานหามที่มีบุษบกของพระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
สนทรรศน์ : [ทัด] น. การดู, การจ้องดู, การแลเห็น. (ส. สํ + ทรฺศน).
ท ๒ : ใช้ประสมกับตัว ร อ่านเป็นเสียง ซ ในคําบางคํา เช่น ทราบ แทรก ทรง และในคําบางคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ทรัพย์ อินทรีย์ มัทรี, ที่อ่านเป็นเสียงเดิมคือ ทร (ไม่ใช่ ซ) ก็มี เช่น ภัทรบิฐ.
กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
กระษิร : [-สิน, -สิระ] (โบ; แผลงมาจาก ส. กฺษิร) น. น้านม เช่น มาจากวารินกระษิรสมุทร. (รามเกียรติ์ ร. ๒), กระษิรสินธุสาคร. (สรรพสิทธิ์).
กรูด ๑ : [กฺรูด] (โบ) น. มะกรูด เช่น งั่วนาวทรนาวเนกกรูดฉุรเฉกจรุงธาร. (ม. คําหลวง จุลพน); (ถิ่น-ปักษ์ใต้) มะกรูด.
กำธร : [-ทอน] ว. สนั่น, หวั่นไหว, สะเทือน, เช่น เสียงเทพอวยอาศิรวาท กำธรอากาศ ฦๅเลวงไชยไชย. (สมุทรโฆษ). (เทียบ ข. กํทร ว่าบรรลือเสียง, ตีรัว).
กำไร : น. ผลที่ได้เกินต้นทุน. ว. ยิ่ง, เกิน, เช่น ทรงบําเพ็ญบารมีสี่อสงไขยกําไรแสนมหากัป.
ครอบ ๑ : [คฺรอบ] ก. เอาของที่มีลักษณะคลุ่ม ๆ คล้ายขันควํ่าเป็นต้นปิดงําไว้ เช่น เอาฝาชีครอบ เอากะลาครอบ. น. แก้วรูปลูกฟักตัดสําหรับครอบ พระพุทธรูปหรือเครื่องบูชาเป็นต้น; ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะ รูปทรงคล้ายลูกฟักหรือคล้ายน้ำเต้า มีเชิง ฝาครอบเป็นรูปทรงหัวเม็ด ทรงมัณฑ์เป็นต้น สำหรับใส่น้ำมนต์.
จันทรเม็ด : [จันทะระ-] (แบบ) น. ปลาจะละเม็ด เช่น ปลาแมวลิ้นหมาปลาหมู คชราราหู มีจันทรเม็ดและทรมาง. (สมุทรโฆษ).
จารีตนครบาล : ก. ไต่สวนพิจารณาคดีด้วยการทรมานจําเลย.
ชรอุ่ม : [ชฺระ] (กลอน) ว. ชอุ่ม, มืดคลุ้ม, มืดมัว, เช่น อากาศชร อุ่มอับ ทิศบังด้วยธุลี. (สุมทรโฆษ).
ตะลุง ๒ : น. เรียกไม้ท่อนกลม หัวเสากลึงเป็นรูปหัวเม็ดทรงมัณฑ์ ปักเป็นหลักคู่หนึ่ง สำหรับล่าม ช้างหรือ ผูกช้างเครื่องยืนแท่น ว่า เสาตะลุง.
ทรราช : น. ผู้ปกครองบ้านเมืองที่ใช้อํานาจตามอําเภอใจ ทําความ เดือดร้อนทารุณให้แก่ผู้อยู่ใต้การปกครองของตน. (อ. tyrant), เรียกลัทธิเช่นนั้นว่า ทรราชย์ หรือ ระบบทรราชย์. (อ. tyranny).
ทรหู, ทรฮู : [ทอระ-] (กลอน) ก. ดิ้นรนอยากรู้, ร้องดัง, เช่น ในเมื่อกูไห้ ทรหูรํ่าร้อง. (ม. คําหลวง ชูชก).
ทัศนีย-, ทัศนีย์ : [ทัดสะนียะ-, ทัดสะนี] ว. น่าดู, งาม, ทรรศนีย์ ก็ใช้. (ป. ทสฺสนีย; ส. ทรฺศนีย).
ที่นั่ง : (ราชา) น. อาคารที่ประทับซึ่งตามปรกติอยู่ในพระราชวัง เช่น พระที่นั่งบรมพิมาน พระที่นั่งอัมพรสถาน, อาคารที่เสด็จออกมหา สมาคม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งวโรภาสพิมาน (บางปะอิน), ที่ ประทับสําหรับประทับบนพระแท่นราชบัลลังก์ภายใต้เศวตฉัตร เช่น พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ พระที่นั่งภัทรบิฐ, ยานที่ ประทับในการเสด็จพระราชดําเนินโดยขบวนแห่ทางบก เช่น พระที่นั่งพุดตานทอง พระที่นั่งราเชนทรยาน, ยานหรือพาหนะที่ พระเจ้าแผ่นดินและพระราชินีทรงหรือประทับ เช่น รถพระที่นั่ง ม้าพระที่นั่ง; ก้น, ที่นั่งทับ, ใช้ว่า พระที่นั่ง.
เทวนิยม : น. ลัทธิที่เชื่อว่ามีพระเจ้าผู้ทรงอํานาจยิ่งใหญ่พระองค์เดียว พระเจ้านั้นทรงมีอํานาจครอบครองโลกและสามารถดลบันดาลความ เป็นไปในโลก. (อ. theism).
ธัญเบญจก : [ทันยะเบนจก] น. ธัญชาติทั้ง ๕ ได้แก่ ๑. ศาลิ ข้าวสาลี ๒. วฺรีหิ ข้าวเปลือก ๓. ศูก ลูกเดือย ๔. ศิมฺพี ถั่ว ๕. กฺษุทฺร ข้าวกษุทร. (ป. ปญฺจก).
แน่นหน้าอก : ว. มีอาการจุกเสียดบริเวณทรวงอกทําให้หายใจไม่สะดวก.
เปตอง : น. ชื่อกีฬากลางแจ้งชนิดหนึ่ง มักเล่นในสนามที่เป็นดินแข็ง มี ผู้เล่นฝ่ายละไม่เกิน ๓ คน โยนลูกโลหะกลมซึ่งข้างในกลวง จํานวน ๑๒ ลูก ให้เข้าใกล้ลูกเป้าซึ่งเป็นลูกทรงกลมทําด้วย ไม้เนื้อแข็งให้มากที่สุด ฝ่ายที่ทําคะแนนถึงเกม คือ ๑๓ คะแนนได้ก่อนเป็นฝ่ายชนะ. (ฝ. p?tanque).