Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ไม่ทัน , then มทน, ไม่ทัน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ไม่ทัน, 46 found, display 1-46
  1. ไม่ทัน : ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาหมายความว่า ยังมิได้ตั้งตัวตั้งใจ ทําให้ พลาดไป เช่น ไม่ทันฟัง ไม่ทันคิด, ใช้ประกอบหลังกริยาหมายความว่า ไม่มีความสามารถที่จะติดตามเรื่องได้ทัน เช่น ฟังไม่ทัน พูดไม่ทัน คิดไม่ทัน.
  2. กล้อมแกล้ม : [กฺล้อมแกฺล้ม] ก. เคี้ยวไม่ทันแหลกแล้วรีบกลืน, เคี้ยวไม่ถนัด; พูดอ้อมแอ้มพอให้ผ่านไป, พูดไม่สู้ชัดความเพื่อให้เสร็จไป; กะล่อมกะแล่ม ก็ว่า.
  3. กว่า : [กฺว่า] ว. เกิน เช่น กว่าบาท; เป็นคําใช้เปรียบเทียบในการประมาณ เช่น มากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า, ย่อมพลกว่าพลแกว่น. (ม. คําหลวง มหาราช). บ. เลยไป, พ้นไป. สัน. ก่อน, ยังไม่ทัน, เช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้, มักใช้เข้าคู่กับคํา จะ...ก็ เป็น กว่าจะ...ก็ หรือ กว่า...จะ...ก็, โบราณใช้ว่า ยิ่ง ก็มี เช่น ใจกว่าห้วงอรรณพ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์); ใช้เป็นกริยาว่า ไปจาก ก็มี เช่น แทบทาง ที่จะกว่า. (ม. คําหลวง จุลพน), ผิออกนางธจะกว่า. (ม. คําหลวง กุมาร); ใช้เป็นวิเศษณ์ว่า จากไป ก็มี เช่น ล๋ตายหายกว่า. (จารึกสยาม). กว่าชื่น (โบ) ว. ยิ่ง, ยิ่งนัก.
  4. กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ : (สำ) ว. ลักษณะของการทำงานที่มีความลังเลใจ ทำให้แก้ไขปัญหาได้ไม่ทันท่วงทีเมื่อได้อย่างหนึ่ง แต่ต้องเสียอีกอย่าง หนึ่งไป ดุจเอาถั่วกับงามาคั่วพร้อมกัน กว่าจะคั่วจนถั่วสุก งาก็จะไหม้หมดไปก่อน.
  5. กะล่อมกะแล่ม : ก. เคี้ยวไม่ทันแหลกแล้วรีบกลืน, เคี้ยวไม่ถนัด; พูดอ้อมแอ้มพอให้ผ่านไป, พูดไม่สู้ชัดความเพื่อให้เสร็จไป; กล้อมแกล้ม ก็ว่า.
  6. เก่า : ว. ก่อน เช่น ครูคนเก่า กรรมเก่า; ไม่ใหม่ เช่น ผ้าเก่า ของเก่า, คํานี้เมื่อใช้ประกอบกับคําอื่น ๆ มีความหมายต่าง ๆ กัน แล้วแต่คําที่นํามาประกอบ เช่น มือเก่า หมายถึง ชํานาญ, หัวเก่า หมายถึง ครึ ไม่ทันสมัย, รถเก่า หมายถึง รถที่ใช้แล้ว.
  7. คร่ำครึ : ว. เก่าเกินไป, ไม่ทันสมัย.
  8. ครึ : [คฺรึ] (ปาก) ว. เก่าไม่ทันสมัย.
  9. งมโข่ง : (ปาก) ว. งุ่มง่าม, ไม่ทันเหตุการณ์.
  10. จักแหล่น, จั๊กแหล่น : [จักกะแหฺล่น, จั๊กกะแหฺล่น] (ปาก) ว. จวนเจียน, เกือบ, หวุดหวิด, เช่น จักแหล่นจะไม่ทันรถไฟ.
  11. จับหืด : ก. อาการที่คนกำลังหอบหายใจไม่ทันเนื่องจากหืดกำเริบ.
  12. เจ้ากรรม : น. ผู้เคยมีกรรมมีเวรต่อกันมาแต่ชาติก่อน, เจ้ากรรมนายเวร ก็ว่า. ว. ที่ทำให้ผิดหวังหรือได้รับความเดือดร้อน เช่น รถเจ้ากรรมเกิดเสียขึ้น กลางทางเลยไปไม่ทัน เด็กเจ้ากรรมวิ่งมาชนเกือบหกล้ม. อ. คำกล่าวแสดง ความผิดหวังเพราะเกิดอุบัติเหตุโดยไม่คาดคิดมาก่อนเป็นต้น เช่น เจ้ากรรม แท้ ๆ รถมาเสียเอาตอนฝนตกเสียด้วย.
  13. ช้า ๑ : ว. ค่อย ๆ เคลื่อนไป, ไม่เร็ว, ไม่ไว, เช่น เดินช้า วิ่งช้า; ล่า, ไม่ทันเวลาที่กําหนด, เช่น มาช้า.
  14. เชย : ก. สัมผัสเบา ๆ หรือช้อนขึ้นเบา ๆ ด้วยความเอ็นดูหรือรักใคร่ เช่น เชยแก้ม เชยคาง; โปรยปรายลงมา ในคําว่า ฝนเชย; พัดมา เฉื่อย ๆ (ใช้แก่ลม); สกัดงาเอานํ้ามันเรียกว่า เชยนํ้ามันงา; (ปาก) ว. ไม่ทันสมัย, เปิ่น.
  15. ตก : ก. กิริยาที่ลดลงสู่ระดับตํ่าในอาการอย่างพลัดลง หล่นลง เช่น ตกบันได ตกต้นตาล เครื่องบินตก; ไหลลง, หยดลง มา, เช่น นํ้าตก ฝนตก เหงื่อตก; ลดลง เช่น ฝีมือตก มือตก เสียงตก; เพาะข้าวลงในตากล้า เรียกว่า ตกกล้า; เอาเบ็ด เกี่ยวเหยื่อหย่อนลงไปให้ปลาหรือกุ้งกินแล้ววัดหรือสาวขึ้น มา เช่น ตกปลา ตกกุ้ง; ย่างเข้า เช่น ตกเย็น ตกคํ่า ตกฤดู หนาว, เรียกสีที่ละลายออกหรือจางไปในเวลาซักหรือถูก แดดเป็นต้นว่า สีตก, ได้, ถึง, เช่นตกทุกข์ ตกระกําลําบาก, มาถึง เช่น คําสั่งยังไม่ตก ของที่สั่งตกมาแล้ว, ขาดหายไป เช่น เขียนหนังสือตก, เขียนคําที่ขาดเติมลง เช่น ตกหนังสือ, ไม่ได้ขึ้นยานพาหนะเพราะไปไม่ทันหรือไม่มีค่าโดยสาร เช่น ตกรถตกเรือ, เอาเงินหรือสิ่งของให้ไปก่อนแล้วคิดเอา เป็นพืชผลภายหลังตามแต่จะตกลงกัน เช่น ตกข้าว คือ เอาเงินให้ไปก่อนแล้วคิดเอาข้าวทีหลัง, โดยปริยายหมาย ความว่า ลดลงตํ่า เป็นอาการแสดงว่า กลัวยอมแพ้ หรือ หมดกําลัง เป็นต้น เช่น คอตก หัวตก หางตก. ว. สำเร็จ เช่น แก้ตก ปลงตก คิดตก.
  16. ทันกิน : ก. คิดหรือทําการใด ๆ ทันท่วงที (โดยปรกติใช้ในประโยค ปฏิเสธ) เช่น ทําการงานช้าไม่ทันกิน มัวงุ่มง่ามอยู่อย่างนี้ไม่ทันกิน.
  17. โบราณ, โบราณ- : [โบราน, โบรานนะ-] ว. มีมาแล้วช้านาน, เก่าก่อน, เช่น อักษร โบราณหนังสือเก่า, เก่าแก่, เช่น แพทย์แผนโบราณ ของโบราณ; (ปาก) ไม่ทันสมัย เช่น คนหัวโบราณ. (ป. โปราณ; ส. เปาราณ).
  18. ปวดเศียรเวียนเกล้า : (สํา) ก. เดือดร้อนรําคาญใจเพราะมีเรื่อง ยุ่งยากมากจนแก้ไม่ทัน.
  19. ผงะ : [ผะหฺงะ] ก. แสดงอาการชะงักงันหรือถอยไปข้างหลังเมื่อประสบ เหตุการณ์ประจันหน้าโดยกะทันหันไม่ทันรู้ตัวหรือคาดหมายมาก่อน.
  20. พลั้ง : [พฺลั้ง] ก. พลาดโดยไม่ตั้งใจหรือไม่ทันคิด, มักใช้เข้าคู่กับคำ พลาด เป็น พลั้งพลาด หรือ พลาดพลั้ง.
  21. พลั้งปาก : ก. พูดไปโดยไม่ทันคิด.
  22. พลั้งพลาด : [พฺลาด] ก. ผิดพลาดไปโดยไม่ตั้งใจหรือไม่ทันคิด, พลาดพลั้ง ก็ว่า.
  23. พลาดพลั้ง : [พฺลั้ง] ก. ผิดพลาดไปโดยไม่ตั้งใจหรือไม่ทันคิด, พลั้งพลาด ก็ว่า.
  24. มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก : (สํา) ก. พูดจาตลบตะแลงพลิกแพลง ไปมาจนจับคําพูดไม่ทัน. น. คนกลับกลอก.
  25. ยั้ง : ก. หยุด เช่น ตีไม่ยั้ง กินไม่ยั้ง ยั้งไม่ทัน ลื่นยั้งไม่อยู่, หยุดพักชั่วคราว เช่น ยั้งทัพอยู่ที่นครสวรรค์ ๓ คืน แล้วจึงเดินทัพต่อไป, ชะงักชั่วคราว เช่น ยั้งคิด ยั้งมือ, รั้ง เช่น ยั้งไม่หยุด, ขยัก เช่น อย่าใช้เงินจนหมด ยั้งไว้บ้าง.
  26. ร่ำไร : ก. อ้อยอิ่ง เช่น มัวแต่ร่ำไรอยู่นั่นแหละ เดี๋ยวจะไม่ทันรถไฟ.
  27. เรียงเม็ด : (ปาก) ก. ย่อย เช่น ข้าวยังไม่ทันเรียงเม็ดเลย ไปวิ่งเล่นแล้ว.
  28. ล้า ๒ : ว. ช้าไม่ทันคนหรือไม่ทันเหตุการณ์เป็นต้น เช่น วัฒนธรรมล้า สังคมล้า.
  29. ล้าสมัย : ว. ไม่ทันหรือไม่เป็นไปตามสมัยที่กําลังนิยมกัน เช่น เขาเป็นคนล้าสมัย.
  30. ลูกติดพัน : ว. อาการที่เป็นไปต่อเนื่องโดยไม่เจตนาหรือยั้งไม่ทัน เช่น นักมวยเตะคู่ต่อสู้ที่กำลังล้มลงเป็นลูกติดพัน.
  31. ไว, ไว ๆ : ว. ลักษณะที่เคลื่อนไหว หรือสามารถคิด หรือกระทําสิ่งใดได้ คล่องแคล่วรวดเร็วหรือฉับพลันทันที เช่น เด็กคนนั้นเดินไว วิ่งไว ๆ เข้า เดี๋ยวไปไม่ทัน. ก. เคลื่อนไหว คิด หรือกระทำสิ่งใดได้ คล่องแคล่วรวดเร็วหรือฉับพลันทันที เช่น ไวเข้ารถจะออกแล้ว.
  32. สด : ว. ใหม่ ใช้แก่ลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ที่ได้มาหรือผลิตขึ้นใหม่ ๆ ยัง ไม่ทันเสื่อมหรือเสียคุณภาพของสิ่งนั้น คือ ไม่เหี่ยวแห้ง ซีดจาง และอาจบริโภคหรือใช้ได้ดีในสภาพของขณะนั้น เช่น ไข่สด กุ้งสด ปลาสด, มีอยู่หรือได้มาใหม่ ๆ เช่น ข่าวสด, ดิบ คือ ยังไม่สุกด้วยไฟ ไม่แห้งหรือหมักดองเป็นต้น เช่น น้ำพริกผักสด ผลไม้สด น้ำตาลสด เบียร์สด ขนมจีนแป้งสด.
  33. สอนขัน : ว. เรียกไก่อ่อนที่เพิ่งหัดขันว่า ไก่อ่อนสอนขัน หรือ ไก่สอนขัน, โดยปริยายหมายถึงมีประสบการณ์น้อยยังรู้ไม่ทัน เล่ห์เหลี่ยมของคน.
  34. สะดุ้ง ๑ : ก. ไหวตัวขึ้นทันทีด้วยความตกใจ เพราะไม่ทันรู้ตัวหรือไม่ได้นึก คาดหมายไว้เป็นต้น เช่น เมื่อได้ยินเสียงระเบิดก็สะดุ้งสุดตัว.
  35. สะบัดก้น : ก. อาการที่ลุกผละไปทันทีด้วยความไม่พอใจเป็นต้น เช่น กินแล้วก็สะบัดก้นไป พูดยังไม่ทันรู้เรื่องก็โกรธสะบัดก้นไปแล้ว.
  36. สะบัดมือ : ก. ลุกไปทันทีเป็นเชิงเอาเปรียบหรือรู้มาก เช่น งานยัง ไม่ทันเสร็จก็สะบัดมือไปแล้ว กินอิ่มแล้วก็สะบัดมือไป.
  37. สะเออะ ๑ : ก. เสนอหน้าเข้าไปในสถานที่ที่ไม่สมควรเช่นในที่รโหฐานเมื่อไม่มี หน้าที่เกี่ยวข้อง, เจ๋อ, เช่น สะเออะไปนั่งเก้าอี้ประธาน, เสนอหน้าพูด เป็นต้นโดยไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เช่น นายยังไม่ทันถาม ก็สะเออะรายงาน.
  38. สั่ง ๑ : ก. บอกไว้เพื่อให้ทําหรือให้ปฏิบัติเป็นต้น เช่น ครูสั่งให้นักเรียนทำ การบ้าน แม่สั่งให้ถูบ้าน; บอกไว้อาลัยในการที่จะจากไป เช่น ฝนสั่งฟ้า ทศกัณฐ์สั่งเมือง อิเหนาสั่งถ้ำ สิ้นเสียงก็สิ้นสั่ง ตายไม่ทันสั่ง.
  39. หนักปาก : ว. ไม่ทันได้พูด เช่น คุยกันอยู่ตั้งนาน หนักปากไปหน่อย เลยไม่ได้ถามว่าชื่ออะไร.
  40. หมูสนาม : น. บุคคลหรือคณะบุคคลที่ด้อยฝีมือหรือมีเล่ห์เหลี่ยมไหวพริบ ไม่ทันผู้อื่น.
  41. หลงตา, หลงหูหลงตา : ว. ตกค้างอยู่โดยไม่เห็น, ปล่อยให้ผ่านสายตาไป โดยไม่ทันได้สังเกตเห็น.
  42. หัวเก่า : ว. นิยมของเก่า, นิยมตามแบบเก่า, (ปาก) ครึ, ไม่ทันสมัย.
  43. หูป่าตาเถื่อน : ว. รู้ไม่ทันเหตุการณ์เพราะอยู่ห่างไกลหรือไม่สนใจ เป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้ขนบธรรมเนียมว่าควรปฏิบัติ อย่างไรเพราะไม่ได้รับการอบรม เช่นคนสามัญเดินบนลาดพระบาท.
  44. อึกอัก : ว. อาการที่พูดไม่ออก ติดกึกกักอยู่ในคอเพราะกลัวหรือประหม่า เป็นต้น, กระอึกกระอัก หรือ อึก ๆ อัก ๆ ก็ว่า; เสียงอย่างเสียง ทุบกัน; ทันทีทันใด, ปุบปับ, ไม่ทันไตร่ตรอง, ไม่บอกกล่าวเล่าแจ้ง, เช่น อึกอักก็ไป อึกอักก็ด่า, เอะอะ ก็ว่า.
  45. เอะอะ : ก. อึกทึก, ทําเสียงดังโวยวาย; ทันทีทันใด, ปุบปับ, ไม่ทันไตร่ตรอง, ไม่บอกกล่าวเล่าแจ้ง, เช่น เอะอะก็ไป เอะอะก็ด่า, อึกอัก ก็ว่า.
  46. มัทนะ ๒ : [มัดทะนะ] น. กามเทพ. (ป., ส. มทน).
  47. [1-46]

(0.0731 sec)