ไม้เท้า : น. ไม้หรือสิ่งอื่น ๆ สําหรับถือยันตัวหรือเดิน, ไม้สักกะเท้า ก็เรียก; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อุตรภัทรบท มี ๒ ดวง, ดาวแรดตัวเมีย ดาวอุตตรภัทรบท หรือ ดาวอุตตรภัททะ ก็เรียก.
ไม้ ๑ : น. คํารวมเรียกพืชทั่วไป โดยปรกติมีราก ลําต้น กิ่ง ก้าน และใบ, เรียกเนื้อของ ต้นไม้ที่ใช้ทําสิ่งของต่าง ๆ มีลักษณะเป็นท่อน แผ่น หรือดุ้น เป็นต้น, คําประกอบ หน้าสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะยาวซึ่งทําด้วยไม้หรือเดิมทําด้วยไม้ เช่น ไม้กวาด ไม้พาย ไม้เท้า ไม้จิ้มฟัน, คํานําหน้าบอกประเภทต้นไม้ เช่น ไม้ยาง ไม้ดํา ไม้แดง, ท่ารําและท่าตีกระบี่กระบองท่าหนึ่ง ๆ เรียกว่า ไม้หนึ่ง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ท่าที เช่น เขาจะมาไม้ไหน, ลักษณนามเรียกของเช่นปลาย่างที่เสียบไม้เรียงเป็น ตับว่า ปลาไม้หนึ่ง ปลา ๒ ไม้, เรียกผ้าที่ม้วนโดยมีไม้อยู่ข้างในว่า ผ้าไม้หนึ่ง ผ้า ๒ ไม้; เรียกลักษณะของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมไทยที่ย่อตรงมุมของฐาน แท่น เสา หรือเครื่องยอดเป็นมุมเล็ก ๆ มุมละ ๓ มุม รวม ๔ มุมใหญ่ ได้ ๑๒ มุมเล็ก ว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง แม้ย่อมากกว่ามุมละ ๓ ก็ยังเรียกว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง.
ธารพระกร : [กอน] (ราชา) น. ไม้เท้า.
ไม้สักกะเท้า : น. ไม้เท้า.
ยัฐิ ๑ : [ยัดถิ] น. ไม้เท้า. (ป. ยฏ??; ส. ยษฺฏิ)
ยัษฏิ : [ยัดสะติ] น. ไม้เท้า. (ส.; ป. ยฏฺ??).
กัตรทัณฑ์ : [กัดตฺระ-] (แบบ) น. ไม้เท้าคนแก่ เช่น แล้วทรงธารพระกรกัตรทัณฑ์. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). (ป. กตฺตร = คนแก่ + ทณฺฑ = ไม้เท้า; ส. กรฺตฺร + ทณฺฑ).
ลัฐิ, ลฐิกา : [ลัดถิ, ลัดถิกา] น. ไม้เท้า, ไม้ถือ; ลําต้น, หน่อ; ต้นตาล. (ป. ลฏฺ??, ลฏฺ??กา).
แม่ท่า : น. แม่บท ท่าที่เป็นหลักของการรำ.
ไขลาน : (ปาก) ก. สั่ง, บอกให้ทํา, เช่น ต้องไขลานกันอยู่เรื่อย ไม่อย่างนั้น ไม่ทํา; หมดกําลัง, หมดแรง, เช่น พอขึ้นชกยกที่ ๕ นักมวยก็เริ่มไขลานแล้ว.
ทิ้งทวน : (ปาก) ก. ทําอย่างไว้ฝีมือ, ทําจนสุดความสามารถ, ไม่ทํา อีกต่อไป; ปล่อยฝีมือฝีปากเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะเลิกไป; ฉวย โอกาสทําเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะหมดอํานาจ.
แม่บท : น. หัวข้อใหญ่ เช่น ยกบาลีขึ้นมาเป็นแม่บท, หลัก เช่น โครงการแม่บท; ท่าที่เป็นหลักของการรํา, แม่ท่า ก็เรียก.