Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ไหว , then หว, ไหว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ไหว, 138 found, display 1-50
  1. ไหว : ก. สั่น, สะเทือน, กระดิก, เช่น ใบไม้ไหว. ว. สามารถทําได้ เช่น เดินไหว สู้ไหว กินไหว.
  2. ไหว : ว. อาการที่เคลื่อนไหวหรือพลิ้วไปมา เช่น ปลาแหวกว่ายกอบัวอยู่ไหว ๆ ลมพัดธงสะบัดอยู่ไหว ๆ, อาการที่เคลื่อนไหวอย่างเห็นไม่ชัด เช่น เห็น คนร้ายวิ่งหนีเข้าไปในพงหญ้าอยู่ไหว ๆ.
  3. ไหวติง : ก. กระดุกกระดิก, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ไหวติง.
  4. ไหวตัว : ก. ขยับตัว, รู้ตัวพร้อมที่จะรับเหตุการณ์.
  5. ไหวทัน : ก. รู้ทัน.
  6. ไหวพริบ : น. ปัญญาไวรู้เท่าทัน, เชาวน์ไว.
  7. โงง, โงงเงง : ก. โคลง, ไหว, ตั้งไม่ตรง, โยกโคลง, ตั้งอยู่ด้วยอาการไม่มั่นคง.
  8. ชิงไหวชิงพริบ : ก. ฉวยโอกาสโดยใช้ไหวพริบ, คอยจ้อง ดูชั้นเชิงของอีกฝ่ายหนึ่ง.
  9. ดอกไม้ไหว : น. ชื่อดอกไม้ประดิษฐ์ ทําด้วยกระดาษบ้าง ด้วยทองบ้างแล้ว เอาลวดเล็ก ๆ ขดทําเป็นต้นสั่นไหวได้.
  10. พริบไหว : น. ความรู้เท่าในกิจการ, ความรู้ทันท่วงที, โดยมากมักใช้ว่า ไหวพริบ.
  11. ไม่หวาดไม่ไหว : ว. ไม่รู้จักหมด เช่น กินไม่หวาดไม่ไหว.
  12. ยังไหว : ว. ยังพอสู้ได้, ยังพอทำได้, เช่น ยังทำไหวไหม ถ้ายังไหวก็จะ ไม่พัก.
  13. หวั่นไหว : ก. สั่นสะเทือน, โอนเอน, เช่น จิตใจหวั่นไหวไปตามอารมณ์, ครั่นคร้าม เช่น ไม่หวั่นไหวต่อภยันตรายใด ๆ. ว. อาการที่สั่นสะเทือน มาก (ใช้แก่เสียง) เช่น เสียงดังสนั่นหวั่นไหว.
  14. แผ่นดินไหว : น. การสั่นสะเทือนของแผ่นดินที่รู้สึกได้ ณ บริเวณใด บริเวณหนึ่งบนผิวโลก ส่วนใหญ่เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือก โลกที่รองรับผิวโลกอยู่ บางครั้งเกิดจากภูเขาไฟระเบิด.
  15. มีทองเท่าหนวดกุ้ง นอนสะดุ้งจนเรือนไหว : (สํา) ก. มีสมบัติเพียงเล็กน้อย แต่กังวลจนนอนไม่หลับ.
  16. อดรนทนไม่ได้, อดรนทนไม่ไหว : ก. ไม่สามารถจะอดทนต่อไปได้.
  17. อ่อนไหว : ว. มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายตามเหตุการณ์.
  18. กัมปี : (แบบ) ก. ไหว เช่น อันว่ามหาปรัตพีผืนผไทแท่น แผ่นผเทศมณฑล สกลกัมปี ดุจครวีไหวหว่นนป่นนไปมาเมื่อน้นน. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ป., ส. กมฺป)
  19. ยะยาน : (กลอน) ว. ไหว ๆ.
  20. วอมแวม, วอม ๆ แวม ๆ, ว็อมแว็ม, ว็อม ๆ แว็ม ๆ : ว. ลักษณะของแสงที่มองเห็นเรือง ๆ ไหว ๆ อยู่ในระยะไกล เช่น ในเวลากลางคืนพอมองเห็นแสงไฟวอมแวมอยู่ในที่ไกล ก็รู้สึกใจ ชื้นขึ้นมาหน่อย กระท่อมหลังนั้นคงมีคนอยู่ เพราะเห็นไฟวอม ๆ แวม ๆ อยู่ มีแสงไฟจากเรือหาปลาว็อมแว็ม.
  21. กรรมชวาต : [กำมะชะวาด] น. ลมเกิดแต่กรรม คือ ลมเกิดในครรภ์ เวลาคลอดบุตร ได้แก่ ลมเบ่ง เช่น พอถึงพระหัตถ์พระราชเทวีก็ทรง จับเอากิ่งรัง พอเกิดลมกรรมชวาตหวั่นไหวประชวรพระครรภ์. (ปฐมสมโพธิกถา). (สฺ กรฺม + ช = เกิด + วาต = ลม).
  22. กระช้อยนางรำ : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Codariocalyx motorius Ohashi ในวงศ์ Leguminosae ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ใบคู่ล่างเล็กกว่าและกระดิกไหวไปมาได้, ช้อยนางรํา ช้อยช่างรํา หรือ นางรํา ก็เรียก.
  23. กระดักกระเดี้ย : ว. ไม่มีแรง, ขยับเขยื้อนไม่ใคร่ได้, เกือบจะหมดกําลังกาย, เช่น เพิ่งหายไข้ใหม่ ๆ จะลุกจะนั่งก็กระดักกระเดี้ย, ไม่ใคร่ไหว เช่น หากินกระดักกระเดี้ย.
  24. กระดิก : ก. ไหว, ทําปลายอวัยวะเช่นมือหรือเท้าให้ไหว.
  25. กระดิกกระเดี้ย : ก. ไหวน้อย ๆ, พอไหวได้บ้าง.
  26. กระทดกระทวย : ว. ไหวน้อย ๆ แต่พองาม, กิริยาย่างกราย อย่างนวยนาด.
  27. กระเทือน : ก. มีอาการเหมือนไหวหรือสั่นเพราะถูกกระทบกระทั่ง เช่น นั่งรถที่แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกกระเทือน เสียงระเบิด ทำให้บ้านกระเทือน, โดยปริยายหมายความว่า รู้สึกหวั่นไหว เช่น เขาว่าลูกก็กระเทือนไปถึงแม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่กระเทือน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระเทือน, สะเทือน ก็ว่า.
  28. กระเทือนใจ : ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มากระทบ (มักใช้ในทางที่ไม่ดี), สะเทือนใจ ก็ว่า.
  29. กระเทือนซาง : (ปาก) ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างรุนแรงเพราะมีสิ่งใด สิ่งหนึ่งมากระทบใจ เช่น ว่าเท่าไร ๆ ก็ไม่กระเทือนซาง ถูกตำหนิ อย่างแรงทำให้รู้สึกกระเทือนซาง.
  30. กระเพื่อม : ก. อาการของสิ่งเหลวหรือนุ่มที่ไหวขึ้น ๆ ลง ๆ เช่น น้ำกระเพื่อม.
  31. กัมบน : [กําบน] (แบบ) ก. หวั่นไหว, กําบน ก็ว่า. (ป. กมฺปน). (ม. คําหลวง กุมาร, หิมพานต์).
  32. กัมป- , กัมปน- : [กําปะ-, กําปะนะ-] น. การหวั่นไหว, แผ่นดินไหว. (ป., ส.).
  33. กัมปนาการ : น. อาการคือการหวั่นไหว. (ป.).
  34. กัมปนาท : น. เสียงสนั่นหวั่นไหว. (ป. กมฺป + นาท).
  35. กำทวน : ว. สนั่น, หวั่นไหว, ก้อง, เช่น เสียงมฤคคชสีหไกรสร สีหนาทกําธร กําทวนข้างป่าหิมพานต์. (สมุทรโฆษ).
  36. กำธร : [-ทอน] ว. สนั่น, หวั่นไหว, สะเทือน, เช่น เสียงเทพอวยอาศิรวาท กำธรอากาศ ฦๅเลวงไชยไชย. (สมุทรโฆษ). (เทียบ ข. กํทร ว่าบรรลือเสียง, ตีรัว).
  37. กำบน : ก. กัมบน, หวั่นไหว, เช่น ปางน้นนไกรโกรมธาตุ เอาดอยราชเมรู แลนนทพนชูเปนเซรอด ก็เกอดพิการกำบน. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (มาจาก ป., ส. กมฺปน).
  38. กำเลา : (แบบ) ว. โง่, อ่อน, ไม่รู้เท่าทัน, ไม่มีไหวพริบ, เช่น ดุจตักแตนเต้นเห็นไฟ บมิใฝ่หนีไกล กำเลากำเลาะหวังเขญ. (อนิรุทธ). (ข. กํเลา จาก เขฺลา).
  39. ขยับ : [ขะหฺยับ] ก. เคลื่อนไหวหรือทําท่าว่าจะทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ขยับปากจะพูด ขยับปีกจะบิน ขยับดาบ; เลื่อนที่ เช่น ขยับตู้ใบนี้ เข้าไปให้ชิดฝา, กระเถิบ เช่น นั่งอยู่ห่างนัก ขยับเข้ามาให้ใกล้. ว. ค่อนข้าง, เกือบ, เช่น ขยับจะจริง.
  40. ข้อลำ : น. พละกำลัง เช่น ข้อลำอย่างนี้จะสู้งานหนักไหวหรือ.
  41. เข้มแข็ง : ก. แข็งแรงในการงาน, ขยันขันแข็ง, ไม่ย่อท้อหวั่นไหว.
  42. เขยียวขยอน : [ขะเหฺยียวขะหฺยอน] ว. สนั่น, หวั่นไหว, เกรียวกราว. (ข. เขฺญียวขฺญาร ว่า เจื้อยแจ้ว).
  43. เขยื้อน : [ขะเยื่อน] ก. ไหวตัวหรือเคลื่อนที่ไปเล็กน้อย, ทําให้ไหวตัวหรือให้ เคลื่อนที่ไปเล็กน้อย.
  44. เขลา : [เขฺลา] ว. ขาดไหวพริบ, รู้ไม่ถึง, รู้ไม่เท่าทัน, ไม่เฉียบแหลม, ไม่ฉลาด. (ข.).
  45. เข้าปิ้ง : ก. อาการที่ว่าวปักเป้าติดสายป่านว่าวจุฬาแล้วกระดิกไม่ไหว; อยู่ใน ความลําบากแก้ไขยาก, (ปาก) ถูกจับกุมคุมขัง, เข้าข่ายมีความผิดไปด้วย.
  46. แข็ง : ว. กระด้าง เช่น ลิ้นแข็ง; ไม่อ่อน, ไม่นิ่ม, เช่น เนื้อแข็ง ของแข็ง; กล้า เช่น แดดแข็ง; ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร, เช่น ใจแข็ง; แรง เช่น วันแข็ง ชะตาแข็ง, เข้มแข็ง, ทนทาน, เก่ง, เช่น ทํางานแข็ง วิ่งแข็ง; ว่ายาก เช่น เด็กคนนี้แข็ง; นิ่งไม่ไหวติง, ไม่กระดิกกระเดี้ย, เช่น ขาแข็ง ตัวแข็ง.
  47. คมกริบ : ว. คมมาก; ฉลาดทันคน, เฉียบแหลม, ไหวทัน.
  48. คมคาย : ว. ฉลาด, ไหวพริบดี, ทันคน, เช่น วาจาคมคาย พูดจาคมคาย สำนวนภาษาคมคาย, มีแววฉลาด เช่น หน้าตาคมคาย.
  49. คู่ชัก : น. เรือรูปสัตว์คู่หนึ่งซึ่งทำหน้าที่ชักลากเรือพระที่นั่งเมื่อแล่นทวนน้ำ หรือเมื่อไม่ประสงค์ให้เรือพระที่นั่งไหวขณะที่ทรงพระบรรทม เรียกว่า เรือคู่.
  50. งอม : ว. สุกจัดจนเกือบเน่าหรือเละ เช่น กล้วยงอม มะม่วงงอม, โดยอนุโลม ใช้กับคนที่แก่มากจนทำอะไรไม่ไหว เช่น ปีนี้คุณยายดูงอมมาก, โดย ปริยายหมายความว่า แย่ เช่น ถูกใช้ให้ทํางานเสียงอม, บอบชํ้า เช่น ถูกตีเสียงอม, ได้รับทุกข์ทรมานมาก เช่น เป็นไข้เสียงอม.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-138

(0.0578 sec)