กด ๒ : น. (๑) ชื่อปลาไม่มีเกล็ด มีหนวด หลายชนิด หลายขนาด ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง ครีบหลัง ตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมัน ส่วนใหญ่เป็นสกุล Arius ในวงศ์ Ariidae พบมากในเขตน้ำกร่อย เช่น กดแดง หรือ กดหัวโม่ง (A. caelatus) บางชนิดพบในทะเล เช่น กดทะเล หรือ ริวกิว (A. thalassinus), ที่อยู่ในสกุล Ketengus ได้แก่ กดหัวโต (K. typus), ในสกุล Hemipimelodus เช่น กดโป๊ะ (H. borneensis). (๒) ชื่อปลาน้ำจืดบางชนิดในสกุล Mystus วงศ์ Bagriidae ลักษณะทั่วไปคล้ายกด (๑) เช่น กดเหลือง ชงโลง หรือ กดขาว (M. nemurus) กดคัง (M. wyckii).
ก้นปล่อง : น. ชื่อยุงในสกุล Anopheles วงศ์ Culicidae มีหลายชนิด ที่พบเป็นสามัญเช่น ชนิด A. minimus ยุงเหล่านี้เวลาเกาะ หรือดูดเลือดคนหรือสัตว์ หัวจะปักลง ก้นชี้ขึ้น ผนังด้านล่าง ของส่วนท้องไม่มีเกล็ด ตัวเมียมีรยางค์ที่ปากยาวออกมา ๑ คู่ เช่นเดียวกับตัวผู้ ทําให้เหมือนกับมีปากเป็นสามแฉก ตัวเมียดูดเลือดและบางชนิดเป็นพาหะในการนําโรคมาสู่คน และสัตว์ เช่น โรคมาลาเรีย ตัวผู้กินน้ำหรือน้ำหวานจากดอกไม้.
กรอก ๒ : น. ชื่อนกยางขนาดเล็กในวงศ์ Ardeidae ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) หัวสีน้ำตาลแดง หลังสีเทา อมดำ อกสีแดง ยางกรอกพันธุ์ชวา (A. speciosa) หัวและคอสีเหลือง หลังสีเทาอมดำ อกสีเหลือง และยางกรอกพันธุ์อินเดีย (A. grayii) หัวและคอสีเหลือง หลังสีแดงเข้ม อกสีน้ำตาลเหลือง กินปลา.
กระต่ายจาม : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Centipeda minima (L.) A. Br. et Aschers ในวงศ์ Compositae ขึ้นตามพื้นที่ลุ่มต่ำ แฉะ ต้นเตี้ยติดดินคล้าย ต้นผักเบี้ย ใบเล็กเว้าข้างทั้ง ๒ ด้าน ปลายใบแหลมคล้ายสามง่าม ใบมีกลิ่นเหม็น ใช้ทํายาได้ แต่เป็นพิษต่อปศุสัตว์, กระต่ายจันทร์ สาบแร้ง หญ้ากระจาม หญ้าจาม หรือ เหมือดโลด ก็เรียก. (๒) ดู การบูรป่า.
กระถิน : น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นไม่มีหนามชนิด Leucaena leucocephala (Lam.) de Wit ในวงศ์ Leguminosae ช่อดอกกลม สีนวล ฝักแบน ใบอ่อนและฝักอ่อนใช้เป็นอาหาร, กระถินไทย กระถินบ้าน กระถินยักษ์ หรือสะตอเบา ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ตอเบา; ชื่อพรรณไม้หลายชนิดในสกุล Acacia วงศ์ Leguminosae เช่น กระถินพิมาน (A. tomentosa Willd.).
กระทุ่ม ๑ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ชนิด Anthocephalus chinensis (Lam.) A. Rich. ex Walp. ในวงศ์ Rubiaceae ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามลํากิ่งและในระหว่างใบมีหูใบรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมติดกับ กิ่งทั้ง ๒ ด้าน ดอกเป็นช่อกลมสีเหลืองอ่อนหอม เนื้อไม้เหลือง หรือขาว ใช้ทําเสากระดาน และเยื่อกระดาษชนิดเลวได้, กระทุ่มบกตะกู หรือ ตะโกส้ม ก็เรียก. (เทียบ ป. กทมฺพ).
กระบก : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Irvingia malayana Oliv. ex A. Benn. ในวงศ์ Irvingiaceae ใบรูปไข่ ผลเท่ามะกอกหรือมะปรางขนาดเขื่อง เมล็ดแข็ง เนื้อในขาว มีรสมัน กินได้, ตระบก มะมื่น หรือ มะลื่น ก็เรียก.
กฤษณา : [กฺริดสะหฺนา] น. ส่วนของเนื้อไม้ซึ่งมีสีดํา เกิดเมื่อต้นไม้มีบาดแผล พบเฉพาะในต้นไม้ชนิด Aquilaria crassna Pierre ex H. Lec. และ A. malaccensis Lam. ในวงศ์ Thymelaeaceae กลิ่นหอม ใช้ทํายาได้.
กำลังวัวเถลิง : [-ถะเหฺลิง] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Anaxagorea luzonensis A. Gray ในวงศ์ Annonaceae ใบเดี่ยว ออกสลับกัน ดอกสีขาวกลิ่นหอม, โคเถลิง ก็เรียก.
โกฐเขมา : [-ขะเหฺมา] น. ชื่อเรียกเหง้าและรากแห้งของไม้ล้มลุก หลายชนิดในสกุล Atractylodes วงศ์ Umbelliferae เช่น ชนิด A. lyrata Sieb. et Zucc., โกฐหอม ก็เรียก.
โกฐจุฬาลัมพา, โกฐจุฬาลำพา : น. ชื่อเรียกเรือนยอด (แห้ง) ที่กําลังมีดอกของพืช ๓ ชนิด ในสกุล Artemisia วงศ์ Compositae เช่น ชนิด A. vulgaris L.
โกฐสอ : น. ชื่อเรียกรากแห้งของไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Angelica วงศ์ Umbelliferae เช่น ชนิด A. sylvestris L., A. glabra Makino.
ขม ๒ :
น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกในสกุล Amaranthus วงศ์ Amaranthaceae มี หลายชนิด เช่น ผักขมหนาม (A. spinosus L.) ลําต้นมีหนาม ใช้ทํา ยาได้ ผักขมสวน (A. tricolor L.) ผักขมแดง (A. caudatus L.) ใบ สีแดง ปลูกเป็นไม้ประดับ, ผักโขม หรือ ผักโหม ก็เรียก. (๒) บวบขม. [ดู นมพิจิตร(๒)]. (๓) หวายขม. [ดู หวาย(๑)]. (๔) เทียนขม. (ดู เทียนขม ที่ เทียน๓). (๕) ชื่อบัวสายพันธุ์หนึ่งในสกุล Nymphaea ดอกเล็ก สีขาว สายกินได้ หัวมีรสขม.
ขวง ๑ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Glinus oppositifolius A. DC. ในวงศ์ Molluginceae ใช้ทํายาได้, ผักขวง สะเดาดิน หรือ ผักขี้ขวง ก็เรียก.
ขันทองพยาบาท : [-พะยาบาด] น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Suregada multiflorum (A. Juss.) Baill. ในวงศ์ Euphorbiaceae สูง ๕-๘ เมตร ใบรี หนา ด้านบนสีเขียวแก่เป็นมัน ผลกลมมี ๓ พู ขนาดกว้างประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร ใช้ทํายาได้.
เขือง : น. (๑) ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล Smilax วงศ์ Smilacaceae เถามี หนาม เหง้าแข็ง เช่น เขืองสร้อย (S. davidiana A. DC.) ดอกสีขาว อมเขียว ผลกลม สุกสีแดง. (๒) ดู กะตังใบ.
คู่ลำดับ : (คณิต) น. สิ่ง ๒ สิ่งที่จัดเข้าวงเล็บให้อยู่คู่กัน ซึ่งคํานึงถึง การเรียงลําดับก่อนหลังเป็นหลักสําคัญ โดยถือว่า (a, b) ต่างกับ (b, a).
แคฝอย : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Stereospermum วงศ์ Bignoniaceae เช่น ชนิด S. fimbriatum (Wall. ex G. Don) A. DC. ดอกสีชมพูอม ม่วงอ่อน ขอบกลีบดอกรุ่ยเป็นริ้วยาว ๆ ไม่เป็นระเบียบ.
จ้ำ ๓ : (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Ardisia วงศ์ Myrsinaceae บางชนิดดอกและยอดอ่อนกินได้เรียก ผักจํ้า เช่น ชนิด A. arborescens Wall. ex A. DC.
จำนวนจินตภาพ : (คณิต) น. จํานวนเชิงซ้อน a + bi เมื่อ b + o.
จำนวนเชิงซ้อน : (คณิต) น. จํานวนที่มีองค์ประกอบ ๒ ส่วน เขียนได้ เป็น a + bi โดย a และ b เป็นจํานวนจริง และ i๒ = -๑.
แฉลบ ๒ : [ฉะแหฺลบ] น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Acacia วงศ์ Leguminosae คือ แฉลบขาว (A. harmandiana Gagnep.) และ แฉลบแดง (A. leucophloea willd.) ดอกกลม ฝักรูปเคียวสีน้ำตาลเข้ม มีเปลือกสีขาว.
ดอกดิน : น. ชื่อพืชเบียนชนิด Aeginetia indica L. และชนิด A. pedunculata Wall. ในวงศ์ Orobanchaceae ลําต้นเป็นปุ่มปมเกาะเบียนรากหญ้า ดอกสีม่วงดํา อยู่พ้นพื้นดินขึ้นมา ใช้ทําขนม.
เด้าดิน : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Motacillidae ลําตัวสีนํ้าตาลลายดํา ปากแหลม ขา เรียวยาว หางยาว กินแมลง มีหลายชนิด เช่น เด้าดินสวน (Anthus hodgsoni) เด้าดินทุ่ง (A. novaeseelandiae) เด้าดินอกแดง (A. cervinus) เด้าดินอกสีชมพู (A. roseatus), กระเด้าดิน ก็เรียก.
เทียนตาตั๊กแตน : น. ชื่อเรียกผลแก่แห้งของผักชีลาว (Anethum graveolens L.) และไม้ล้มลุกชนิด A. sowa Roxb. ในวงศ์ Umbelliferae ใช้เป็นเครื่องเทศได้.
นกเขา ๑ : น. ชื่อเหยี่ยวในวงศ์ Accipitridae สีเทานํ้าตาลมีลายตลอดตัว อกสีนํ้าตาลลายกระขาว มักเกาะซ่อนตัวบนต้นไม้เพื่อคอยโฉบล่าเหยื่อ อยู่ตามลําพัง มีหลายชนิด เช่น เหยี่ยวนกเขาหงอน (Accipiter trivirgatus) เหยี่ยวนกเขาชิครา (A. badius) เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น (A. gularis).
นมชะนี : น. ชื่อไม้เถาชนิด Artabotrys burmanicus A. DC. ในวงศ์ Annonaceae ดอกสีเขียวอมขาว.
บุก ๑ : น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Amorphophallus วงศ์ Araceae ในต้นฤดูฝนจะออกดอกก่อน เวลาบานส่งกลิ่นเหม็นมาก เมื่อ ดอกโรยแล้วมีใบงอกออกมาเพียงใบเดียว ก้านดอกและใบกลม ยาว หน้าแล้งต้นตายเหลือหัวอยู่ใต้ดิน เช่น บุกคางคก(A. rex Prain ex Hook.f.) หัวกินได้, บุกรอ (A. saraburiensis Gagnep.) ใช้ทํายาได้.
ปรง : น. (๑) ชื่อเฟิน ๒ ชนิดในสกุล Acrostichum วงศ์ Pteridaceae ต้นเป็นกอขึ้นริมนํ้า ใบยาวเป็นทาง ใบอ่อนสีแดง กินได้ คือ ปรงทะเล (A. aureum L.) และ ปรงหนู (A. speciosum Willd.). (๒) ชื่อพรรณไม้ในกลุ่มพืชเมล็ดเปลือยหลายชนิดในสกุล Cycas วงศ์ Cycadaceae เป็นไม้ต้น ลําต้นกลม สีดําขรุขระ ใบเล็กยาวเรียงถี่ ๆ บนแกนกลาง เช่น ปรงญี่ปุ่น (C. revoluta Thunb.) ใบใช้ทําพวงหรีด ปรงเขา (C. pectinata Griff.).
ประคำดีควาย : น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Sapindus วงศ์ Sapindaceae คือ ชนิด S. trifoliatus L. ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๔-๖ ใบ และชนิด S. rarak A. DC. มีใบย่อย ๑๔-๓๐ ใบ ทั้ง ๒ ชนิด ผลกลมขนาดผลพุทรา ใช้ทํายาได้ เมื่อชงกับนํ้าร้อน ใช้ซักผ้าไหม หรือล้างเครื่องเพชรแทนสบู่ได้, มะคําดีควาย หรือ มะซัก ก็เรียก.
ปากขอ : น. ชื่อพยาธิตัวกลมขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Ancylostomatidae มีส่วนหัวโค้งงอคล้ายตาขอ ในช่องปากมีฟันแหลมหรือเป็นแผ่น ใช้เกาะเกี่ยวผนังลำไส้ อาศัยดูดกินเลือดมนุษย์และสัตว์ ขนาดเล็ก ที่สุดยาวประมาณ ๕ มิลลิเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดยาวประมาณ ๓๐ มิลลิเมตร เช่น ชนิด Necator americanus, Ancylostoma duodenale อยู่ในลำไส้เล็กของมนุษย์ ชนิด A. braziliense, A. ceylanicum อยู่ในลำไส้เล็กของสุนัขและแมว.
เป็ด ๒ : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Alternanthera วงศ์ Amaranthaceae เรียกว่า ผักเป็ด คือ ผักเป็ดขาว [A. sessilis (L.) DC.] ใบสีเขียว กินได้และใช้ทํายาได้, ผักเป็ดแดง [A. ficoidea (L.) Pal.] ใบสีแดง ปลูกเป็นไม้ประดับ.
เป็ดน้ำ : น. ชื่อนกในวงศ์ Anatidae ซึ่งมีปากแบน ปลายมน ตีนเป็นพังผืดว่ายนํ้าเก่ง กินพืชและสัตว์นํ้า บินได้เร็วมาก ตัวผู้ มักจะมีขนสีสวยกว่าตัวเมีย มักอยู่เป็นฝูง มีหลายชนิด เช่น เป็ดหอม หรือ เป็ดหางแหลม (Anas acuta) เป็ดลาย (A. querquedula) เป็ดแดง (Dendrocygna javanica).
ผมนาง : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Alectis ciliaris, A. indica และ Carangoides armatus ในวงศ์ Carangidae ลําตัวสั้น กว้าง แบนข้างมาก คอดหาง เล็ก เกล็ดละเอียด เว้นแต่ที่ส่วนท้ายของเส้นข้างตัว โดยเฉพาะ บริเวณคอดหางเกล็ดจะขยายใหญ่เป็นสันแข็ง มีกระดูกเป็นหนาม ๒ อัน โผล่อยู่หน้าครีบก้น ที่สําคัญคือ ต่างก็มีก้านครีบหลังตอนที่ ๒ และครีบก้นที่เป็นเส้นยาวมาก ลําตัวสีเงิน เฉพาะใกล้สันหลัง เป็นสีฟ้าอมเทา ในระยะที่เป็นปลาขนาดเล็กจะมีลายพาดขวางเป็น บั้งสีเทาอยู่หลายแถบ เส้นครีบที่เป็นลายยาวมีสีคลํ้าหรือดํา จึงได้ ชื่อว่า ผมนาง เฉพาะชนิด A. indica มีขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร.
ผึ้ง ๑ : น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Apidae มีปีกบางใส ๒ คู่ ปีกคู่หลัง เล็กกว่าปีกคู่หน้า ปากใช้ทั้งกัดอาหารและดูดกินของเหลวได้ ท้องปล้องแรกที่ติดกับอกเล็กมาก ปล้องที่ ๒ มีขนาดไล่เลี่ยกัน ปล้องที่เหลือมีขนาดไล่เลี่ยกับอก ยกเว้นปล้องสุดท้ายที่มีขนาด เล็กกว่ามีขนปกคลุมตามลําตัว รวมตัวอยู่เป็นฝูง แบ่งชั้นวรรณะ เก็บเกสรและนํ้าหวานดอกไม้มาทํานํ้าผึ้ง เช่น ผึ้งหลวง (Apis dorsata) ผึ้งโพรง (A. cerana) ผึ้งมิ้ม (A. florea) ผึ้งเลี้ยง (A. mellifera) ผึ้งหอยโข่ง (Trigona spp.) และหลายชนิดในวงศ์ Megachilidae ซึ่งเป็นผึ้งที่อาศัยอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่รวมตัวเป็นฝูง ไม่แบ่งชั้นวรรณะ ได้แก่ ผึ้งกรวย เช่น ชนิด Megachile griseopicta และผึ้งหลอด เช่น ชนิด Chalicodoma atrata, เผิ้ง ก็เรียก.
พวงหยก : น. ชื่อไม้เถาขนาดกลางชนิด Strongylodon macrobotrys A. Gray ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีหยกหรือสีนํ้าทะเล ออกเป็นช่อห้อยยาว.
พิลังกาสา : น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Ardisia วงศ์ Myrsinaceae ผลกลม เล็ก ๆ ใช้ทํายาได้ เช่น ชนิด A. colorata Roxb., A. pendulifera Pit., A. polycephala Wall. ex A. DC..
เพ็ก : น. ชื่อไผ่ ๒ ชนิดในวงศ์ Gramineae คือ ชนิด Arundinaria pusilla A. Cheval. et A. Camus ต้นเล็ก ขึ้นเป็นกอเดี่ยวหนาแน่นในป่า เบญจพรรณ, ไผ่เผ็ด หรือ หญ้าเพ็ก ก็เรียก, และชนิด Bambusa multiplex (Lour). Rไusch. ต้นเล็ก เนื้อปล้องเกือบตัน ขึ้นเป็นกอ ใช้ปลูกประดับได้.
มะกล่ำ : น. ชื่อพรรณไม้ ๓ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ มะกลํ่าตาช้าง หรือ มะกลํ่าต้น (Adenanthera pavonina L.) เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ฝักแก่บิดเป็นวง เมล็ดแข็งสีแดงใช้ทํายาได้, พายัพเรียก กํ่าต้น; มะกลํ่าตาหนู หรือ มะกลํ่าเครือ (Abrus precatorius L.) เป็นไม้เถา ฝักแก่ไม่บิด เมล็ดสีแดงจุดดํา มีพิษ รากและใบใช้ทํายาได้, พายัพเรียก กํ่าเคือ; อีกชนิดหนึ่งคือ มะกล่ำเผือก (A. fruticolosus wall. ex wight et Arnu.) คล้ายมะกล่ำตาหนูแต่เมล็ดสีขาว.
มะหาด : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Artocarpus วงศ์ Moraceae เช่น ชนิด A. lakoocha Roxb. ผลกลม ผิวขรุขระคล้ายขนุน แต่เล็กกว่ามาก รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ แก่นใช้ทํายาได้.
ยางพารา : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Hevea brasiliensis (A. Juss.) Muell. Arg. ในวงศ์ Euphorbiaceae เมื่อกรีดลําต้นได้นํ้ายางสีขาว ใช้ทําผลิตภัณฑ์หลาย ชนิด เช่น ยางรถ พื้นรองเท้า.
ยาดำ : น. ผลิตภัณฑ์ที่เตรียมจากนํ้ายางซึ่งได้จากการกรีดโคนใบตาม ขวางของพืชหลายชนิดในสกุล Aloe วงศ์ Liliaceae นําไปเคี่ยวให้งวด แล้วทิ้งไว้ให้แข็งตัวเป็นก้อน มีสีนํ้าตาลเข้ม กลิ่นไม่ชวนดม รสขม ใช้เป็นยาได้ ส่วนมากได้จากชนิด A. barbadensis Miller; โดยปริยาย หมายความว่า แทรกปนอยู่ทั่วไป.
ลาย ๒ : น. ชื่อยุงหลายชนิดในสกุล Aedes วงศ์ Culicidae ที่พบเป็นสามัญ ในบ้าน เช่น ชนิด A. aegypti ผนังด้านล่างของส่วนท้องมีเกล็ด เกล็ดตามลําตัวสีขาวเป็นแถบลายต่าง ๆ ตัดกับเกล็ดพื้นสีดําหรือ สีนํ้าตาลแก่ ตัวเมียมีรยางค์คู่ใกล้ปากสั้นกว่าตัวผู้ ก้นแหลม ปลาย ขาไม่มีแผ่นบางระหว่างเล็บเกาะดูดเลือดโดยลําตัวขนานกับพื้น บางชนิดนําโรค เช่นโรคไข้เลือดออก มาสู่คน.
วงเล็บ : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สําหรับใช้กันข้อความ ที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บ นั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ(ความอยาก ได้) โทสะ(ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน. (ป.; ส. ศิลา); ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้ ลายมือชื่อ เช่น ลายมือชื่อ (นายเสริม วินิจฉัยกุล) ลายมือชื่อ (กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์), ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็น หัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลข ที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรม สามค่ำเป็นสำคัญ(๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑), ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือ สัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 b2 = (a + b)(a b), Al2(SO4)3, นขลิขิต ก็ว่า.
วงเล็บปีกกา : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ { } สำหรับใช้ควง คำหรือข้อความซึ่งอยู่คนละบรรทัดเข้าด้วยกันเพื่อให้รู้ว่าเป็นกลุ่ม เดียวกันหรือเชื่อมโยงกัน อาจใช้เพียงข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ เช่น (มีรูปภาพ) ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นสมาชิกของเซตหรือกั้นกลุ่มตัวเลข หรือกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บแบบอื่นอยู่แล้วไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น A = {2, 4, 6, 8}, 2x 5{7 (x 6) + 3x} 28 = 39.
หอม ๑ : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวหลายชนิดในสกุล Allium วงศ์ Alliaceae กลิ่นฉุน ใช้ปรุงอาหาร เช่น หอมหัวใหญ่ หรือ หอมฝรั่ง (A. cepa L.), หอมหัว หรือ หอมแกง (A. ascalonicum L.) ชนิดหลังนี้มักเรียกผิดเป็น หอมแดง. (๒) ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งซึ่งกลายมาจากกล้วยป่า (Musa acuminata Colla) ผลยาว กลิ่นหอม ไม่มีเมล็ด.
ห่าน : น. ชื่อนกจําพวกเป็ดในวงศ์ Anatidae คอยาวกว่าคอเป็ดแต่สั้นกว่าคอหงส์ ทํารังบนดิน กินพืชและสัตว์เล็ก ๆ มีหลายชนิด เช่น ชนิด Anser anser, A. cygnoides ทั้ง ๒ ชนิดเป็นต้นตระกูลของห่าน ที่นํามาเลี้ยงกันทั่วไป.
หูหนู : น. (๑) ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Auricularia วงศ์ Auriculariaceae ขึ้นบน ขอนไม้ ดอกเห็ดเป็นแผ่นวุ้น สีนํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลดํา กินได้ เช่น ชนิด A. polytricha (Mont.) Sacc. สีนํ้าตาลอมม่วง นิยมเพาะเลี้ยงกันมาก, ชนิด A. delicata (Fr.) P. Henn. สีนํ้าตาลอ่อนอมเหลือง เนื้อบางนิ่มยืดหยุ่น, ชนิด A. fuscosuccinea (Mont.) Farlow สีนํ้าตาลดํา เนื้อกรอบกรุบ. (๒) จอกหูหนู.
เหงือกปลาหมอ ๒ : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Acanthus วงศ์ Acanthaceae ชนิด A. ebracteatus Vahl ขึ้นตามริมนํ้าบริเวณนํ้ากร่อย ดอกสีขาว ขอบใบ เป็นหนาม ชนิด A. ilicifolius L. ดอกสีม่วงอ่อน บางทีขอบใบเรียบ, จะเกร็ง หรือ อีเกร็ง ก็เรียก.
โหราเดือยไก่ : น. ชื่อเรียกรากแห้งของพืชหลายชนิดในสกุล Aconitum วงศ์ Ranunculaceae เช่น ชนิด A. fischeri Rchb., A. carmichaeli Debx., A. chasmanthum Stapf มีพิษร้ายแรง ใช้ทํายาได้.