Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: c, C , then c .

Royal Institute Thai-Thai Dict : c, 63 found, display 1-50
  1. กก ๓ : น. ชื่อไม้ล้มลุกในวงศ์ Cyperaceae เกิดในที่ชุ่มแฉะ ชนิดลําต้นกลมใช้ทอ หรือสานเสื่อ เรียกว่า กกกลม หรือ กกเสื่อ (Cyperus corymbosus Rottb., C. tegetiformis Roxb.) ที่ลําต้นเป็นสามเหลี่ยม เช่น กกลังกา (C. alternifolius L.) กกสามเหลี่ยม [Schoenoplectus grossus (L.f.) Palla] กกขนาก หรือ กกกระหนาก (C. difformis L.).
  2. กรด ๓ : [กฺรด] น. ชื่อไม้เถาชนิด Combretum tetralophum C.B. Clarke ในวงศ์ Combretaceae มักขึ้นในที่น้ำท่วม เช่น ตามฝั่งน้ำลําคลอง ใบโดยมากออกรอบข้อ ๒ หรือ ๓ ใบ ใบอ่อนสีม่วงดํา เมื่อแก่เปลี่ยน เป็นสีเขียว ผลมีสันแข็งเป็น ๔ ครีบ, เถาวัลย์กรด ก็เรียก; อีกชนิดหนึ่ง คือ C. trifoliatum Vent. มีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ผลมี ๕ ครีบ เช่น กรดกระถินอินจันพรรณไม้. (นิ. อิเหนา), สีเอยเจ้าสีสด เจ้าปลูก ต้นกรดไว้ริมท่า. (กล่อมเด็ก).
  3. กระเจา : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Corchorus วงศ์ Tiliaceae ขึ้นอยู่ในที่ลุ่ม เปลือกต้นเหนียว เมื่อลอกออกแล้ว เรียกว่า ปอ เช่น ปอกระเจาฝักกลม (C. capsularis L.) ผลป้อม เปลือกย่นเป็นตุ่ม ๆ ใบใช้เป็นอาหารได้, พายัพเรียก เส้ง, และ ปอกระเจาฝักยาว (C. olitorius L.) ฝักยาวเรียว มีสันตามยาว, เมล็ดของปอทั้ง ๒ ชนิด นี้มีพิษ ปอใช้ทํากระสอบ. (๒) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง. (ดู กระเชา).
  4. กระโดงแดง : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Bhesa robusta (Roxb.) Ding Hou ในวงศ์ Celastraceae ลําต้นแดงคล้ำ ใบยาวปลายแหลม เลื่อมเป็นมัน, ประดงแดง กระบกคาย ชมัน ละโมก หรือ พรมคด ก็เรียก. ๒) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด (Chionanthus microstigma (Gagnep.) Kiew ในวงศ์ Oleaceae ใบยาวรี หนาแข็ง ปลายใบแหลม ออกตรงข้ามกัน เมื่อแห้งหมาดใช้ มวนบุหรี่ได้ มีกลิ่นหอมฉุน, ประดงแดง หรือ ฝิ่นต้น ก็เรียก; และชนิด C. sangda (Gagnep.) Kiew ลักษณะทั่วไปคล้ายชนิดแรก แต่ต้นมีขนาดย่อมกว่า ค่อนไปทางไม้พุ่ม.
  5. กะปูด : น. ชื่อนกในวงศ์ Centropodidae ขนปีกสีน้ำตาลแดง ลําตัวสีดํา ร้องเสียง ''ปูด ๆ'' เดินหรือวิ่งหากินตามพื้นป่าโปร่ง บินได้ ในระยะทางสั้น ๆ มี ๓ ชนิด คือ กะปูดใหญ่ (Centropus sinensis) กะปูดเล็ก (C. bengalensis) และกะปูดนิ้วสั้น (C. rectunguis), ปูด ก็เรียก, พายัพเรียก ก้นปูด.
  6. กะเรกะร่อน : น. ชื่อกล้วยไม้หลายชนิดในสกุล Cymbidium วงศ์ Orchidaceae อิงอาศัยตามต้นไม้ ใบเขียวหนา ยาว ๒๐-๖๐ เซนติเมตร เช่น กะเรกะร่อนด้ามข้าว (C. bicolor Lindl.) ดอกสีขาว กะเรกะร่อนปากเป็ด (C. finlaysonianum Lindl.) ดอกสีเหลือง ปากสีแดงคล้ำ.
  7. กาแฟ ๒ : น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Coffea วงศ์ Rubiaceae เช่น ชนิด C. arabica L., C. canephora Pierre ex Froehner และ C. liberica Bull. ex Hiern ชนิดหลังนี้ กาแฟใบใหญ่ ก็เรียก, กาแฟเป็นพืชแถบทวีปแอฟริกา ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ เมล็ดแก่คั่วแล้วบด ใช้ชงเป็นเครื่องดื่ม ในเมล็ดกาแฟมีสารเคมี ชนิดหนึ่ง เรียกว่า กาเฟอีน.
  8. กุ่ม : น. ชื่อไม้ต้นในสกุล Crateva วงศ์ Capparidaceae ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย ๓ ใบ ดอกเป็นช่อ กลีบดอกสีขาวแล้วกลายเป็นสีเหลือง ผลกลมหรือรูปไข่ ผิวนอกแข็งและสาก ๆ สีเขียวนวล เช่น กุ่มบก [C. adansonii DC. subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs] กุ่มน้ำ [C. magna (Lour.) DC. และ C. religiosa Forst.f.].
  9. เก๊กฮวย : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Chrysanthemum วงศ์ Compositae ชนิด C. indicum L.ดอกเล็ก สีเหลือง กลิ่นหอม, เบญจมาศสวน ก็เรียก, และชนิด C. morifolium Ramat. พันธุ์ดอกเล็ก สีขาว กลิ่นหอม, เบญจมาศหนู ก็เรียก, ทั้ง ๒ ชนิดใช้ดอกตากแห้งชง กับใบชา หรือต้มกับน้ำตาลใช้ดื่มแก้กระหาย.
  10. ข้าวต้ม ๒ : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Wissadula periplocifolia (L.) C. Presl ex Thwaites ในวงศ์ Malvaceae ต้นสูงประมาณ ๑ เมตร เปลือกเหนียว ใบรูปใบโพ โคนป้าน ผลมี ๕ พู เมื่อแก่พูแยกออกจากกัน. (๒) ดู หญ้าขัดใบยาว ที่ หญ้าขัด.
  11. คมบาง : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Apluda mutica L. ในวงศ์ Gramineae ขอบใบคม. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Carex และ Scleria วงศ์ Cyperaceae เช่น ชนิด C. baccans Nees ผลสุกสีน้ำตาล และชนิด S. purpurascens Steud. ผลสุกสีขาว.
  12. คาร์บอน : น. ธาตุลําดับที่ ๖ สัญลักษณ์ C เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง มีหลายอัญรูป เช่น เพชร แกรไฟต์ คาร์บอนเป็นธาตุองค์ประกอบ ที่สําคัญที่สุดธาตุหนึ่งของสิ่งที่มีชีวิต. (อ. carbon).
  13. คุ่ม ๑ : น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Turnicidae และ Phasianidae ตัวกลม หางสั้น หากินตามพื้นดิน บินได้ในระยะทางสั้น ๆ วงศ์แรก ตีนมี ๓ นิ้ว ตัวผู้กกไข่ มี ๓ ชนิด คือ คุ่มอืดเล็ก (Turnix sylvatica) คุ่มอืดใหญ่ (T. tanki) และคุ่มอกลาย (T. suscitator) วงศ์หลังตีนมี ๔ นิ้ว มี ๓ ชนิด คือ คุ่มสี (Coturnix chinensis) คุ่มอกดํา (C. coromandelica) และคุ่มญี่ปุ่น (C. japonica).
  14. จระเข้ : [จอระ-] น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในวงศ์ Crocodylidae อาศัยบริเวณ ป่าริมนํ้า หนังเป็นเกล็ดแข็ง ปากยาวและปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของ รูจมูก เรียกว่า ก้อนขี้หมา หางแบนยาวใช้โบกว่ายนํ้า มักหากินในนํ้า ใน ประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จระเข้บึง จระเข้นํ้าจืด หรือ จระเข้สยาม (Crocodylus siamensis) จระเข้อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้นํ้าเค็ม (C. porosus) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (Tomistoma schlegelii), ตะเข้ หรือ อ้ายเข้ ก็เรียก, อีสานเรียก แข้, ปักษ์ใต้ เรียก เข้; ชื่อดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่ง; เรียกธงผืนผ้า มีรูปจระเข้ตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่านํ้าหน้าวัดแสดงว่าทอดกฐินแล้ว ว่า ธงจระเข้.
  15. ดาบลาว : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Chirocentrus dorab และ C. nudus ในวงศ์ Chirocentridae ปากเชิดขึ้น มีฟันแหลมคมมาก ลําตัวยาว แบนข้าง ท้อง เป็นสันแหลม แนวสันหลังและสันท้องตรงเกือบขนานกัน ครีบหลังและ ครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหาง ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก เกล็ดเล็กและบาง ด้านหลังลําตัวสีนํ้าเงิน ด้านข้างและท้องสีขาวเงิน, ฝักพร้า หรือ ดาบ ก็เรียก.
  16. ดาวกระจาย : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Cosmos วงศ์ Compositae คือ ชนิด C. caudatus H.B.K. ดอกสีม่วง ชมพู และขาว ใบเป็นจัก กินได้ และชนิด C. sulphureus Cav. ดอกสีเหลือง.
  17. ดุก : น. ชื่อปลานํ้าจืดทุกชนิดในสกุล Clarias และ Prophagorus วงศ์ Clariidae ไม่มีเกล็ด มีเงี่ยงเฉพาะที่ครีบอก ส่วนครีบหลังและครีบก้นยาวแต่ไม่ติดต่อ กับครีบหาง เช่น ดุกอุย (C. macrocephalus) ดุกด้าน (C. batrachus) ดุกลําพัน (P. nieuhofii).
  18. ตบ ๑ : น. ชื่อไม้นํ้าในวงศ์ Pontederiaceae มี ๒ ชนิด คือ ชนิด Monochoria hastata (L.) Solms ขึ้นตามท้องนาที่แฉะและนํ้านิ่ง ดอกสีนํ้าเงิน ยอดอ่อนและดอกกินได้, คำสุภาพเรียกว่า ผักสามหาว, และชนิด Eichhornia crassipes (C. Martius) Solms-Laub. ขึ้นตามลํานํ้า ทั่วไป ดอกสีม่วงอ่อน เรียกว่า ผักตบชวา.
  19. ตบยุง : น. ชื่อนกในวงศ์ Caprimulgidae ขนนุ่มสีนํ้าตาลเทา ลายกระขาว วางไข่ บนพื้นดิน หากินแมลงตามลําพังในเวลากลางคืน กลางวันจะพรางตัว ซ่อนอยู่ตามพื้นดิน มีหลายชนิด เช่น ตบยุงหางยาว (Caprimulgus macrurus) ตบยุงเล็ก (C. asiaticus), กระบ่า หรือ กระบ้า ก็เรียก.
  20. ตะโกก ๑ : น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดกลางบางชนิดและบางสกุล ในวงศ์ Cyprinidae หัวเสี้ยม ลําตัวยาวเรียว แบนข้างเล็กน้อย ครีบหลังมีก้านครีบตอนหน้า แข็ง ยาวคล้ายเงี่ยง พื้นลําตัวด้านหลังและ ครีบสีเทาอมฟ้าส่วนอื่นสีเงิน ที่สําคัญได้แก่ชนิดในสกุล Cyclocheilichthys เช่น ชนิด C. enoplos, C. dumeriliiสกุลอื่น ๆ เช่น ชนิด Cosmochilus harmandi, Albulichthys alburoides.
  21. ตะโกรม : [-โกฺรม] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในสกุล Crassostrea วงศ์ Ostreidae ลักษณะ เหมือนหอยนางรม แต่มีขนาดใหญ่ มีหลายชนิด เช่น ชนิด Crassostrea iredalei, C. belcheri, นางรมใหญ่ ก็เรียก.
  22. ตะเพียน : น. ชื่อปลานํ้าจืดบางชนิดของบางสกุลในวงศ์ Cyprinidae ส่วนใหญ่อยู่ในสกุล Puntiusและ Cyclocheilichthys หนวดสั้น เกล็ดสีขาวเงินขอบเรียบ ที่มี ลําตัวสั้นป้อม แบนข้าง เช่น ตะเพียนขาว (P. gonionotus) ตะเพียนทอง (P. altus) ตะเพียนหางแดง หรือ กระแห (P. schwanenfeldi) ส่วนที่มี ลําตัวเรียวกว่า เช่น ตะเพียนทราย(P. leiacanthus, C. apogon).
  23. บอน : น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในวงศ์ Araceae คือ ชนิด Colocasia esculenta (L.)Schott var. antiquorum (Schott) Hubb. et Rehder ขึ้นตามชายนํ้าหรือที่ลุ่มนํ้าขัง ยางคัน ก้านใบทําให้สุกแล้วกินได้ และอีกหลายชนิดในสกุล Caladium ใบมีสีและลายต่าง ๆ ปลูก เป็นไม้ประดับ เช่น บอนสี [C. bicolor (Ait.) Vent.] บอนเสวก (C. argyrites Lem.). ว. อาการที่ปากหรือมืออยู่ไม่สุข เรียกว่า ปากบอน หรือ มือบอน เช่น ซนมือบุกซุกมือบอน ซนปากบุก ซุกปากบอน.
  24. เบี้ย ๑ : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในสกุล Cypraea วงศ์ Cypraeidae เปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน หลังนูน ท้องแบน ช่องปาก ยาวแคบและไปสุดตอนปลายทั้ง ๒ ข้าง เป็นลําราง ริมปากทั้ง ๒ ด้านหยักหรือมีฟัน ไม่มีแผ่นปิด เรียกรวม ๆ ว่า หอยเบี้ย, เปลือกหอยเบี้ยชนิดที่คนโบราณใช้เป็นวัตถุกลางสําหรับซื้อ ขายสิ่งของ เรียกว่า เบี้ย เช่น เบี้ยจั่น หรือ เบี้ยจักจั่น ก็คือ เปลือก ของหอยเบี้ยชนิด C. moneta เบี้ยแก้ว หรือ เบี้ยนาง คือ เปลือก ของหอยเบี้ยชนิด C. annulus มีอัตรา ๑๐๐ เบี้ย เป็น ๑ อัฐ (เท่ากับ สตางค์ครึ่ง) จึงเรียกคําว่า เบี้ย เป็นเงินติดมาจนทุกวันนี้ เช่น เบี้ยประชุม เบี้ยประกัน เบี้ยเลี้ยงชีพ.
  25. เบี้ยแก้ : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยว ๒ ชนิด ในวงศ์ Cypraeidae คือ ชนิด Cypraea mauritiana เปลือกเรียกว่า เบี้ยแก้ใหญ่ หรือ เบี้ยอีแก้ ใช้ขัดผ้าให้เนื้อเรียบเป็นมัน ชนิด C. caputserpentis เปลือกเรียกว่า เบี้ยแก้ ใช้ทํายา.
  26. ปรง : น. (๑) ชื่อเฟิน ๒ ชนิดในสกุล Acrostichum วงศ์ Pteridaceae ต้นเป็นกอขึ้นริมนํ้า ใบยาวเป็นทาง ใบอ่อนสีแดง กินได้ คือ ปรงทะเล (A. aureum L.) และ ปรงหนู (A. speciosum Willd.). (๒) ชื่อพรรณไม้ในกลุ่มพืชเมล็ดเปลือยหลายชนิดในสกุล Cycas วงศ์ Cycadaceae เป็นไม้ต้น ลําต้นกลม สีดําขรุขระ ใบเล็กยาวเรียงถี่ ๆ บนแกนกลาง เช่น ปรงญี่ปุ่น (C. revoluta Thunb.) ใบใช้ทําพวงหรีด ปรงเขา (C. pectinata Griff.).
  27. ปล้อง ๒ : [ปฺล้อง] น. (๑) ชื่อหญ้าชนิด Hymenachne pseudointerrupta C. Muell. ในวงศ์ Gramineae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ต้นเป็นข้อ ๆ มีไส้ในระหว่างข้อเป็นปุยขาว. (๒) มะเดื่อปล้อง. (ดู มะเดื่อ).
  28. ปอ ๒ : น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เปลือกใช้ทําปอ เช่น ปอกระเจา (Corchorus capsularis L. และ C. olitorius L.) ในวงศ์ Tiliaceae, ปอกระสา [Broussonetia papyrifera (L.) Vent.] ในวงศ์ Moraceae, ปอแก้ว (Hibiscus cannabinus L.) ในวงศ์ Malvaceae, ปอสําโรง (Sterculia foetida L.) ในวงศ์ Sterculiaceae.
  29. เปล้า ๑ : [เปฺล้า] น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Croton วงศ์ Euphorbiaceae เช่น เปล้าใหญ่ (C. oblongifolius Roxb.) เป็นไม้ต้น, เปล้าน้อย (C. joufra Roxb. และ C. sublyratus Kurz) เป็นไม้พุ่ม ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ทั้ง ๓ ชนิดใบใช้ทํายาได้.
  30. โปรง : [โปฺรง] น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Ceriops วงศ์ Rhizophoraceae ใช้ทําฟืนและถ่านชนิดดี คือ โปรงขาว (C. decandra Ding Hou) และ โปรงแดง [C. tagal (L.M. Perry) C.B. Robinson].
  31. ผักเสี้ยน : น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Cleome วงศ์ Capparidaceae เช่น ผักเสี้ยนป่า (C. chelidonii L.) ดอกสีม่วง, ผักเสี้ยนขาว หรือ ผัก ส้มเสี้ยน (C. gynandra L.) ดอกสีขาวยอดดองแล้วกินได้, และ ผักเสี้ยนผี (C. viscosa L.) ดอกสีเหลือง ใช้ทํายาได้.
  32. พริก ๑ : [พฺริก] น. ชื่อไม้ล้มลุกในสกุล Capsicum วงศ์ Solanaceae ผลมีรส เผ็ด มีหลายชนิด เช่น พริกขี้หนู (C. frutescens L.), พริกหยวก พริกชี้ฟ้า (C. annuum L.).
  33. ม่ง ๑ : น. ชื่อหนึ่งของปลาทะเลในกลุ่มปลาหางแข็ง หางกิ่ว หรือสีกุน โดยเฉพาะที่มีขนาด กลางหรือขนาดใหญ่ในวงศ์ Carangidae มีลําตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หน้าครีบก้นมีหนามแข็ง ๒ อันพับได้ คอดหางแคบ เกล็ดบนเส้นข้างตัวใหญ่ เป็นเหลี่ยมแข็งโดยเฉพาะที่บริเวณคอดหาง ไม่มีสีฉูดฉาด อยู่รวมกันเป็นฝูง เช่น ชนิด Caranx sexfasciatus, C. melampygus, C. ignobilis, Carangoides gymnostethoides, C. fulvoguttatus และ Alectis ciliaris ปลาเหล่านี้บางชนิดอาจ โตยาวได้ถึง ๑.๔ เมตร, กะมง หรือ กะม่ง ก็เรียก.
  34. มดยอบ : น. ยางหอมสีแดงอมเหลืองหรือนํ้าตาลอมแดงได้จากรอยแตกของเปลือก หรือจากการกรีดเปลือกไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Commiphora วงศ์ Burseraceae เช่น ชนิด C. abyssinica (Berg) Engl., C. molmol Engl. ใช้ทํายา แต่งกลิ่น เครื่องสําอางและใช้ในพิธีทางศาสนา.
  35. เมาะ ๓ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Alocasia odora C. Koch ในวงศ์ Araceae ลําต้นอวบ ใบใหญ่ ก้านใบกินได้ มีมากทางภาคใต้.
  36. ระกำ ๑ : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Cathormion umbellatum (Vahl) Kosterm. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีขาว ฝักแบนบิดเป็นวง, ระกํานา หรือ ระกําป่า ก็เรียก. (๒) ชื่อปาล์มชนิด Salacca wallichiana C. Martius ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอ ก้านใบมีหนามแข็ง เนื้อฟ่าม ผลออกเป็นกระปุก กินได้.
  37. รางจืด : น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Thunbergia laurifolia Lindl. ในวงศ์ Acanthaceae ดอกสีม่วงอ่อน ออกเป็นช่อห้อย ใช้ทํายาได้, ยาเขียว ก็เรียก. (๒) ชื่อ พรรณไม้ ๓ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ ไม้พุ่มชนิด Crotalaria bracteata Roxb.,ไม้ล้มลุกชนิด C. shanica Lace และไม้เถาชนิด Millettia kityana Craib.
  38. ริ้น : น. ชื่อแมลงพวกตัวบึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าแมลงหวี่ ส่วนใหญ่อยู่ในสกุล Culicoides และ Leptoconops วงศ์ Ceratopogonidae เช่น ชนิด C. orientalis, L. spinosifrons.
  39. เรือด : น. ชื่อแมลงในวงศ์ Cimicidae ลําตัวแบนราบรูปไข่ ไม่มีปีก ยาว ๔–๕ มิลลิเมตรกว้างประมาณ ๓ มิลลิเมตร สีนํ้าตาลแดง อาศัยอยู่ตามที่นอน หมอนมุ้ง ร่องกระดาน เตียงนอน และพื้นบ้าน ดูดกินเลือดคนและสัตว์ ที่แพร่หลายมี ๒ ชนิดคือ ชนิด Cimex lectularius และ ชนิด C. hemipterus.
  40. ลาน ๒ : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Corypha วงศ์ Palmae คล้ายต้นตาล ใบใช้จารหนังสือ ทําหมวก เป็นต้น เช่น ชนิด C. umbraculifera L. ปลูกตามวัด, ชนิด C. lecomtei Becc. ขึ้นในป่าดิบ. ว. สีเหลืองนวล อย่างใบลาน เรียกว่า สีลาน.
  41. ลี่ ๑ : น. ชื่อมดขนาดยาว ๕–๖ มิลลิเมตร อยู่กันเป็นฝูงตามต้นไม้ ทํารัง ด้วยดินและวัสดุเศษไม้ตามซอกกิ่งไม้ ลักษณะคล้ายรังปลวก เวลาเดินจะยกท้องขึ้นเกือบตั้งฉากกับลําตัวคล้ายกับมีหางชี้ ที่พบ ได้บ่อยอยู่ในสกุล Crematogaster วงศ์ Formicidae คือ ชนิด C. dohrni หัวและอกสีส้ม ท้องสีดํา, รี่ หรือ ตูดงอน ก็เรียก.
  42. ส้ม ๑ : น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Citrus วงศ์ Rutaceae ใบ ดอก และผิวผลมีต่อมนํ้ามัน กลิ่นฉุน ผลรสเปรี้ยว หรือหวาน กินได้ เช่น ส้มซ่า (C. aurantium L.) ส้มโอ [C. maxima (Burm.) Merr.] ส้มแก้ว (C. nobilis Lour.) ส้มจุก ส้มเขียวหวาน ส้มจันทบูร (C. reticulata Blanco) ส้มเกลี้ยง ส้มเช้ง (C. sinensis Osbeck), ถ้าผลไม้จําพวกนี้มี มะ อยู่หน้า ต้องตัดคํา ส้ม ออก เช่น ส้มมะนาว ส้มมะกรูด เป็น มะนาว มะกรูด. ว. สีเหลือง เจือแดง เรียกว่า สีส้ม.
  43. หงส์ ๒ : [หง] น. ชื่อนกจําพวกเป็ดในวงศ์ Anatidae ลําตัวใหญ่ คอยาว มีหลายชนิด เช่น หงส์ขาว (Cygnus olor) หงส์ดํา (C. atratus).
  44. หนูผี : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Soricidae รูปร่างคล้ายหนูแต่ ตัวเล็กมาก ขาสั้น มีนิ้วตีนข้างละ ๕ นิ้ว หางยาว ขนนุ่มสั้น ใบหูเล็ก จมูกยื่นยาวออกมาเห็นได้ชัด ตาหยีเล็ก มุดหาแมลงกินตามกองไม้และ ใบไม้ที่กองทับถมกันนาน ๆ มีหลายชนิด เช่น หนูผีนา (Crocidura fuliginosa) หนูผีบ้าน (C. murina) หนูผีจิ๋ว (C. etrusca).
  45. หวาย : น. (๑) ชื่อเรียกปาล์มหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอ ลําผิวต้นยาวทอดเลื้อย เกลี้ยงเหนียว กาบและก้านใบมีหนาม เช่น หวายตะค้าทอง (Calamus caesius Blume), หวายขม (C. viminalis Willd.) หัวใช้ทํายาได้, หวายนํ้า (Daemonorops angustifolia Mart.). (๒) ชื่อกล้วยไม้ในสกุล Dendrobium วงศ์ Orchidaceae เช่น หวายตะมอย.
  46. หางไก่ : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Coilia macrognathus และ C. dussumieri ในวงศ์ Engraulidae ลําตัวแบนข้าง ตั้งแต่ปลายปากถึงครีบหลังกว้างเป็นรูป สามเหลี่ยมและเรียวเล็กยาวไปทางหาง เกล็ดเล็กหลุดง่าย ลําตัวจึงแลดู ใส ก้านครีบอกบางก้านยื่นยาวมากคล้ายหนวด ขนาดยาวประมาณ๒๕ เซนติเมตร.
  47. หางนกกะลิง : น. ชื่อพรรณไม้ ๓ ชนิดในสกุล Capparis วงศ์ Capparidaceae คือ ไม้เถา ชนิด C. sepiaria L. หนามโค้งลง C. pyrifolia Lam. หนามเหยียดตรง และไม้พุ่มชนิด C. radula Gagnep หนามโค้ง.
  48. เหลือง ๕ : [เหฺลือง] น. (๑) ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Caesio วงศ์ Pomadasyidae รูปร่างคล้ายปลากะพง ลําตัว ครีบ และหางสีเหลือง ครีบหางเป็นแฉกลึก มีเกล็ดถึงโคนครีบหลังและหาง เช่น ชนิด C. erythrogaster, C. chrysozonus. (๒) ชื่อปลาทะเลชนิด Halichoeres nigrescens ในวงศ์ Labridae ลําตัว แบนข้างค่อนข้างหนา สีเขียว ไม่มีเกล็ดที่แก้ม มีเส้นสีม่วงระหว่างตา พาดเฉียงจากตาไปที่แก้ม ๒-๓ เส้น ขนาดยาวประมาณ ๑๔ เซนติเมตร, เหลืองหิน ก็เรียก.
  49. อบเชย : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Cinnamomum วงศ์ Lauraceae ใช้ทํายาและปรุงนํ้าหอม เช่น อบเชยญวน หรือ ฝนแสนห่า (C. bejolghota Sweet), อบเชยจีน (C. aromaticum Nees), อบเชยเทศ (C. verum J. Presl).
  50. อูฐ : [อูด] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Camelidae หัว คอ และขา ทั้ง ๔ ยาว มีนิ้วตีนข้างละ ๒ นิ้ว กระเพาะมี ๓ ส่วน ไม่มีถุงนํ้าดี มี ๒ ชนิด คือ ชนิด ๒ หนอก (Camelus bactrianus) มีในประเทศจีน ปากีสถาน และอัฟกานิสถาน, ชนิดหนอกเดียว (C. dromedarius) มีในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ. (ป. โอฏฺ?; ส. อุษฺฏฺร).
  51. [1-50] | 51-63

(0.0666 sec)