Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: m, M , then m .

Royal Institute Thai-Thai Dict : m, 31 found, display 1-31
  1. กด ๒ : น. (๑) ชื่อปลาไม่มีเกล็ด มีหนวด หลายชนิด หลายขนาด ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง ครีบหลัง ตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมัน ส่วนใหญ่เป็นสกุล Arius ในวงศ์ Ariidae พบมากในเขตน้ำกร่อย เช่น กดแดง หรือ กดหัวโม่ง (A. caelatus) บางชนิดพบในทะเล เช่น กดทะเล หรือ ริวกิว (A. thalassinus), ที่อยู่ในสกุล Ketengus ได้แก่ กดหัวโต (K. typus), ในสกุล Hemipimelodus เช่น กดโป๊ะ (H. borneensis). (๒) ชื่อปลาน้ำจืดบางชนิดในสกุล Mystus วงศ์ Bagriidae ลักษณะทั่วไปคล้ายกด (๑) เช่น กดเหลือง ชงโลง หรือ กดขาว (M. nemurus) กดคัง (M. wyckii).
  2. กระท่อมขี้หมู : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลาง ๒ ชนิดในสกุล Mitragyna วงศ์ Rubiaceae ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ชนิด M. diversifolia (Wall. ex G. Don) Havil. ใบยาวรีเล็ก, กระทุ่มนา หรือ ตุ้มแซะ ก็เรียก; ชนิด M. rotundifolia (Roxb.) Kuntze ใบกลม โคนใบเว้า ขนาดใหญ่กว่าชนิดแรก, กระทุ่มขี้หมู กระทุ่มหมู หรือ ตุ้มกว้าว ก็เรียก.
  3. กระทิง ๓ : น. ชื่อปลาน้ำจืดในสกุล Mastacembelus วงศ์ Mastacembelidae ลําตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ปลายจะงอยปากบนเรียวแหลมคล้าย ปลาหลด แต่มีครีบหลังและครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง สีสดสวยกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า อาศัยอยู่ในแม่น้ำลําคลอง และที่ลุ่ม มีหลายชนิดในประเทศไทย ที่พบทั่วไป ได้แก่ ชนิด M. armatus, M. favus และกระทิงไฟ (M. erythrotaenia) ซึ่งมีขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร.
  4. กวางชะมด : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี ๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า.
  5. กว้างใหญ่ : ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
  6. กะลอ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมหลายชนิดในสกุล Macaranga วงศ์ Euphorbiaceae มักขึ้นในป่าใสในที่ชุ่มชื้น ก้านใบล้ำอยู่ใต้โคนใบ เช่น ชนิด M. tanarius Muell. Arg.
  7. เก้ง : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องในวงศ์ Cervidae ตัวเล็ก ขนสีน้ำตาล จนถึงน้ำตาลเข้ม หน้าผากเป็นสันเห็นได้ชัดเจน ตัวผู้มีเขาและเขี้ยว ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด ที่รู้จักกันทั่วไปคือ อีเก้ง หรือฟาน (Muntiacus muntjak) อีกชนิดหนึ่งคือ เก้งหม้อ หรือ เก้งดํา (M. feae) ตัวโตกว่าชนิดแรก ขนสีน้ำตาลแก่เกือบดํา ที่หัวมีขนลักษณะคล้าย จุกสีเหลืองแซมดํา, ปักษ์ใต้เรียก กวางจุก.
  8. โคลงเคลง ๒ : [โคฺลงเคฺลง] น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Melastoma วงศ์ Melastomataceae ดอกสีชมพูหรือม่วงแดง เช่น ชนิด M. malabaricum L.
  9. จิงโจ้ ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Macropodidae ขาคู่หน้าสั้น คู่หลังยาวและแข็งแรง ใช้กระโดดได้ไกล ๆ หางยาวและแข็งแรง ใช้เป็นอวัยวะช่วยในการทรงตัว ตัวเมียออกลูกเป็นตัวไม่มีรกติดออกมา มีถุงที่หน้าท้องสําหรับใส่ลูก มีหลายชนิด เช่น ชนิด Macropus rufus, M. giganteus มีถิ่นกําเนิดในทวีปออสเตรเลีย.
  10. ชบาหนู : น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิด ในสกุล Malvaviscus วงศ์ Malvaceae ลักษณะคล้ายดอกชบาแต่ดอกเล็กกว่าและไม่บาน ชนิด M. arboreus Cav.ดอกตั้ง ชนิด M. penduliflorus DC. ดอกห้อยลง.
  11. เด้าลม : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Motacillidae ตัวเรียวเล็ก หางยาว มักยกหาง ขึ้น ๆ ลง ๆ พร้อมกับโคลงหัวไปมาเวลาเดิน กินแมลง มีหลายชนิด เช่น เด้าลมหลังเทา (Motacilla cinerea) เด้าลมเหลือง (M. flava) เด้าลมดง (Dendronanthus indicus), กระเด้าลม ก็เรียก.
  12. ตะบูน : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ในสกุล Xylocarpus วงศ์ Meliaceae ขึ้นตามป่าชายเลน และริมแม่นํ้าที่นํ้าเค็มขึ้นถึง มี ๒ ชนิด คือ ตะบูนขาว หรือ กระบูน (X. granatum Koenig) เปลือกสีนํ้าตาลแกมแดง ผลขนาดส้มโอ และ ตะบูนดํา [X. moluccensis (Lam.) M. Roem.] เปลือกสีนํ้าตาลแกมดํา ผลขนาดส้มเกลี้ยง.
  13. พริก ๓ : [พฺริก] น. ชื่องูพิษขนาดเล็กในสกุล Maticora วงศ์ Elapidae ตัวขนาด ดินสอดําแต่ยาวมาก สีสวย ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ พริกท้องแดง (M. bivirgata) และ พริกสีนํ้าตาล (M. intestinalis).
  14. พลอง ๑ : [พฺลอง] น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิด ในสกุล Memecylon วงศ์ Melastomataceae เนื้อละเอียดและแข็ง เช่น พลองขี้นก (M. floribundum Blume) พลองเหมือด (M. edule Roxb.).
  15. โพระดก : น. ชื่อนกในวงศ์ Megalaimidae ตัวอ้วนป้อมสีเขียว หน้าสีแดง เหลือง หรือนํ้าตาลแล้วแต่ชนิด ปากหนาแข็งแรง ปลายแหลมใหญ่ มีขนแข็งตรงโคนปาก กินผลไม้ มีหลายชนิด เช่น โพระดกธรรมดา (Megalaima lineata) โพระดกหูเขียว (M. faiostricta)โพระดกคอสีฟ้า (M. asiatica).
  16. มะม่วง ๑ : น. ชื่อไม้ต้นในสกุล Mangifera วงศ์ Anacardiaceae มีหลายชนิดและหลายพันธุ์ เช่น อกร่อง พิมเสน ซึ่งเป็นชนิด M. indica L., กะล่อน หรือ ขี้ไต้ เป็นชนิด M. caloneura Kurz ใบอ่อนและผลใช้เป็นอาหาร.
  17. ยม ๓ : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Meliaceae เช่น ยมหิน (Chukrasia tabularis Juss.) ยมหอม (Toona ciliata M. Roem.).
  18. ราหู ๒ : น. ชื่อปลากระเบนทะเลในสกุล Mobula วงศ์ Mobulidae ลักษณะทั่วไป คล้ายปลากระเบนนกมีเนื้อยื่นเป็นแผ่นคล้ายใบหูอยู่ที่มุมขอบนอกปลาย สุดของหัวข้างละอันใช้โบกพัดอาหารเข้าปากด้านบนลําตัวสีดํา เช่น ชนิด M. japonicus, M. diabolus เฉพาะชนิดแรก มีแถบสีขาวพาดโค้งอยู่ด้าน ซ้ายของส่วนหัว.
  19. ละมุด : น. (๑) ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Manilkara วงศ์ Sapotaceae ผลสุก รสหวาน กินได้ คือ ละมุดฝรั่ง [M. zapota (L.) P. Royen] ผลสุกสี นํ้าตาล, ละมุดสีดา หรือ ละมุดไทย [M. kauki (L.) Dubard] ผลสุก สีแดงคลํ้า. (๒) เรียกขนุนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อเหลว ว่า ขนุนละมุด. (ดู ขนุน๑).
  20. ลิ่น : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Manidae ที่พบในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ชนิด Manis javanica ตัวยาว หางยาว เกล็ดหนาแข็ง ม้วนตัวได้ กินมดและปลวก และชนิด M. pentadactyla ตัวเล็กกว่า และมีโอกาสพบได้น้อยกว่าชนิดแรก, นิ่ม ก็เรียก.''
  21. สาคู ๑ : น. (๑) ชื่อปาล์ม ๒ ชนิดในสกุล Metroxylon วงศ์ Palmae คือ ชนิด M. sagus Rottb. กาบใบไม่มีหนาม และชนิด M. rumphii Mart. กาบ ใบมีหนาม, ทั้ง ๒ ชนิด ใบใช้มุงหลังคา ไส้ในลําต้นแก่ใช้ทําแป้ง เรียกว่า แป้งสาคู. (เทียบ ม. sagu). (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Maranta arundinacea L. ในวงศ์ Marantaceae ต้นขนาดต้นขมิ้น เหง้าใช้ทําแป้งและต้มกิน.
  22. หนาม ๒ : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวในสกุล Murex วงศ์ Muricidae เปลือกมีหนามสั้น หรือยาวโดยรอบ เช่น ชนิด M. trapa.
  23. หมามุ่ย, หมามุ้ย : น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล Mucuna วงศ์ Leguminosae ฝักมีขนคัน มาก เช่น ชนิด M. gigantea DC. ฝักแบนใหญ่, ชนิด M. pruriens DC. ฝักกลม ขนาดเล็กกว่าชนิดแรก.
  24. ผักไหม : ดู กระพังโหม.m
  25. กะลา ๒ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Etlingera elatior (Jack) R.M. Smith ในวงศ์ Zingiberaceae ต้นคล้ายข่า สูง ๓-๔ เมตร ช่อดอกคล้าย บัวตูมแต่กลีบแข็ง สีชมพูหรือแดง มีดอกเล็ก ๆ แน่นเป็นกระจุก อยู่ภายใน ก้านช่อดอกผุดขึ้นจากดินและยาวได้ถึง ๑ เมตร หน่อและดอกอ่อนใช้เป็นอาหาร, กาหลา ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ปุดกะลา.
  26. กะหลาป๋า ๒ : น. ชื่อชมพู่พันธุ์หนึ่งของชนิด Syzygium samalangense (Blume) Merr. et L.M. Perry ผลสีเขียว รสหวาน เรียกว่า ชมพู่กะหลาป๋า เป็นพรรณไม้ชวา.
  27. กานพลู : [-พฺลู] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Syzygium aromaticum (L.) Merr. et L.M. Perry ในวงศ์ Myrtaceae ดอกตูมมีรสเผ็ดร้อน ตากแห้งแล้วใช้เป็นเครื่องเทศและทํายา. (ทมิฬ กิรามบู).
  28. ชมพู่ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางหลายชนิดในสกุล Syzygium วงศ์ Myrtaceae ผลกินได้ เช่น ชมพู่แก้มแหม่ม [S. samarangense (Blume) Merr. et L.M. Perry] ชมพู่นํ้าดอกไม้ [S. jambos (L.) Alston] ชมพู่สาแหรก [S. malaccensis (L.) Merr. et L.M. Perry].
  29. โปรง : [โปฺรง] น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Ceriops วงศ์ Rhizophoraceae ใช้ทําฟืนและถ่านชนิดดี คือ โปรงขาว (C. decandra Ding Hou) และ โปรงแดง [C. tagal (L.M. Perry) C.B. Robinson].
  30. มะเกี๋ยง : (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Cleistocalyx operculatus (Roxb.) Merr. et L.M. Perry var. paniala (Roxb.) P. Chantaranothai et J. Parn. ในวงศ์ Myrtaceae ผลสุกสีม่วงดํา กินได้.
  31. เมตร : [เมด] น. หน่วยวัดความยาวอย่างหนึ่งตามวิธีเมตริก กําหนดเทียบเท่ากับ ๑๐๐ เซนติเมตร หรือ ๒ ศอก. (ฝ. m?tre).
  32. [1-31]

(0.0606 sec)