กระจง : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องในวงศ์ Tragulidae ที่เล็กที่สุด รูปร่างคล้ายกวาง แต่ไม่มีเขา ตัวผู้มีเขี้ยวแหลมคมงอกออกมาซึ่งมีผู้นิยมใช้เป็นเครื่องราง มี ๒ ชนิด คือ กระจงควาย (Tragulus napu) สูงราว ๓๕ เซนติเมตร และกระจงเล็ก (T. javanicus) สูงราว ๒๕ เซนติเมตร, พายัพเรียก ไก้. (มลายู กันจิล).
กระดี่ ๑ : น. ชื่อปลาน้ำจืดในสกุล Trichogaster วงศ์ Anabantidae เช่นเดียวกับปลาสลิดแต่มีขนาดเล็กกว่า ครีบท้องยาวยื่นเป็นเส้น มี ๓ ชนิด คือ กระดี่หม้อ (T. trichopterus) ข้างตัวมีลายหลายเส้น พาดขวาง มีจุดดําที่กลางลําตัวและคอดหางแห่งละ ๑ จุด, สลาก หรือ สลาง ก็เรียก, กระดี่นาง (T. microlepis) สีขาวนวล และ กระดี่นางฟ้า หรือ กระดี่มุก (T. leeri) พบเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม, บางท้องถิ่นในแถบอีสานเรียก กระเดิด.
กระแต ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Tupaiidae รูปร่างคล้ายกระรอก แต่อยู่ต่างวงศ์กันและมีขนาดเล็กกว่า ปากแหลม ไม่มีฟันแทะ กินทั้งสัตว์และผลไม้ มีหลายสกุลและหลายชนิด เช่น กระแตธรรมดา (Tupaia glis) กระแตเล็ก (T. minor) กระแตหางขนนก (Ptilocercus lowi) เชื่อกันทางวิชาการว่า เป็นสัตว์กลุ่มต้นกําเนิดสายวิวัฒนาการของลิงและมนุษย์; ดอกไม้ประดิษฐ์เป็นรูปกระแตเกาะติดกับช่อใบแก้ว ทำด้วยดอกพุทธชาดเป็นต้น ใช้เป็นของชำร่วย.
กระถิก, กระถึก : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Sciuridae รูปร่างคล้ายกระรอก ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน ลําตัวสีน้ำตาล มีลายสีขาวดําพาดขนานตามยาว ของลําตัวตั้งแต่จมูกถึงโคนหาง ชอบอยู่ตามต้นไม้สูง ๆ กินแมลง และผลไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ กระถิกขนปลายหูยาว (Tamiops rodolphei) และกระถิกขนปลายหูสั้น (T. macclellandi), กระเล็น ก็เรียก.
กริม : [กฺริม] น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กในสกุล Trichopsis วงศ์ Anabantidae พบทั่วไป รูปร่างคล้ายปลากัด ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่หัวแหลมกว่า และสีไม่สดสวย มักมีแถบสีเข้มพาดตลอดข้างตัว ๒-๓ แถบ ที่พบมากได้แก่ กริมข้างลาย (T. vittatus), กัดป่า ก็เรียก.
โกฐพุงปลา : น. ชื่อเรียกสิ่งที่นูนปูดขึ้นมาตามกิ่งและใบของไม้ต้น หลายชนิดในสกุล Terminalia วงศ์ Combretaceae เช่น สมอไทย (T. chebula Retz.), อีสานเรียก ปูดกกส้มมอ.
ข้างลาย : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Therapon และ Pelates วงศ์ Theraponidae มีเส้นดำข้างลำตัวข้างละ ๔-๖ เส้น แล้วแต่ชนิด อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลและบริเวณน้ำกร่อย เช่น ชนิด T. jarbua, P. quadrilineatus, ข้างตะเภา ออดแอด หรือ ครืดคราด ก็เรียก.
คุ่ม ๑ : น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Turnicidae และ Phasianidae ตัวกลม หางสั้น หากินตามพื้นดิน บินได้ในระยะทางสั้น ๆ วงศ์แรก ตีนมี ๓ นิ้ว ตัวผู้กกไข่ มี ๓ ชนิด คือ คุ่มอืดเล็ก (Turnix sylvatica) คุ่มอืดใหญ่ (T. tanki) และคุ่มอกลาย (T. suscitator) วงศ์หลังตีนมี ๔ นิ้ว มี ๓ ชนิด คือ คุ่มสี (Coturnix chinensis) คุ่มอกดํา (C. coromandelica) และคุ่มญี่ปุ่น (C. japonica).
โคน ๒ : น. ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Termitomyces วงศ์ Amanitaceae ขึ้น บริเวณจอมปลวก ดอกเห็ดรูปร่ม ยอดแหลม สีขาวนวลจนถึง นํ้าตาลดํา ด้านล่างมีครีบก้านยาวตั้งตรง โคนเรียวเล็กหยั่งลึกลงไป ถึงรังปลวก กินได้ เช่น ชนิด T. fuliginosus Heim.
ช้องนาง : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Thunbergia erecta T. Anders. ในวงศ์ Acanthaceae ดอกสีม่วงนํ้าเงินเข้มหรือขาว หลอดดอก ด้านในสีเหลืองเข้ม.
ดาดตะกั่ว ๒ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Hemigraphis alternata T. Anders. ในวงศ์ Acanthaceae ใบสีเทา ด้านล่างสีแดง ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน ปลูกเป็นไม้ประดับ.
ดิน ๒ : น. ชื่องูในวงศ์ Typhlopidae ขนาดเล็กมากประมาณเท่าไส้ดินสอดํา ตัวสีดํา หรือนํ้าตาลเข้มเกล็ดเรียบเป็นมัน อาศัยตามดินร่วนที่มีความชื้น ไม่มีพิษ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น งูดินโคราช (Typhlops khoratensis) งูดิน ตรัง (T. trangensis).
ตัวตืด : น. ชื่อพยาธิในชั้น Cestoda ตัวแบนเป็นปล้องเรียงต่อกันเป็นแถบยาว หัวมี อวัยวะใช้เกาะยึด ถัดจากหัวเป็นคอซึ่งเป็นส่วนที่สร้างปล้องออกมาเรื่อย ๆ บางชนิดมีเพียง ๒-๓ ปล้อง บางชนิดมีถึง ๑,๐๐๐ ปล้อง ปล้องท้ายสุดเกิดก่อน ปล้องถัดจากคอเกิดหลังสุด แต่ละปล้องมีอวัยวะทั้งเพศผู้และเพศเมียรวมอยู่ ด้วยกัน มักอาศัยดูดอาหารในลําไส้ของมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลัง ทําให้ เป็นโรคโลหิตจาง ถ้ามีจํานวนมากจะไปกั้นทางเดินอาหาร ทําให้มีอาการปวด ท้องอย่างรุนแรง มีหลายชนิดและหลายวงศ์ เช่น ชนิด Taenia solium ซึ่งตัวอ่อน เรียก เม็ดสาคู อยู่ในเนื้อหมู ชนิด T. saginata ซึ่งตัวอ่อนอยู่ในเนื้อวัว, ทั้ง ๒ ชนิด อยู่ในวงศ์ Taeniidae และเป็นพยาธิในลําไส้เล็กของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วย นมบางชนิด.
บานเช้า : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Turnera วงศ์ Turneraceae ดอกบาน เวลาเช้า ชนิด T. subulata G.E. Smith ดอกสีนวล ชนิด T. ulmifolia L. ดอกสีเหลืองอ่อน.
เปล้า ๒ : [เปฺล้า] น. ชื่อนกในวงศ์ Columbidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเขา และนกพิราบ ลําตัวสีเขียวเห็นได้ชัด แต่ละชนิดแตกต่างกันตรงสี ที่หน้าอกและไหล่ซึ่งอาจมีสีม่วงหรือนํ้าตาล กินผลไม้ หากินเป็นฝูง มีหลายชนิด เช่น ชนิด Treron curvirostra ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เปล้าขาเหลือง (T. phoenicoptera) เปล้าคอสีม่วง (T. vernans) เปล้าใหญ่ปักษ์ใต้ (T. capellei), เขาเปล้า ก็เรียก, พายัพเรียก เป้า.
พุด : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Gardenia วงศ์ Rubiaceae เช่น พุด หรือ ข่อยด่าน (G. collinsae Craib) ดอกสีขาว กลิ่นหอม เนื้อไม้ละเอียด สีนวล ใช้แกะสลัก, พุดจีน หรือ พุดซ้อน (G. jasminoides Ellis) ดอกสีขาว กลิ่นหอม พันธุ์กลีบดอกซ้อน ไม่ติดผล พันธุ์กลีบดอกไม่ซ้อนผลใช้แต่งสีให้สีเหลือง. (๒) ชื่อ ไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Taberneamontana วงศ์ Apocynaceae เช่น พุดจีบ หรือ พุดสวน [T. divaricata (L.) Roem. et Schult.] ดอกสีขาว ใช้ดอกตูมร้อยพวงมาลัย.
ไม้ฉาก : น. เครื่องมือเขียนแบบก่อสร้าง ชุดหนึ่งมี ๓ อัน อันหนึ่งมีรูปอย่าง พยัญชนะรูป T อันหนึ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มุมหนึ่งมี ๙๐? อีก ๒ มุม มุมละ ๔๕ ? และอันหนึ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มุมหนึ่งมี ๙๐? อีก ๒ มุม มุมหนึ่งมี ๖๐? กับอีกมุมหนึ่ง ๓๐?; ไม้ดัดแบบหนึ่งซึ่งดัดลำต้น และกิ่งให้เป็นมุมฉาก.
สมอ ๒ : [สะหฺมอ] น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Terminalia วงศ์ Combretaceae ใช้ทํายาได้ เช่น สมอไทย (T. chebula Retz.), สมอพิเภก [T. bellirica (Gaertn.) Roxb.], สมอดีงู [T. citrina '' (Gaertn.) Roxb. ex Flem.].
แหน ๒ : [แหนฺ] (ถิ่น-อีสาน) น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Terminalia วงศ์ Combretaceae เช่น แหนนา (T. glaucifolia Craib).