กระทั่ง : ก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. (นิ. เพชร); ทําให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตร กระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. (คาวี), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. บ. จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขา ก็ยังไม่เว้น.
กระทั่งติด : ดู มวก.
กระแท่น : ก. แทบถึง, ถึงทีเดียว, กระทั่ง, คําใช้ในบทร้องของเด็ก ในความว่า พายเรืออกแอ่นกระแท่นต้นกุ่ม, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระท่อน เป็น กระท่อนกระแท่น.
ถึง : ก. บรรลุจุดหมาย เช่น เมื่อไรจะถึง; รับนับถือ, ยึดถือ, เช่น ถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก; โดยปริยาย หมายความว่า เท่าทัน, ทัดเทียม, เช่น เขาถึงกัน มีความรู้ไม่ถึง ฝีมือไม่ถึง. ว. มากพอ เช่น ถึงเกลือ ถึงนํ้าตาล ถึงเครื่อง. บ. สู่, กระทั่ง, ยัง, เช่นไปถึงบ้าน; จนกระทั่ง เช่น ถึงนํ้าตาตก ถึงลุกไม่ขึ้น, ถึงแก่ ถึงกับ ถึงกะ ก็ว่า; ใช้เป็นคําจ่าหน้าในจดหมายระบุตัวผู้รับ. สัน. แม้ เช่น ถึงเขาจะเป็นเด็ก เขาก็มีความคิด; (ปาก) จึงเช่น ทําอย่างนี้ถึงจะดี.
กระทบกระทั่ง : ก. แตะต้อง, ทําให้กระเทือนถึง, ทําให้กระเทือนใจ.
Royal Institute Thai-Thai Dict : กระทั่ง, more results...
กุณฑธานะ : พระเถระผู้เป็นมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ในพระนครสาวัตถี เรียนจบไตรเพทตามลิทธิพราหมณ์ ต่อมา เมื่อสูงอายุแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า เกิดความเลื่อมใสจึงบวชในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่นั้นมา ก็มีรูปหญิงคนหนึ่งติดตามตัวตลอดเวลาจนกระทั่งได้บรรลุพระอรหัต รูปนั้นจึงหายไป ท่านได้รับยกย่อง จากพระศาสดาว่า เป็นเอตทัคคะในการถือเอาสลากเป็นปฐม
ปฏิฆะ : ความขัดใจ, แค้นเคือง, ความขึ้งเคียด ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ได้แก่ ความที่จิตหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ
มหาโมคคัลลานะ : ชื่อพระอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า เกิดที่หมู่บ้านโกลิตคาม ไม่ไกลจากเมืองราชคฤห์ เป็นบุตรของพราหมณ์นายบ้านแห่งนั้น มารดาชื่อนางโมคคัลลีพราหมณี เดิมเรียกชื่อว่าโกลิตะ ตามชื่อหมู่บ้านซึ่งบิดาของตนเป็นใหญ่ ต่อมาเรียก โมคคัลลานะ เพราะเป็นบุตรของนางพราหมณีโมคคัลลี หรือโมคคัลลานีนั้น ได้เป็นสหายกับอุปติสสะ (คือพระสารีบุตร) มาแต่เด็กต่อมาทั้ง ๒ ได้ออกบวชเป็นปริพาชก อยู่ในสำนักของสญชัยปริพาชกจนกระทั่งอุปติสสะได้พบพระอัสสชิสหายทั้ง ๒ จึงได้มาเฝ้าพระพุทธเจ้า บวชในพระธรรมวินัย เมื่อบวชแล้ว ถึงวันที่ ๗ โกลิตะ ซึ่งบัดนี้เรียกว่า มหาโมคคัลลานะก็ได้ บรรลุอรหัตตผลท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางมีฤทธิ์มาก ในตอนปลายพุทธกาลท่านถูกพวกโจรซึ่งได้รับจ้างจากพวกเดียรถีย์ ลอบสังหารด้วยการทุบตีจนร่างแหลก พระพุทธเจ้าโปรดให้ก่อสถูปบรรจุอัฐิธาตุของท่านไว้ใกล้ซุ้มประตูวัดเวฬุวัน ในเขตเมืองราชคฤห์, ชื่อของท่านนิยมเรียกกันง่ายๆ ว่า พระโมคคัลลาน์
สังโยชน์ : กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ ก.โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่ ๑.สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน ๒.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ๓.สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต ๔.กามราคะ ความติดใจในกามคุณ ๕.ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ข.อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่ ๖.รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต ๗.อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม ๘.มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่ ๙.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ๑๐.อวิชชา ความไม่รู้จริง; พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้, พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย, พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด, พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ; ในพระอภิธรรมท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.กามราคะ ๒.ปฏิฆะ ๓.มานะ ๔.ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๕.วิจิกิจฉา ๖.สีลัพพตปรามาส ๗.ภวราคะ (ความติดใจในภพ) ๘.อิสสา (ความริษยา) ๙.มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ๑๐.อวิชชา
โสตถิยะ : ชื่อคนหาบหญ้าที่ถวายหญ้าแด่พระมหาบุรุษในวันที่จะตรัสรู้ พระองค์รับหญ้าจากโสตถิยะแล้วนำไปลาดต่างบัลลังก์ ณ ควงต้นพระศรีมหาโพธิ ด้านทิศตะวันออก แล้วประทับนั่งขัดสมาธิผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก จนกระทั่งตรัสรู้
ยาว : (อัพ. นิบาต) เพียงใด, เพียงไร, ตราบใด, ตราบเท่า, กระทั่ง, ประมาณ, กำหนด, ตลอด.
ปฏิหนนก : ค. ผู้กระทบกระทั่ง, ผู้กำจัด, ผู้เบียดเบียน
อธิวาสนขนฺติ : (อิต.) ความอดทนด้วยอันรับ, ความอดทนด้วยความอดกลั้น, ความอดทนอย่างยิ่งยวด, อธิวาสนขันติชื่อความอดทนอย่างสูงคือความอดทนต่อความกระทบกระทั่งของคนที่ด้อยกว่าจะเป็นทางใดก็ตามด้วยการลดทิฐิมานะของตนลงเสีย.
อปฺปฏิฆ : (วิ.) ไม่มีปฏิฆะ, ไม่กระทบกระทั่ง, ไม่ระคายใจ.
อปิสฺสุท : (อัพ. นิบาต) จนกระทั่ง.
อภิสชฺชติ : ก. ข้อง, กระทบกระทั่ง
อาฆาต : ป. โกรธ, ฉุนเฉียว; กระทบกระทั่ง