กระท้อน ๑ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Sandoricum koetjape (Burm.f.) Merr. ในวงศ์ Meliaceae ผลค่อนข้างกลม เปลือกนุ่ม สีเหลือง เนื้อกินได้, สะท้อน ก็เรียก, พายัพเรียก มะต้อง หรือ มะตื๋น.
กระท้อน ๒ : ก. กระเด็นกลับ, กระดอนขึ้น, สะท้อน ก็ว่า.
กระ ๔ : ใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กํา กุ ข ต ส เช่น กบิล - กระบิล, กําแพง - กระแพง, กุฎี - กระฎี, ขจัด - กระจัด, ตวัด - กระหวัด, สะท้อน - กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล - กระกูล, ตระลาการ - กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคําโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม - กระซุ้ม, โดด - กระโดด, พุ่ม - กระพุ่ม, ยาจก - กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทํา - กระทํา, ทุ้ง - กระทุ้ง, เสือกสน - กระเสือกกระสน. (๔) ย้าหน้าคําอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.
มะต้อง :
(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกระท้อน. (ดู กระท้อน๑).
มะตื๋น :
(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกระท้อน. (ดู กระท้อน๑).
เดาะ ๑ : ก. โยนสิ่งของขึ้นแล้วเอาไม้หรือมือตีรับให้กระท้อนขึ้น. ว. ร้าวจวนจะหัก เช่น ไม้คานเดาะ แขนเดาะ; เติมลงนิดหน่อยเพื่อให้คุณภาพเด่นขึ้น เช่น จืด ไปเดาะเกลือลงไปหน่อย; (ปาก) โดยปริยายใช้เรียกผู้ที่กําลังจะดี แต่กลับมี ข้อบกพร่องเสียกลางคัน, ใช้เป็นคําแทนกริยาหมายความว่า ทําแปลกกว่า ธรรมดาสามัญ เช่น ร้อนจะตายเดาะเสื้อสักหลาดเข้าให้.
ทรงเครื่อง : ก. แต่งตัวมีเครื่องประดับ เช่น พระพุทธรูปทรงเครื่อง, มีเครื่องปรุงพิเศษกว่าปรกติ เช่น กระท้อนทรงเครื่อง, ประดิด ประดอยให้งดงามเป็นพิเศษ เช่น ตัวหนังสือทรงเครื่อง; (ราชา) ตัดผม (ใช้แก่เจ้านาย).
ลอยแก้ว : น. ของหวานทําด้วยเนื้อผลไม้รสเปรี้ยวลอยในนํ้าเชื่อม เจือเกลือเล็กน้อย เช่น ส้มลอยแก้ว กระท้อนลอยแก้ว.
กระแท่น : ก. แทบถึง, ถึงทีเดียว, กระทั่ง, คําใช้ในบทร้องของเด็ก ในความว่า พายเรืออกแอ่นกระแท่นต้นกุ่ม, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระท่อน เป็น กระท่อนกระแท่น.