กระเรียน ๒ : น. ชื่อเพลงไทยของเก่าสําหรับทําเพลงช้า เรียกว่า กระเรียนร้อง, ถ้า รับร้องบทละครเป็นเพลง ๒ ชั้น ท่อนต้นเรียกว่า กระเรียนร้องตัวผู้ ท่อนหลังเรียกว่า กระเรียนร้องตัวเมีย ต่อจากนี้ทําเพลงกระเรียนทอง แล้วถึงกระเรียนร่อน เป็นเพลงเสภาร้องรับมโหรี.
กระเรียน ๑ : น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Grus antigone ในวงศ์ Gruidae คอยาว ขายาว ปีกกว้าง หางกว้างและสั้น หากินตามที่ราบลุ่ม กินพืช แมลง และสัตว์ขนาดเล็ก ไม่ชอบกินปลา, กาเรียน ก็เรียก.
กาเรียนทอง :
น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (ดู กระเรียน๒).
กรรโหย : [กัน-] (โบ; กลอน) ก. โหย, คร่ำครวญ เช่น มีกระเรียนร้องก้อง กรรโหย. (สมุทรโฆษ).
กระสา ๑ : น. ชื่อนกในวงศ์ Ciconiidae ขนาดใหญ่เกือบเท่านกกระเรียน ปากหนายาวปลายแหลมตรง คอและขายาว เวลาบินคอจะยืดตรง เหมือนนกกระเรียน ทํารังด้วยกิ่งไม้อยู่บนยอดไม้สูง ๆ กินปลา และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น กระสาขาว (Ciconia ciconia) กระสาคอดํา (Ephippiorhynchus asiaticus).
โกญจนาท : น. การบันลือเสียงเหมือนนกกระเรียน, ความกึกก้อง, (โดยมากใช้แก่เสียงช้าง). (ป.).
โกญจา : (กลอน) น. นกกระเรียน เช่น แขกเต้าดุเหว่าแก้ว โกญจา. (โลกนิติ). (ป.).
โกรญจ : [โกฺรนจะ] (กลอน) น. โกญจ, นกกระเรียน, เช่น กาโกรญจโกกิล. (สมุทรโฆษ).
ทมอ : [ทะมอ] ว. สีมอ, สีนกกระเรียน.
กุณฺฑกี : (อิต.) นกกระเรียน. กฑิ เฉทเน, ณฺวุ, อสุสุ, อิตฺถิยํ อี.
กุนฺตนิ กุนฺตนี กุนฺทติ : (อิต.) นกกระเรียน. กนฺตฺ เฉทเน, ยุ, อสฺสุ, อิตฺถิยํ อี. ศัพท์หลัง อ, ติ ปัจ. แปลง ต เป็น ท
กุนฺตนี : อิต. นางนกกระเรียน
โกญฺจ : (ปุ.) นกกระเรียน, หกกาเรียน. กุจฺ ตาเร, โณ, นิคฺคหิตาคโม.
โกญฺจนาท : (ปุ.) การบันลือของนกกระเรียน, การร้องของนกกระเรียน.
โกญฺจวาทิก : (ปุ.) นกกระเรียน, ไตร. ๒๘/ ๑๑๕๕. เป็น กุญฺชวาทิต กุญฺชวาทิก บ้าง.
โกนฺต :
(ปุ.) นกกระเรียน. กนฺตฺ เฉทเน, อ. แปลง อ ที่ ก เป็น โอ. ดู กุนฺตนี ด้วย.
ทินฺทิภ : (ปุ.) นกต้อยตีวิด, นกกระต้อยตีวิด, นกกระเรียน. ทิภฺ สนฺทพฺเภ, อ. เท๎วภาวะ ทิ นิคคหิตอาคม. นกตระกุม ก็แปล.