Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กระโหย่ง , then กรหยง, กระโหย่ง .

Eng-Thai Lexitron Dict : กระโหย่ง, not found

Thai-Eng Lexitron Dict : กระโหย่ง, 5 found, display 1-5
  1. กระโหย่ง : (V) ; walk on the toes ; Related:go on tip-toe ; Syn:กระหย่ง, หย่ง, โหย่ง ; Samp:น้องกระโหย่งเท้าเดินเพราะพื้นสกปรก
  2. โขย่ง : (V) ; stand on tiptoe ; Syn:กระโหย่ง, เขย่ง ; Def:ยกร่างกายให้สูงขึ้น ; Samp:เขาโขย่งร่างพยายามมองลอดผ่านช่องเล็กๆ นั้นให้ได้
  3. กระหย่ง : (ADV) ; (walk) on the toes ; Related:(go) on tip-toe ; Syn:หย่ง, โหย่ง, กระโหย่ง ; Samp:หล่อนเดินกระหย่งเท้าไปที่เตียงนอน
  4. หย่ง : (V) ; tiptoe ; Related:walk on tip toe ; Syn:โหย่ง, กระหย่ง, กระโหย่ง ; Def:ทำให้สูงขึ้น ; Samp:เธอลงมายืนแตะเท้ากับผ้าขี้ริ้วเก่าๆ พอให้เท้าแห้งแล้วก็หย่งเท้าขึ้นบันได
  5. โหย่ง : (V) ; stand on tiptoe ; Related:hop on one foot ; Syn:หย่ง, เขย่ง, กระหย่ง กระโหย่ง ; Def:อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทำให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง ; Samp:เขาโหย่งตัวขึ้นเพื่อจะมองได้ชัดยิ่งขึ้น

Royal Institute Thai-Thai Dict : กระโหย่ง, 8 found, display 1-8
  1. กระโหย่ง : [-โหฺย่ง] ก. ทําให้สูงขึ้น เช่น กระโหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น กระโหย่งฟาง, กระหย่ง หย่ง หรือ โหย่ง ก็ว่า.
  2. กระโหย่ง : [-โหฺย่ง] ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระโหย่ง วิ่งกระโหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระโหย่ง, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระโหย่ง, กระหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
  3. กระหย่ง ๑ : ก. ทําให้สูงขึ้น เช่น กระหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่ง หรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น กระหย่งฟาง, กระโหย่ง หย่ง หรือ โหย่ง ก็ว่า.
  4. กระหย่ง ๒ : ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระหย่ง วิ่งกระหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็มเห็นแต่ ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระหย่ง, อาการที่นั่งเอา ปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระหย่ง, กระโหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
  5. หย่ง ๒, หย่ง ๆ : ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินหย่ง ๆ วิ่งหย่ง ๆ, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้าหย่ง หรือรอยเท้าหย่ง ๆ, อาการ ที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งหย่ง หรือ นั่งหย่ง ๆ, กระหย่ง กระโหย่ง โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
  6. โหย่ง ๒, โหย่ง ๆ : [โหฺย่ง] ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตน สูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินโหย่ง ๆ วิ่งโหย่ง ๆ, เรียกรอยเท้า ที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้าโหย่ง หรือ รอยเท้าโหย่ง ๆ, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งโหย่ง หรือ นั่งโหย่ง ๆ, กระหย่ง กระโหย่ง หย่ง หรือ หย่ง ๆ ก็ว่า.
  7. โขย่ง : [ขะโหฺย่ง] ก. กระโหย่ง, ทําให้สูงขึ้น.
  8. กระแหย่ง : [-แหฺย่ง] ว. อาการปีนขึ้นอย่างพลั้ง ๆ พลาด ๆ. ก. คะยั้นคะยอ เช่น มาหยักเหยาเซ้าซี้กระแหย่งชาย. (รามเกียรติ์ ร. ๑).

Budhism Thai-Thai Dict : กระโหย่ง, 2 found, display 1-2
  1. กระหย่ง : (ในคำว่า นั่งกระหย่ง) นั่งคุกเข่าเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่านั่งกระโหย่ง ก็ได้; บางแห่งว่าหมายถึงนั่งยองๆ
  2. อารัญญกวัตร : ข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้อยู่ป่า, ธรรมเนียมที่ภิกษุผู้อยู่ป่าพึงถือปฏิบัติ ตามพุทธบัญญัติที่มาในวัตตขันธกะ จัดเป็นหัวข้อได้ดังนี้ ก) ๑) ภิกษุผู้อยู่ป่า พึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ เอาถุงบาตรสวมบาตรแล้วคล้องบ่าไว้ พาดจีวรบนไหล่ สวมรองเท้า เก็บงำเครื่องไม้เครื่องดิน ปิดประตูหน้าต่าง แล้วลงจากเสนาสนะ (ที่พักอาศัย) ไป ๒) ทราบว่า “บัดนี้จักเข้าหมู่บ้าน” พึงถอดรองเท้า เคาะต่ำๆ แล้วใส่ถุงคล้องบ่าไว้ นุ่งให้เป็นปริมณฑล คาดประคดเอว ห่มสังฆาฏิซ้อนเป็น ๒ ชั้น กลัดลูกดุม ชำระบาตรแล้วถือเข้าหมู่บ้านโดยเรียบร้อยไม่รีบร้อน ไปในละแวกบ้านพึงปกปิกกายด้วยดี สำรวมด้วยดี ไม่เดินกระโหย่ง เมื่อจะเจ้านิเวศน์ พึงกำหนดว่า เรากจักเข้าทางนี้ จักออกทางนี้ ไม่พึงรีบร้อนเข้าไป ไม่พึงรีบร้อนออกมา พึงยืนไม่ไกลเกิดไป ไม่ใกล้เกินไป ไม่นานเกินไป ไม่กลับออกเร็วเกินไป เมื่อยืนอยู่ พึงกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายภิกษาหรือไม่ ฯลฯ เมื่อเขาถวายภิกษา พึงแหวกสังฆาฏิด้วยมือซ้าย น้อมบาตรเข้าไปด้วยมือขวา ใช้มือทั้ง ๒ ประคองบาตรรับภิกษา ไม่พึงมองดูหน้าสตรีผู้ถวาย พึงกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายแกงหรือไม่ ฯลฯ เมื่อเขาถวายภิกษาแล้ว พึงคลุมบาตรด้วยสังฆาฏิแล้วกลับโดยเรียบร้อย ไม่รีบร้อน เดินไปในละแวกบ้าน พึงปกปิดกายด้วยดี สำรวมด้วยดี ไม่เดินกระโหย่ง ๓) ออกจากบ้านแล้ว (หลังจากฉันและล้างบาตรแล้ว) เอาบาตรใส่ถุง คล้องบ่า พับจีวร วางบนศีรษะ สวมรองเท้าเดินไป ข) ภิกษุผู้อยู่ป่า พึงจัดเตรียมน้ำดื่มไว้ พึงจัดเตรียมน้ำใช้ไว้ พึงติดไฟเตรียมไว้ พึงจัดเตรียมไม้สีไฟไว้ พึงจัดเตรียมไม้เท้าไว้ ค) พึงเรียนทางนักษัตรไว้ (ดูดาวเป็น) ทั้งหมดหรือบางส่วน พึงเป็นผู้ฉลาดในทิศ

ETipitaka Pali-Thai Dict : กระโหย่ง, 2 found, display 1-2
  1. อุกฺกุฏิก : (วิ.) กระหย่ง, กระโหย่ง. (ทำให้สูงขึ้นหรือทำสิ่งที่รวมกันอยู่ให้ ขยายตัวขึ้น).
  2. อุกฺกุฏิก : ก. วิ. นั่งท่ากระโหย่ง, นั่งกระโหย่งเท้า

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : กระโหย่ง, not found

(0.0902 sec)