กราว ๑ :
[กฺราว] (โบ; คําเดียวกับ จราว) น. ตะพาบน้า เช่น ตัวกราวมีกริวพ่นชลสินธุ์. (ดู ตะพาบ, ตะพาบน้า).
กราว ๒ : [กฺราว] ว. เสียงดังคล้ายเช่นนั้น เช่น เสียงของแข็งจํานวนมาก ๆ ร่วงลงกระทบพื้นหรือหลังคาพร้อม ๆ กัน หรือเสียงที่คน จํานวนมากตบมือพร้อม ๆ กัน.
กราว ๓ : [กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทําบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทําเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สําหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์มหาราชในเวลามีเทศน์มหาชาติ และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน, ถ้าเกี่ยวกับการรําเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรง ก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้อง เป็นเพลงเขมร, กราวจีน ทําในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือ เล่นสนุกกัน ทํานองเป็นเพลงจีน ๒ ชั้น.
กราวรูด : [กฺราว-] (ปาก) ว. ตลอดหมด, ไม่เว้น, เช่น จับกราวรูด.
กริวกราว : ว. เสียงโห่, เสียงเอ็ดอึงพร้อมกันหลาย ๆ เสียง, เช่น บ้างโบกธงธุชพรายพราวโลดเต้นกริวกราว.
Royal Institute Thai-Thai Dict : กราว, more results...
นิคฺโฆส : (วิ.) เอิกเกริก, กึกก้อง, เกรียวกราว. นิสทฺดท ปาตุภาเว.
นินฺนาท : (ปุ.) การกึกก้อง,การบันลือ,ความ กึกก้อง, ความบันลือ, ความเกรียวกราว, เสียงกึกก้อง, เสียงบันลือ, เสียงสะท้าน, เสียงเกรียวกราว, นินาท, นฤนาท. วิ. ปุนปฺนปุนํ นาโท นินฺนาโท แปลง น เป็น นฺน แปลง อ ที่น ตัวต้นเป็น อิ ลงนิคคหิต อาคม แล้วแปลงเป็น นฺ.
อุคฺโฆส : (ปุ.) ความกึกก้อง, ความเกรียวกราว, ความเล่าลือ, เสียงเล่าลือ. อุปุพฺโพ, ฆุสฺ สทฺเท, อ, ยุ, ส. อุทฺโฆษ.
อุคฺโฆสน : (นปุ.) ความกึกก้อง, ความเกรียวกราว, ความเล่าลือ, เสียงเล่าลือ. อุปุพฺโพ, ฆุสฺ สทฺเท, อ, ยุ, ส. อุทฺโฆษ.
อุคฺโฆเสติ : ก. ออกเสียง, ประกาศ, ทำเสียงเกรียวกราว