มณฺฑิร :
(ปุ. นปุ.) เรือน, เรือนหลวง, นคร, เมือง, เมืองหลวง, กรุง, ที่อยู่, มณเฑียร, ดู มนฺทิร ด้วย.
จินฺตามณี : (ปุ.) แก้วที่เกิดขึ้นตามใจนึก, จิน- ดามณี. ไทยใช้คำ จินดามณี ในความหมาย ว่า แก้วอันผลแก่เจ้าของดังใจนึก แก้วสาร- พัดนึก คือนึกอย่างไรได้อย่างนั้น อีกอย่าง หนึ่งเป็นชื่อของหนังสือแบบเรียนของไทย เล่มแรกแต่งในยุดกรุงศรีอยุธยา.
ธมฺมยุตฺติกนิกาย : (ปุ.) ธรรมยุติกนิกาย ชื่อ นิกายสงฆ์ไทยฝ่ายเถรวาท ซึ่งเริ่มขึ้นในรัชกาลที่๓ ตั้งเป็นนิกายชัดเจนในรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์. เมื่อนิกายนี้เกิดขึ้น จึงเรียกคณะสงฆ์ไทยดั้งเดิมว่ามหานิกาย.
นาคร : (ปุ.) ชนผู้เกิดในนคร, ชนผู้อยู่ในนคร, ชาวพระนคร, ชาวเมือง, ชาวกรุง. วิ. นคเร ชาตา นาครา. นคเร วสนฺตีติ วา นาครา.
สุทฺโธทน : (ปุ.) สุทโธทนะ พระนามของเจ้าศากยะผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นพระราชบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะ.
ปญฺชร : ป. กรง
จาฏิปญฺชร : ป. กรงมีรูปดุจตุ่ม, กรงที่ทำคล้ายตุ่ม
สีหปญฺชร : (นปุ.) หน้าต่างมีสันฐานดังกรงแห่ง สีหะ, หน้าต่าง, ช่องลม, สีหบัญชร. วิ. สีหรูปยุตฺตํ ปญฺชรํ สีหปญฺชรํ.
อโยสกาลา : อิต. ซี่เหล็ก, กรงเหล็ก