กลางแปลง : ว. ที่แสดงหรือเล่นเป็นต้นในที่แจ้ง เช่น โขนกลางแปลง หนังกลางแปลง คล้องช้างกลางแปลง.
กลาง : [กฺลาง] น. ส่วนที่ไม่ค่อนไปข้างใดข้างหนึ่ง, โดยปริยายหมายความว่า ในที่หรือเวลาระหว่าง เช่น กลางฝน; ที่รวม, ที่รวมกิจการงานที่มีสาขาย่อยออกไป, เช่น สํานักงานกลาง ไปรษณีย์กลาง.
แปลง ๑ : [แปฺลง] น. ที่โล่งแห่งหนึ่ง ๆ เช่น คล้องช้างกลางแปลง, พื้นที่ที่กําหนด ไว้แห่งหนึ่ง ๆ เช่น นาแปลงหนึ่ง, ที่เป็นแอ่งมีโคลนเลนซึ่งคนหรือสัตว์ ทําขึ้น เช่น แปลงหมู แปลงควาย.
แปลง ๒ : [แปฺลง] ก. เปลี่ยนสิ่งเดิมให้ผิดแปลกออกไป, เปลี่ยนรูปทั้งหมด ให้กลายเป็นอีกรูปหนึ่ง เช่น ยักษ์แปลงเป็นมนุษย์, จําแลง ก็ว่า, เปลี่ยนจากรูปเดิมแต่บางส่วน เช่น คนดีแปลงเป็นคนง่อย, เปลี่ยน จากรูปเดิมโดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย เช่น เรือนชั้นเดียว แปลงให้เป็น ๒ ชั้น, ดัดแปลง ก็ว่า; ทํา เช่น แปลงขวัญ.
แปลง ๓ : [แปฺลง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. แผลง เช่น แปลงศร ว่า แผลงศร.
Royal Institute Thai-Thai Dict : กลางแปลง, more results...
กุตูหล กุตุหฬ โกตูหล โกตูหฬ : (นปุ.) การตื่น, การตื่นข่าว, ความแตกตื่น, ความเอกเกริก. วิ. กุ ปาปํ ตุลยตีติ กุตูหลํ. กุปุพฺโพ, ตุลฺ อุมฺมาเณ, อ. หฺ อาคมกลาง ธาตุ. เวสฯ วิ. กุ ปาหํ โตชตีติ กุตูหลํ. กุปุพฺโพ, ตุชฺ หึสายํ, อโล แปลง ช เป็น ห. เป็น กุตุหล กุโตหล โดยไม่ทีฆะ บ้าง.
คพฺภ : (ปุ.) ท้อง ชื่อส่วนของร่างกายด้านหน้า ตั้งแต่ลิ้นปี่ลงไปจนถึงบริเวณต้นขา มี สะดืออยู่กลางมีกระเพาะและใส้อยู่ภายใน เรียกได้ทั้งของผู้หญิงและของผู้ชาย, ครรภ์ เรียกเฉพาะของผู้หญิง. คุ สทฺเท, อโภ, อุสฺส อตฺตํ, ทฺวิตฺตํ (แปลง อุ เป็น อ แปลง ภ เป็น พฺภ). ครฺ วา เสจเน, อโภ. แปลง รฺ เป็น พฺ หรือตั้ง คพฺภฺ ธารเณ, อ.
สมถ : (ปุ.) ธรรมเป็นเครื่องระงับ, ธรรมยังนิวรณ์ห้า มี กามฉันท์ เป็นต้นให้สงบ. วิ. กามฉนฺทาทิกํ ปญฺจนิวรณํ สเมตีติ สมโถ. สมุ อุปสเม. โถ แปลง อุ เป็น อ. ความสงบ, ความระงับ, ความสงบระงับ. วิ. สมนํ สมโถ. สมาธิ, สมถะ, ชื่อว่า สมถะ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ้าน อวิกฺเขปฏเฐน สมโถ. สมถุ ชื่อของภาวนาอย่างที่ ๑ ในภาวนา ๒ เป็นอุบายสงบใจ เป็นวิธีทำใจให้สงบหลบทุกข์ไปได้ชั่วคราวมีผลเพียงให้กิเลสอย่างกลางระงับไปชั่วคราว ที่ท่านเปรียบไว้ว่าเหมือนเอาหินทับหญ้าเท่านั้น เมื่อเอาหินออก หญ้าก็งอกงามตามเดิม แต่ก็ยังผู้ปฏิบัติให้หลงไปว่าได้บรรลุโลกุตรธรรมเป็นพระอริยบุคคลไปก็มี เมื่อหลงไปเช่นนี้ก็เป็นอันตรายแด่พระพุทธศาสนาเหมือกัน. คำ สมถะ ไทยใช้ในความหมายว่า มักน้อย ปฏิบัติตนปอน ๆ.
ปนฺถ : (ปุ.) ทาง, หนทาง, ทางเปลี่ยว, ถนน. วิ. ปถยนฺติ ยนฺตฺยเนนาติ ปนฺโถ. ปถิ คติยํ, ลง นิคคหิตอาคม แปลงเป็น นฺ อภิฯ และฎีกาฯ ลง นฺ อาคมกลางธาตุ.
รชนี รชฺชนี : (อิต.) ค่ำ (เวลามืดตอนต้นของกลางคืน), เวลาค่ำ, เวลามืด, กลางคืน, ค่ำคืน, รัชนี. วิ. รญฺชนฺติ ราคิโน อตฺราติ รชนี. ยุ, อิตฺถยํ อี. ศัพท์หลังแปลง ช เป็น ชฺช.
ETipitaka Pali-Thai Dict : กลางแปลง, more results...