กสิณ : [กะสิน] น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กําหนดธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (น้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), ว่าด้วยวรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), ว่าด้วยอากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง. (ป.).
อาโปกสิณ : [กะสิน] น. วิธีเจริญสมถกรรมฐานโดยยึดหน่วงเอา ธาตุนํ้าเป็นอารมณ์.
อาโลกกสิณ : [โลกะกะสิน] น. การเจริญสมถกรรมฐานโดยตั้งใจ เพ่งแสงสว่างเป็นอารมณ์. (ป.).
ดวง : น. คําเรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นรูปกลม ๆ หรือที่เห็นเป็นวง ๆ เช่น ดวงดาว ดวงไฟ ดวงตรา ดวงกสิณ, และบางสิ่งที่ไม่มีรูป เช่น ดวงชีวิต ดวงวิญญาณ; ลักษณนามเรียก จิต วิญญาณ หรือสิ่งที่มีแสงสว่าง เช่น ดาว ไฟฟ้า ตะเกียง ว่า ดวง; ใช้ประกอบคําอื่นเป็นคําเปรียบเทียบ เช่น ดวงใจ ดวงตา ดวงสมร หมายความถึงสิ่งที่เป็นที่รักยิ่ง หญิงที่รัก หรือ ลูกที่รัก; แบบรูปราศีที่บอก ดาวพระเคราะห์เดินถึงราศีนั้น ๆ ในเวลาเกิดของคนหรือเวลาสร้างสิ่งสําคัญ เช่นบ้านเมืองเป็นต้นที่โหรคํานวณไว้โดยแบ่งเป็น ๑๒ ราศี เรียกว่า ดวง ซึ่งเป็นคําตัดมาจาก ดวงชะตา.
เพ่ง : ก. จ้องดู, เล็งดู, (ใช้แก่ตา) เช่น เพ่งสายตา เพ่งหนังสือ; มุ่งเฉพาะ อารมณ์ภายใน (ทางใจ) เช่น เพ่งกสิณ; เจาะจง.
อาปะ, อาโป : น. นํ้า, เมื่อใช้เป็นส่วนหน้าของสมาสมักใช้ว่า อาโป เช่น อาโปกสิณ อาโปธาตุ.
อุคหนิมิต : น. ''อารมณ์ที่เจนใจ'' คือ เป็นวิธีแห่งผู้เพ่งกสิณชํานาญ จนรูปที่ตนเพ่งอยู่นั้นติดตาถึงแม้หลับตาเสีย รูปนั้นก็ปรากฏเป็น เครื่องหมายอยู่ รูปที่ปรากฏนี้ เรียกว่า อุคหนิมิต. (ป. อุคฺคหนิมิตฺต; ส. อุทฺคฺรห + นิมิตฺต).
กสิณ : วัตถุอันจูงใจ คือ จูงใจให้เข้าไปผูกอยู่ เป็นชื่อของกัมมัฏฐานที่ใช้วัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ มี ๑๐ อย่าง คือ ภูตกสิณ ๔ : - ๑) ปฐวี ดิน ๒) อาโป น้ำ ๓) เตโช ไฟ ๔) วาโย ลม วรรณกสิณ ๔ :- ๕) นีลํ สีเขียว ๖) ปีตํ สีเหลือง ๗) โลหิตํ สีแดง ๘) โอทาตํ สีขาว และ ๙) อาโลโก แสงสว่าง ๑๐) อากาโส ที่ว่าง - a meditation device; object of meditation; the method of inducing concentration by gazing at any of the ten objects, viz., earth, water, fire, air, blue, yellow, red, white, space and light.
วัณณกสิณ ๔ :
กสิณที่เพ่งวัตถุมีสีต่างๆ ๔ อย่าง คือ นีลํ สีเขียว, ปีตํ สีเหลือง, โลหิตํ สีแดง, โอทาตํ สีขาว ดู กสิณ
อาโลกสิณ : กสิณคือแสงสว่าง, การเจริญสมถกรรมฐานตั้งใจเพ่งแสงสว่างเป็นอารมณ์ (ข้อ ๙ ใน กสิณ ๑๐)
ภูต : ๑. สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเกิดเสร็จไปแล้ว, นัยหนึ่ง หมายถึงพระอรหันต์ เพราะไม่แสวงหาภพเป็นที่เกิดอีก อีกนัยหนึ่งหมายถึงสัตว์ที่เกิดเต็มตัวแล้ว เช่น คนคลอดจากครรภ์แล้ว ไก่ออกจากไข่แล้ว เป็นต้น ต่างกับ สัมภเวสี คือสัตว์ผู้ยังแสวงหาที่เกิด ซึ่งได้แก่ปุถุชนและพระเสขะผู้ยังแสวงหาภพที่เกิดอีก หรือสัตว์ในครรภ์และในไข่ที่ยังอยู่ระหว่างจะเกิด ๒. ผี, อมนุษย์ ๓. ภูตรูป คือ ธาตุ ๔ มักเรียก มหาภูต ภูตกสิณ กสิณ คือ ภูตรูป, กสิณคือ ธาตุ ๔ ได้แก่ ปฐวี ดิน, อาโป น้ำ, เตโช ไฟ, วาโย ลม
ภูตะ : ๑. สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเกิดเสร็จไปแล้ว, นัยหนึ่ง หมายถึงพระอรหันต์ เพราะไม่แสวงหาภพเป็นที่เกิดอีก อีกนัยหนึ่งหมายถึงสัตว์ที่เกิดเต็มตัวแล้ว เช่น คนคลอดจากครรภ์แล้ว ไก่ออกจากไข่แล้ว เป็นต้น ต่างกับ สัมภเวสี คือสัตว์ผู้ยังแสวงหาที่เกิด ซึ่งได้แก่ปุถุชนและพระเสขะผู้ยังแสวงหาภพที่เกิดอีก หรือสัตว์ในครรภ์และในไข่ที่ยังอยู่ระหว่างจะเกิด ๒. ผี, อมนุษย์ ๓. ภูตรูป คือ ธาตุ ๔ มักเรียก มหาภูต ภูตกสิณ กสิณ คือ ภูตรูป, กสิณคือ ธาตุ ๔ ได้แก่ ปฐวี ดิน, อาโป น้ำ, เตโช ไฟ, วาโย ลม
กัมมัฏฐาน ๔๐ : คือกสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑ อรูป ๔
ปริกรรมนิมิต : นิมิตแห่งบริกรรม, นิมิตขั้นตะเตรียมหรือเริ่มเจริญสมถกรรมฐาน ได้แก่ สิ่งที่กำหนดเป็นอารมณ์ เช่น ดวงกสิณที่เพ่งดู หรือพุทธคุณที่นึกว่าอยู่ในใจเป็นต้น(ข้อ ๑ ในนิมิต ๓)
วิตกจริต : พื้นนิสัยหนักในทางตรึก, มีวิตกเป็นปกติ, มีปกตินึกพล่านหรือคิดจับจดฟุ้งซ่าน, ผู้มีจริตชนิดนี้พึงแก้ด้วย เพ่งกสิณ หรือเจริญอานาปานสติ
กสิณ : (วิ.) ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ล้วน. กสฺ คมเน, อิโณ.
กสิณปริกมฺม : นป. กิจเบื้องต้นคือการเตรียมหาวัตถุก่อนที่จะลงมือเพ่งกัมมัฏฐาน
กสิณมณฺฑล : นป. วัตถุกลมๆ เช่น กระด้ง สำหรับเพ่งเวลาทำกัมมัฏฐาน
นีลกสิณ : นป. นีลกสิณ, วัตถุสีน้ำเงินหรือเขียวซึ่งใช้เพ่งเมื่อทำสมาธิ
ปฐวีกสิณ : นป. ปฐวีกสิณ, ดินสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ
วณฺณกสิณ : นป. วรรณกสิณ, การเจริญสมาธิโดยการเพ่งสี
อชฺฌตฺตนิลกสิณาทิรูปชฺฌานวส : (ปุ.) อำนาจแห่งการเพ่งซึ่งรูปมีกสิณอันบัณฑิตกำหนดแล้วด้วยสีเขียวอันเป็นไปทับซึ่งตนเป็นต้น.
อาโปกสิณ : นป. การเพ่งกสิณมีน้ำเป็นอารมณ์
อาโลกกสิณ : (นปุ.) การเพ่งแสงสว่าง, อาโลกกสิณ (การบริกรรมโดยการเพ่ง แสงสว่างเป็นอารมณ์).
เตชกสิณ : นป. การเพ่งกรรมฐานมีไฟเป็นอารมณ์