กะรัต : [-หฺรัด] น. หน่วยมาตราชั่งเพชรพลอย ๑ กะรัต เท่ากับ ๒๐ เซนติกรัม หรือ ๓.๐๘๖๕ เกรน, ปริมาณทองคําแท้ที่ประสมอยู่กับธาตุอื่น โดยกําหนดทองคําและโลหะที่ประสมกันนั้นรวมเป็น ๒๔ ส่วน เช่น ทองคํา ๑๔ กะรัต หมายความว่า มีเนื้อทองคํา ๑๔ ส่วน นอกนั้นอีก ๑๐ ส่วนเป็นธาตุอื่นประสม. (อ. carat).
กะรัตหลวง : น. มาตราน้ำหนักตามวิธีประเพณี ใช้สําหรับชั่งเพชรพลอยเท่านั้น เป็นเมตริกกะรัต เท่ากับ ๒๐ เซนติกรัม, อักษรย่อว่า กต.
ทองเค : น. เรียกทองคําที่มีเกณฑ์สําหรับวัดความบริสุทธิ์เป็นกะรัตว่า ทองเค, ทอง ๒๔ กะรัต ถือเป็นทองแท้ ถ้ามีกะรัตตํ่าลงมา ก็มีโลหะ อื่นเจือมากขึ้นตามส่วน เช่น ทองคํา ๑๔ กะรัต หมายถึงมีเนื้อทอง ๑๔ ส่วน มีโลหะอื่นปน ๑๐ ส่วน, ทองนอก ก็เรียก.
ทองคำ : น. ธาตุลําดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็น ของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓?ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็น แผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทํารูปพรรณ ต่าง ๆ และทําเงินตรา ปัจจุบันกําหนดความบริสุทธิ์ของทองคําด้วย หน่วยกะรัต โดยกําหนดว่า ทองคํา ๒๔ กะรัตเป็นทองคําบริสุทธิ์ที่สุด, โบราณกําหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัด ราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่นว่า ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า. (สังข์ทอง ตอนตีคลี). (อ. gold).
กฤดยาเกียรณ : [กฺริดดะยาเกียน] (แบบ) ว. พร้อมด้วยเกียรติยศ เช่น ความชอบกอปรกฤดยากยรณ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ส. กีรฺติ + อากีรฺณ).
กฤดิ : [กฺริดดิ] (โบ; กลอน) น. เกียรติ เช่น วรกฤดิโอฬาร. (ชุมนุมตํารากลอน). (ส. กีรฺติ; ป. กิตฺติ).
เกียรติ, เกียรติ-, เกียรติ์ : [เกียด, เกียดติ-, เกียน] น. ชื่อเสียง, ความยกย่องนับถือ, ความมีหน้ามีตา. (ส. กีรฺติ; ป. กิตฺติ ว่า คำเล่าลือ, คำสรรเสริญ).