กัณฑ์ : [กัน] น. ข้อความที่แต่งเป็นคําเทศน์เรื่องหนึ่ง ๆ ที่จบลงคราวหนึ่ง ๆ, ตอนหนึ่ง ๆ ของคําเทศน์ที่เป็นเรื่องยาว เช่น มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทศพร กัณฑ์หิมพานต์, ลักษณนามของเทศน์ เช่น เทศน์กัณฑ์หนึ่ง เทศน์ ๒ กัณฑ์; เรื่องหรือหมวด, ตอน, ส่วนของเรื่อง. (ป.).
กัณฑ์เทศน์ : น. เครื่องไทยธรรมถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, สิ่งของสําหรับถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, เครื่องกัณฑ์ ก็ว่า; เรียกการเอาเงินติดเทียนบูชากัณฑ์เทศน์หรือเรียกการเอาเงินหรือ สิ่งของบูชาธรรมเนื่องในการเทศน์ว่า ติดกัณฑ์เทศน์.
เครื่องกัณฑ์ : น. เครื่องไทยธรรมถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, สิ่งของสําหรับถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, กัณฑ์เทศน์ ก็ว่า.
ทานกัณฑ์ : [ทานนะ-] น. ชื่อกัณฑ์ที่ ๓ ในมหาชาติ.
บรรพ, บรรพ- ๑ : [บับ, บับพะ-] น. ข้อ, ปล้อง, เล่ม, หมวด, ภาค, ตอน, กัณฑ์; ขั้น บันได; ระยะหรือเวลาที่กําหนด. (ป. ปพฺพ; ส. ปรฺวนฺ).
Royal Institute Thai-Thai Dict : กัณฑ์, more results...
กัณฑ์ : หมวด, ตอน, ส่วนของเรื่อง - 1.a chapter, portion or part (of a religious book) 2. a sermon.
กัณฑ์เทศน์ : offering of a sermon.
เตรสกัณฑ์ : กัณฑ์ ๑๓” ตอนที่ว่าด้วยสิกขาบท ๑๓ หมายถึง หมวดความในพระวินัยปิฎก ส่วนที่ว่าด้วยบทบัญญัติเกี่ยวกับอาบัติสังฆาทิเสส ซึ่งมี ๑๓ สิกขาบท
โจทนากัณฑ์ : ชื่อตอนหนึ่งในคัมภีร์บริวารแห่งพระวินัยปิฎก
บรรพ : ข้อ, เล่ม, หมวด, ตอน, กัณฑ์ ดังคำว่า กายานุปัสสนา พิจารณาเห็นซึ่งกาย โดยบรรพ ๑๔ ข้อ มี อานาปานบรรพ ข้อที่ว่าด้วยการกำหนดลมหายใจเข้าออก เป็นต้น
ธรรมจักร : จักรคือธรรม, วงล้อธรรม หรืออาณาจักรธรรม หมายถึงเทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ (ชื่อของปฐมเทศนา เรียกเต็มว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร)
สังฆาทิเสสกัณฑ์ : ตอนอันว่าด้วยอาบัติ สังฆาทิเสส, ในพระวินัยปิฏก ท่านเรียกว่าเตรสกัณฑ์ (ตอนว่าด้วย สิกขาบท ๑๓) อยู่ในคัมภีร์มหาวิภังค์เล่มแรก
กณฺฑ : (ปุ.) ลูกปืน, ลูกศร, ลูกธนู, ก้าน, ราก, ลำต้น, ท่อน, ท่อนไม้, ไม้เท้า, วรรค, ตอน, หมวด, อวกาศ, โอกาส, รำข้าว. กมฺ ปทวิกฺเขเป, กณฺ วา สทฺเท, โฑ. กณฺฑฺ วา เภทเน, อ. รูปฯ ๖๕๗ กฑิ เฉทเน, โก, นิคฺคหิตาคโม, กโลโป (ลบ ก ตัว ปัจ.)
กาลวณ : (นปุ.) เกลือ, เกลือน้อย. วิ. กุ อปฺปกํ ลวณํ กาลวณํ. แปลง กุ เป็น กา กัจฯ ๓๓๖ รูปฯ ๓๓๒ โมคฯ สมาส กัณฑ์ ๑๐๘.
ตารกิต : (วิ.) มีดาวเกิดแล้ว, เกลื่อนกล่นแล้ว ด้วยดาว. วิ. ตารกา สญฺชาตา อสฺส ตารกิตํ ( คคนํ ). ตารกา+อิต ปัจ. โมค ฯ ณาทิ กัณฑ์ ๔๕.
เอก : (วิ.) หนึ่ง, อย่างหนึ่ง, เดียว, ผู้เดียว, คนเดียว, ไม่มีเพื่อน, โดดเดียว, โดดเดี่ยว, วังเวง, เยี่ยม, ยอด, ยอดเยี่ยม, ประเสริฐ, สูงสุด, นอกนี้, ต่างหาก, เดียวกัน, เช่น เดียวกัน, แนวเดียวกัน, เป็นหนึ่ง, อื่น (คือ อีกคนหนึ่ง อีกพวกหนึ่ง อีกสิ่งหนึ่ง). อิ คมเน, ณฺวุ, อิสฺเส. วิ. เอติ ปวตฺตตีติ เอโก. เอกศัพท์นี้เป็นปกติสังขยาและวิเสสนสัพพ นามที่เป็นสังขยา (การนับ) เป็นเอกวจนะ อย่างเดียวที่เป็นวิเสสนสัพพนาม เป็น เอก. และ พหุ. เมื่อต้องการเป็นพหุ. พึงใช้ เป็นวิเสสนสัพพนาม และแปลว่าคนหนึ่ง, คนเดียว คนเดียวกัน พวกหนึ่ง ฯลฯ พึงยัก เยื้องให้เหมาะสมกับนามนาม. เอกศัพท์ ใช้เป็นวิเสสนะของนามนามใด เวลาแปล พึงเหน็บลักษณนามของนามนั้นลงไปด้วย เช่น เอกา ธมฺมเทสนา อ. ธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์. คำว่าไม้เอก (วรรณยุกต์ที่ ๑) มา จากเอกศัพท์นี้. เอกศัพท์ที่นำมาใช้ใน ภาษาไทยมีความหมายว่า ตัวคนเดียว ลำพังตัว โดดเดี่ยว เปลี่ยว เฉพาะ เด่น ดีเลิศ ยิ่งใหญ่ สำคัญ ที่หนึ่ง (ไม่มีสอง). ส. เอก.
กณิฏฺฐ กนิฏฺฐ : (วิ.) น้อยที่สุด, น้อยเกิน, หนุ่มเกิน, น้อย. อปฺป หรือ ยุว ศัพท์ อิฏฺฐปัจ. เสฏฐตัท. รูปฯ ๓๘๐ แปลง อปฺป ยุว เป็น กณ ศัพท์หลังแปลง ณ เป็น น. โมคฯณาทิกัณฑ์ ๑๓๗ แปลง อปฺป ยุว เป็น กณ กน. ส. กนิษฐ.
ETipitaka Pali-Thai Dict : กัณฑ์, more results...