กาไหล่ : ก. กะไหล่.
กะไหล่ : น. กรรมวิธีเคลือบสิ่งที่เป็นโลหะด้วยเงินหรือทองเป็นต้น โดยใช้ปรอทละลายเงินหรือทองให้เป็นของเหลว แล้วทาลงบน โลหะที่ต้องการเคลือบ จากนั้นไล่ปรอทออกโดยใช้ความร้อน, กาไหล่ ก็ว่า. ว. เรียกของเช่นพานเป็นต้นที่เคลือบเงินหรือทอง ด้วยกรรมวิธีเช่นนั้นว่า พานกะไหล่เงิน พานกะไหล่ทอง. (เทียบทมิฬ กะลายิ).
กาหล : [-หน] (แบบ) น. แตรงอน เช่น หมื่นกาหลวิชัยมีหน้าที่ประโคมแตรงอน. ว. เอะอะอื้ออึง เช่น แตกตื่นกันกาหลอลหม่าน, ยามพลบสยงกึกก้อง กาหล แม่ฮา. (กำสรวล).
กำนัล ๒ : น. นางอยู่งานที่ทรงใช้สอยในพระราชมนเทียร และได้รับพระราชทานหีบหมากกาไหล่ แต่ยังไม่นับว่าเป็นเจ้าจอม เรียกว่า นางกำนัล.
นางกำนัล : น. นางอยู่งานที่ทรงใช้สอยในพระราชมนเทียร และได้รับ พระราชทานหีบหมากกาไหล่ แต่ยังไม่นับว่าเป็นเจ้าจอม.
ตะ : ก. ทา, ฉาบ, แตะ, กะไหล่ เช่น ตะทอง ว่า กะไหล่ทอง, ตะทองลาย ว่า กะไหล่ ทองเป็นดวง ๆ, หรือ ตะถม เป็นต้น.
ชาดหรคุณ : [ชาดหอระ] น. ชาดประสมกับปรอทและ กํามะถันเพื่อจะให้ชาดจับแน่นกับเนื้อทองดุจกะไหล่และ เพื่อจะให้สุก. (ลัทธิ).
พานแว่นฟ้า : น. พานที่ซ้อนกัน ๒ ชั้น ชนิดหนึ่งประดับมุกหรือ กระจกเป็นต้น ใบบนเป็นพานทรงสูงซ้อนกันอยู่บนตะลุ่ม อีก ชนิดหนึ่งทําด้วยโลหะจําหลักลายกะไหล่ทอง ใบบนเป็นพานเล็ก ซ้อนอยู่บนพานใหญ่.
ลูกพลู : น. เครื่องประดับเครื่องแต่งตัวของช้างห้อยเป็นระย้าเรียง เป็นแถวลงมา มักทำด้วยทองเหลืองหรือเงินกะไหล่.
แว่นฟ้า : น. กระจก, เรียกพระแท่นที่ประดับกระจกว่า พระแท่น แว่นฟ้า; เรียกพานที่ซ้อนกัน ๒ ชั้น ชนิดหนึ่งประดับมุกหรือ กระจกเป็นต้นใบบนเป็นพานทรงสูงซ้อนกันอยู่บนตะลุ่ม อีกชนิดหนึ่งทําด้วยโลหะจําหลักลายกะไหล่ทองใบบนเป็นพาน เล็กซ้อนอยู่บนพานใหญ่ ว่า พานแว่นฟ้า.