ก็ตาม : นิ. ใช้อย่าง ก็ดี, แต่บางแห่งมีแววความหมายเท่ากับ ก็ตามใจ ก็ตามที ก็ตามเรื่อง แล้วแต่กรณีที่ใช้ โดยอาศัย พฤติการณ์ของเรื่องเป็นเครื่องแวดล้อม.
อย่างไรก็ดี, อย่างไรก็ตาม : สัน. ถึงเช่นนั้น, แม้กระนั้น, แต่.
นิบาต : [บาด] น. เรียกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งที่รวบรวม พระสูตรเบ็ดเตล็ดหรือชาดกต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน เช่น สุตตนิบาต = คัมภีร์ ที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน นิบาตชาดก = คัมภีร์ที่ รวบรวมชาดกต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกไว้ด้วยกัน โดยแบ่งย่อยเป็น หมวดต่าง ๆ; หมวดธรรม, ชุมนุมหลักธรรม, เช่น เอกนิบาต = หมวด หรือชุมนุมหลักธรรมที่มี ๑ ข้อ ทุกนิบาต = หมวดหรือชุมนุมหลักธรรม ที่มี ๒ ข้อ; (ไว)ศัพท์ประเภทหนึ่ง สำหรับใช้เติมลงข้างหน้าหรือ ข้างหลังคำหรือข้อความเพื่อเน้นความไขความ ยอมความอย่างไม่เต็มใจ เป็นต้น เช่น ก็ดี ก็ตาม หรือใช้เป็นคำขึ้นต้นข้อความใหม่ต่อจาก ข้อความเดิม เช่น ก็แหละ. (ป., ส. นิปาต).
พสกนิกร : [พะสกกะนิกอน, พะสกนิกอน] น. คนที่อยู่ในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นพลเมืองของประเทศนั้นหรือคนต่างด้าวที่มาอาศัยอยู่ ก็ตาม.
อย่างไร : ว. ใช้ในประโยคคําถาม ถามถึงความเป็นไป ความเป็นอยู่ เช่น คนไข้มีอาการอย่างไร หมู่นี้เป็นอย่างไรบ้าง, ถามถึงวิธีหรือ ความเห็นเป็นต้น เช่น จะทําอย่างไร มีความเห็นอย่างไร; ถ้าใช้ใน ประโยคที่ไม่เป็นคําถาม หมายความว่า จะโดยวิธีใด ๆ ก็ตาม เช่น ถึงอย่างไรเขาก็ไม่มา.
Royal Institute Thai-Thai Dict : ก็ตาม, more results...
สาหุตฺถิกปโยค : (ปุ.) ประโยคที่ประกอบด้วยมือของตน, ฯลฯ, ประโยคที่ทำเอง. การรักษาศีล จะเป็นศีล ๕ ศีล ๘ หรือศีล ๑๐ ก็ตาม ตั้งแต่สิกขาบทที่ ๓ เป็นต้นไป เป็นสาหัตถิประโยค ทำเองศีลจึงขาด ใช้ให้เขาทำศีลตนเองไม่ขาด.
กาม : (อัพ. นิบาต) ก็ตาม, ก็ตามที, ส่วนเดียว, โดยส่วนเดียว, แท้, โดยแท้, ผิว่า, แม้, บ้าง.
ทุพภาสิตาปตฺติ : (อิต.) อาบัติทุพภาษสิต. ต้องอาบัตินี้ เพราะพูดล้อเล่น เย้าเล่น กับ อุปสัมบัน หรืออนุปสัมบัน กระทบวัตถุมีชาติเป็นต้น พูดเจาะตัวหรือเปรยก็ตาม.
ปพฺพชฺชา : (อิต.) การเว้น, การละเว้น, การบวช, บรรพชา (การละเว้นจากการทำชั่ว ทุกอย่าง ). บรรพชานั้นต้องเว้นจากเมถุน ธรรม การบวชในศาสนาหรือลัทธิใดก็ตาม ถ้าเว้นจากกามกิจแล้วเรียกว่าบรรพชาได้. ความหมายของคำ ปพฺพชา นั้น คือการออกจากความเป็นฆราวาส ไปประพฤติตน เป็นนักบวช ต่อมามีพระบัญญัติให้ผู้ที่มี อายุยังไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์บวช เรียกผู้ที่ บวชนั้นว่า สามเณร สามเณรี จึงแยกการบวชออกเป็น ๒ คือ บวชเป็นภิกษุ เรียกว่า อุปสมบท บวชเป็น สามเณร สามเณรี ว่า บรรพชา. ปปุพฺโพ, วชฺชฺ วชฺชฺเน, อ, อิตฺถิยํ อา. กัจฯ ๖๓๘ รูปฯ ๖๔๔ วิ. ปฐเมว วชิตพฺพาติ ปพฺพชฺชา. ปฐมปุพฺโพ, วชฺ คติยํ, โณฺย ภาวกมฺเมสุ. แปลง ชฺย เป็น ชฺช แปลง ว เป็น วฺว แล้วแปลงเป็น พฺพ. โมคฯ ลง ย ปัจ. ส. ปฺรวรชฺยา.
ยาทิส, - สก : ค. อย่างไรก็ดี, เหมือนอย่างไรก็ดี, อย่างไรก็ตาม
อตฺถุ : (อัพ. นิบาต) จงยกไว้, ก็ตามแต่ ก็ตามที(ตอบอย่างไมม่พอใจ), โดยแท้.
อธิวาสนขนฺติ : (อิต.) ความอดทนด้วยอันรับ, ความอดทนด้วยความอดกลั้น, ความอดทนอย่างยิ่งยวด, อธิวาสนขันติชื่อความอดทนอย่างสูงคือความอดทนต่อความกระทบกระทั่งของคนที่ด้อยกว่าจะเป็นทางใดก็ตามด้วยการลดทิฐิมานะของตนลงเสีย.
อนุสย : (ปุ.) ความเดือดร้อนในภายหลัง(ปจฺฉาตาป), ความเดือดร้อนใจ (วิปฺปฏิสาร)ความติดตาม (อนุพนฺธ), ความเป็นไปบ่อยๆ, ความเป็นไปเสมอ (ปุนปฺปุนํ ปวตฺตนํ), ธรรมเป็นที่นอนตาม, อนุสัย.วิ.สนฺตาเนอนุเสนฺตีติอนุสยา.อนุรูปํการณํลภิตฺวาเสนฺติอุปฺปชฺชนฺตีติวาอนุสยา.อนุเสตีติวาอนุสโย.สิสีวาสเย, อ.อนุสัยเป็นชื่อของกิเลสอย่างละเอียดมี ๗ คือกามราคะปฏิฆะทิฏฐิวิจิกิจฉามานะภวราคะและอวิชชาซึ่งนอนเนื่องอยู่ในสันดานของสัตว์ทั้งหลายเป็นเชื้อนอนนิ่งอยู่เมื่อไม่มีอารมณ์มากระทบอายตนะภายในก็ดูเหมือนเป็นคนไม่มีกิเลสแต่ความจริงอนุสัยทั้ง ๗ มีอยู่ จะเรียกคนอย่างนี้ว่านิพพานชั่วขณะไม่ได้ คำนิพพานที่ใช้ในพระพุทธศาสนาพระบรมศาสดาตรัสเรียกเฉพาะผู้ที่ละกิเลสอย่างละเอียดทั้ง ๗ นี้ได้สิ้นเชิงเป็นสมุจเฉทฉะนั้น จะเรียกคนที่มีกายวาจาและใจดูเรียบร้อย แต่ใจยังมีอนุสัย ๗ อยู่ แม้ผู้นั้นจะได้ฌานชั้นใดชั้นหนึ่งหรือทั้ง ๘ ชั้นก็ตามว่านิพพานชั่วขณะไม่ได้.อนุสัย ๗ นี้ละได้ด้วยปัญญา (วิปัสสนา) อย่างเดียว.ส.อนุศย.