ก่อน : ว. เดิม, เริ่ม, ลําดับแรก, เช่น แต่ก่อน, ถ้าใช้ประกอบหลังคํานาม บอกเวลา หมายความว่า ล่วงมาแล้ว เช่น วันก่อน เดือนก่อน, ถ้าใช้ประกอบหน้าคํานามบอกเวลา หมายความว่า ยังไม่มาถึง เช่น ก่อนเที่ยง, ใช้ประกอบหลังคํากริยา บางกรณีหมายความว่า ให้ระงับยับยั้งไว้ชั่วคราว เช่น หยุดก่อน รอก่อน, บางกรณี หมายความว่า ล่วงหน้า เช่น ไปก่อน.
นั้น : ว. ใช้ประกอบนามหรือข้อความที่กล่าวอ้างมาแล้ว เช่น ในจดหมาย ฉบับนั้น ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น, ใช้ประกอบนามที่อยู่ไกล กว่า นี้ เช่น คนนั้น สิ่งนั้น, ใช้ประกอบคําอื่นคู่กับคํา ใด แสดงความ แน่นอน เช่น คนใดคนนั้น เมื่อใดเมื่อนั้น. นั้นแล คําลงท้ายบอกว่าจบเรื่อง.
กกุธภัณฑ์ : [กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ตามที่ แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับ แส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของ ใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาทวาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ใน จดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และ ฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง. (รูปภาพ เบญจราชกกุธภัณฑ์) วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัด ใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็น แส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่า วาลวีชนี หมายความเป็น แส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาล ของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).
กฐิน, กฐิน- :
[กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
กราว ๓ : [กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทําบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทําเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สําหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์มหาราชในเวลามีเทศน์มหาชาติ และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน, ถ้าเกี่ยวกับการรําเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรง ก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้อง เป็นเพลงเขมร, กราวจีน ทําในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือ เล่นสนุกกัน ทํานองเป็นเพลงจีน ๒ ชั้น.
Royal Institute Thai-Thai Dict : ก่อนนั้น, more results...
ตาว : (อัพ. นิบาต) ตราบนั้น, เพียงนั้น, เท่านั้น, โดยแท้, แน่แท้, ก่อน, แรก.
ตาวตึส : (ปุ.) ดาวดึงส์ ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๒ ใน ๖ ชั้น, พิภพดาวดึงส์, ตรัยตรึงส์, ตรึงส์-ตรัย. วิ. เตตฺตึส ชนา นิพฺพตตนฺติ เอตฺถาติเตตฺตึโส. เตตฺตึโส เอว นิรุตฺตินเยน ตา วตึโส. แปลง เอ เป็น อย ทีฆะ อ ที่ ต เป็นอา แปลง ย เป็น ว หรือ แปลง เต เป็น ตาวลบ ตฺ สังโยค. ตาว ปฐม ตึสติ ปาตุภวตีติตาวตึโส. พื้นแผ่นดินใด เกิดปรากฏขึ้นในโลกเป็นครั้งแรกก่อน ( พื้นแผ่นดินอื่นๆ )พื้นแผ่นดินนั้น ชื่อดาวดึงส์.
จิรนฺตน : (วิ.) ชั่วก่อน (ระยะก่อน), ชั่วเพรง (เพรง คือ ก่อนเก่า), ก่อน, มีในก่อน. วิ. จิรํ ภโว จิรนฺตโน. จิรํ+ตน ปัจ. แปลง นิคคหิตเป็น น. ฎีกาอภิฯ ว่า ลบนิคคหิต ถ้าถือตามมติฎีกาฯ ก็ต้องลง นฺ สังโยค หรือ นฺ อาคมหน้าปัจ.
ปมุข : (วิ.) เลิศ, ประเสริฐ, สูงสุด, ก่อน, แรก, แรกเริ่ม, เริ่มแรก, ดั้งเดิม, เป็นที่พึ่ง, เป็นใหญ่, เป็นประธาน, เป็นหัวหน้า, โดย ความเป็นประธาน, เป็นหัวหน้า, เป็น ประธาน, เป็นประมุข. ปกฏฺฐปุพฺโพ, ปธานปุพฺโพ, วา, ปปุพฺโพ. วา, มุ พนฺธเน, โข.
ปุราณ : (วิ.) เก่า, ก่อน, ชั่วก่อน (สมัยก่อน), ชั่วเพรง (ครั้งก่อน), มีอยู่ก่อน, มีในก่อน, เป็นอยู่ก่อน, ร้าง, บุราณ, เบาราณ. วิ. ปุรา ภโว ปุราโณ. น ปัจ. แปลงเป็น ณ. โมคฯ ณาทิกัณฑ์ ๒๒ ลง ณ ปัจ. คงไว้.
ETipitaka Pali-Thai Dict : ก่อนนั้น, more results...