อัฑฒมณฑล : กระทงน้อย คือ ชิ้นส่วนของจีวรพระที่เป็นผืนผ้ารูป ๔ เหลี่ยม มีแผนผ้าแคบคั่นแต่ละด้าน ลักษณะเหมือนกระทงนามีคันนากั้น, มี ๒ ขนาด กระทงเล็กเรียก อัฑฒมณฑล กระทงใหญ่เรียก มณฑล, กระทงเล็กหรือกระทงน้อย มีขนาดครึ่งหนึ่งของกระทงใหญ่ ในจีวรผืนหนึ่ง มีกระทงน้อยอย่างต่ำ ๕ ชิ้น
สุคตประมาณ : ขนาดหรือประมาณของพระสุคต คือ พระพุทธเจ้า, เกณฑ์หรือมาตราวัดของพระสุคต
กัปปิยภูมิ : ที่สำหรับเก็บเสบียงอาหารของวัด, ครัววัด มี ๔ อย่าง คือ อุสสาวนันติกา กัปปิยภูมิที่ทำด้วยการประกาศให้รู้แต่แรกสร้างว่าจะทำเป็นกัปปิยภูมิ คือพอเริ่มยกเสาหรือตั้งฝาก็ประกาศให้ได้ยินว่า กปฺปิยภูมึ กโรม แปลว่า เราทั้งหลายทำกัปปิยกุฎี ๑ โคนิสาทิกา กัปปิยภูมิขนาดเล็ก เคลื่อนที่ได้ ดุจเป็นที่โคจ่อม ๑ คหปติกา เรือนของคฤหบดีเขาสร้างถวายเป็นกัปปิยภูมิ ๑ สัมมติกา กัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ ได้แก่ กุฎีที่สงฆ์เลือกจะใช้เป็นกัปปิยกุฎี แล้วสวดประกาศด้วยญัตติทุติยกรรม ๑
คืบพระสุคต : ชื่อมาตราวัด ตามอรรถกถานัยว่า เท่ากับ ๓ คืบของคนปานกลาง คือ เท่ากับศอกคืบช่างไม้ แต่มตินี้ไม่สมจริง ปัจจุบันยุติกันว่าให้ถือตามไม้เมตร คือ เท่ากับ ๒๕ เซนติเมตร ประมาณกันกับคืบช่างไม้ ซึ่งเป็นการสะดวก และถ้าหากจะสั้นกว่าขนาดจริง ก็ไม่เสีย เพราะจะไม่เกินกำหนด ไม่เสียทางวินัย
นิคม : 1.หมู่บ้านใหญ่, เมืองขนาดเล็ก, ย่านการค้า 2.คำลงท้ายของเรื่อง
ปรนปรือ : บำรุงเลี้ยง, เลี้ยงดูอย่างถึงขนาด
ภาณวาร : “วาระแห่งการสวด”, ข้อความในคัมภีร์ต่างๆ เช่น ในพระสูตรขนาดยาวที่ท่านจัดแบ่งไว้เป็นหมวดหนึ่งๆ สำหรับสาธยายเป็นคราวๆ หรือเป็นตอนๆ
มาตรา : กิริยากำหนดประมาณ, เครื่องวัดต่างๆ เช่นวัดขนาด จำนวน เวลา ระยะทางเป็นต้น, มาตราที่ควรรู้ ดังนี้