ขมวด : [ขะหฺมวด] ก. บิดม้วนแล้วขอดให้เป็นปม, โดยปริยายหมายความว่า ย่นย่อข้อความทิ้งท้ายไว้ให้คิด. น. ลักษณนามเรียกของที่ขมวด อย่างนั้น เช่น หัวหอม ๔ ขมวด.
จุก ๑ : น. ผมเด็ก ๆ ที่ขมวดเอาไว้ตรงขม่อม, ผมจุก หรือ หัวจุก ก็เรียก, ราชาศัพท์ว่า พระเมาลี หรือ พระโมลี; กลุ่ม, ขมวด, หมวด, (ใช้แก่หัวหอมหัวกระเทียม เรียกว่า จุกหอม จุกกระเทียม); ลักษณนามเรียกสิ่งที่มัดรวมกันเป็นจุก เช่น ผูกผม ๒ จุก จุกหอม ๓ จุก.
หน้านิ่วคิ้วขมวด : ว. อาการที่ทำหน้าย่นขมวดคิ้วแสดงความโกรธหรือ เจ็บปวดเป็นต้น.
หางกระหมวด, หางขมวด : [-กฺระหฺมวด, -ขะหฺมวด] ว. ที่มีหางกระหมวด ปลาย ได้แก่หาง ฬ ฮ.
ผูก : ก. เอาเชือกเป็นต้นสอดคล้องกันให้เกิดเป็นเงื่อน เพื่อทําให้มั่นหรือ ติดต่อกันในตัวหรือกับสิ่งอื่น เช่น ผูกเชือก ผูกลวด ผูกโบ, ติดต่อ หรือติดพันกันแน่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ผูกใจ ผูกโกรธ ผูกมิตร, ประกอบเข้า เช่น ผูกประโยค ผูกปริศนา ผูกลาย, ติดพันกันด้วย เรื่องสิทธิและหน้าที่ตามที่ตกลงกัน เช่น ผูกตลาด ผูกท่า; คุ้มครอง (ใช้ในการเล่นหมากรุก) เช่น เอาม้าผูกโคน เอาเรือผูกม้า; ขมวด เช่น ผูกคิ้วนิ่วหน้าไม่พาที. (นิ. นรินทร์); จอง เช่นผูกเวร; ตรงข้าม กับ แก้. น. ลักษณนามเรียกหนังสือใบลานที่ร้อยหูไว้มัดหนึ่ง ๆ ว่า คัมภีร์เทศนาผูกหนึ่ง.
Royal Institute Thai-Thai Dict : ขมวด, more results...
กากปกฺข : (ปุ.) ผมที่ขมวดไว้เป็นหย่อม ๆ (ผมเด็กขมวดแยกออกเป็น ๓ หย่อม หรือ ๕ หย่อม), ผมแหยม (ปอยผมที่เอาไว้เป็น กระจุกบนหัวนอกจากจุก), ไรผม, ปีกของ กา, ปีกกา. กากานํ ปกฺขสณฺฐ านตฺตา กากปกฺโข.
จุฬ : (ปุ.) มวยผม ( ผมที่ขมวดไว้เป็นกลุ่มเป็น กระจุก ), ผมจุก, มกุฎ, มงกุฎ, จอม, ยอด, หัว. จุฬฺ เปรเณ, อ.
ชฏิล : (ปุ.) คนผู้มีมวยผม, คนผู้มีผมมุ่นเป็น ชฎา ( มุ่นคือขมวด), ฤษี, ฤาษี, ชฏิล. วิ. ชฏา อสฺส อตฺถีติ ชฏิโล. อถวา, ชฏา อสฺส อตฺถิ โส ชฏิโล. อิล ปัจ.
นลาฏิกา : อิต. ทำหน้านิ่วคิ้วขมวด, หน้าบึ้ง, บึ้ง
ภากุฏิก : ค. ขมวดคิ้ว, หน้าสยิ้ว
อพฺภกุฏิก : ค. เบิกบาน, ไม่เคร่งขรึม, ไม่หน้านิ่วคิ้วขมวด