คณาจริย : (ปุ.) อาจารย์ของหมู่, คณาจารย์ (อาจารย์ของมหาชน). ภาษาพูด เรียก พระที่มีวิชาอาคมขลังว่าพระคณาจารย์ ซึ่งมีความหมายไม่ตรงกับศัพท์นี้.
ปรามสน : (นปุ.) การจับต้อง, การลูบคลำ, การยึดมั่น, การยึดถือ, การถือมั่น ( หนักไปในทางเชื่อความขลัง เชื่อ บันดาลไม่เชื่อกรรม ), ความจับต้อง, ฯลฯ. ป อาปุพฺโพ, มสฺ อามสเน, ยุ, รฺ อาคโม.
ปรามาส : (ปุ.) การจับต้อง, การลูบคลำ, การยึดมั่น, การยึดถือ, การถือมั่น ( หนักไปในทางเชื่อความขลัง เชื่อ บันดาลไม่เชื่อกรรม ), ความจับต้อง, ฯลฯ. ป อาปุพฺโพ, มสฺ อามสเน, ยุ, รฺ อาคโม.
สีลพฺพตปรามาส : (ปุ.) การถือมั่นศีลและพรต, การยึดมั่นศีลและพรต, การจับต้องศีลหรือพรต, สีลัพพตปรามาส คือ ความเชื่อถือความศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่ามีได้ด้วยศีลหรือวัตรปฏิบัติ เป็นการรักษาหรือบำเพ็ญพรตด้วยความเชื่อเรืองบันดาลไม่เชื่อกรรม เชื่อความขลัง.
ขลก ขลุงฺก ขฬุงฺก : (ปุ.) ม้ากระจอก, ม้า เขยก. วิ. ขรํ คจฺฉตีติ ขลํโค จลุงฺโค ขฬุงฺโค วา. โส เอว ขลํโก, ฯลฯ. คการสฺส กกาโร, รสฺส ลตฺตํ. ศัพท์หลัง แปลง ล เป็น ฬ. เป็น ขลํค, ฯลฯ และเป็น ขลุก, ฯลฯ. บ้าง.