ขอม ๒ : ก. ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อต้นด้วยคําว่า ขอม เช่น ขอมใหญ่ ขอมเงิน ขอมทรงเครื่อง.
ขอม ๑ : น. เขมรโบราณ.
จำปาขอม :
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม).
ขอบ ๒ : ก. ทดแทน, ตอบ, รับ, เช่น ขอบแต่ขอมสักตั้ง. (ตะเลงพ่าย), ภายใน สองนางขอบ, ธขอบคําความมนตรี. (ลอ).
เขมร ๑ : [ขะเหฺมน] น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับไทย ลาว และเวียดนาม มีภาษาพูดอยู่ในตระกูล มอญ-เขมร และมีอักษรของตนเองใช้ เรียกว่า อักษรขอม.
ปัดตลอด : ว. มีขนขาวหรือดําเป็นแนวยาวไปตามสันหลังตั้งแต่หัว ตลอดหาง เช่น แมวปัดตลอด; เรียก ''นะ'' ที่เขียนเป็นอักษรขอม สําหรับลงและปลุกเสกให้แคล้วคลาดตลอดปลอดภัยว่า ''นะปัดตลอด''.
ลงนะหน้าทอง : ก. ลงอักขระ นะ เป็นอักษรขอมที่หน้าผากและ ปิดทองแล้วเอานิ้วหัวแม่มือคลึงให้ทองหายไปในเนื้อ เพื่อให้ เกิดเสน่ห์เมตตามหานิยม.
ลั่นทม : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Plumeria วงศ์ Apocynaceae เช่น ชนิด P. acutifolia Poir. ดอกสีขาว หรือแดงเรื่อ ๆ กลิ่นหอม, จําปาหอม ก็เรียก, พายัพเรียก จําปาลาว, อีสานเรียก จําปา, ปักษ์ใต้ เรียก จําปาขอม.
หนามเตย : น. ลายหยักบนตัวหนังสือขอม; ส่วนที่เป็นหยัก ๆบนหลัง จระเข้; โลหะที่มีลักษณะเป็นเขี้ยวคล้ายหนามสำหรับเกาะยึดหัวแหวน เป็นต้น.