ขอรับ ๑ : น. โลหะทําเป็นห่วงสําหรับรับขอสับ มักติดที่ประตูหน้าต่าง.
ขอรับ ๒ : คำรับที่สุภาพชนใช้.
ขอรับกระผม, ขอรับผม : คำรับด้วยความอ่อนน้อมอย่างยิ่ง (ใช้พูดกับผู้ใหญ่).
พระพุทธเจ้าข้า, พระพุทธเจ้าข้าขอรับ, พระพุทธเจ้าข้าขอรับใส่เกล้า :
โดย ๒ : บ. ด้วย, ตาม, เช่น โดยจริง โดยธรรม. (ข. โฎย). (ถิ่น) ว. จ้ะ, ขอรับ.
พ่ะ : (โบ) ว. จ้ะ, ขอรับ.
กระหม่อม : น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุด ลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมี เนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้น เนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คําสําหรับใช้ควบ กับคําที่ขึ้นต้น ว่า ``เกล้า'' เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชาย ใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).
ขอสับ : น. โลหะที่ปลายงอเป็นตาขอสําหรับเกี่ยวที่ขอรับ.
ขึ้น ๑ : ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตาม ทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.