ข่มขี่ : ก. กดขี่.
จิกหัว : ก. เอามือขยุ้มผมแล้วรั้งไป; บังคับให้พุ่งไป เช่น เครื่องบินจิกหัวลง; กดขี่, ข่มขี่, เช่น จิกหัวใช้.
ประสัยห-, ประสัยห์ : [ปฺระไสหะ-, ปฺระไส] (แบบ) ก. ข่มขี่, ข่มเหง. (ส. ปฺรสหฺย; ป. ปสยฺห).
ปสัยห-, ปสัยหะ : [ปะไสหะ] (แบบ) ก. ข่มขี่, ข่มเหง. (ป.).
เขม้น : [ขะเม่น] ก. เพ่ง, จ้องดู, มุ่งโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายผู้ได้พิจารณาว่ากล่าว บางคนก็ลำเอียงไปว่าทรัพจะได้เปนหลวง เขม้นว่ากล่าวกันโชกข่มขี่ จเอาแต่ทรัพเปนหลวงจงได้. (สามดวง), มักใช้เข้าคู่กับคำ มอง เป็น เขม้นมอง หรือ มองเขม้น, (โบ) เขียนเป็น ขเม่น ก็มี เช่น ขเม่น, คือ คนฤๅสัตวแลดูสิ่งของใด ๆ เพ่งตาดูไม่ใคร่จะกพริบ. (ปรัดเล)
โขกสับ : ก. ด่าว่าข่มขี่.
บาตรใหญ่ : น. อํานาจที่ใช้ในทางข่มขี่, ใช้เข้าคู่กับ อํานาจ เป็น อํานาจบาตรใหญ่.
ประเคราะห์ : (แบบ) น. ความเพียรที่แก่กล้า; การยกย่อง, การเชิดชู, ตรงข้ามกับ นิเคราะห์ ซึ่งแปลว่า การกําราบ, การลงโทษ, การข่มขี่. ก. ยกย่อง, ประคับประคอง. (ส. ปฺรคฺรห; ป. ปคฺคห).
อำนาจบาตรใหญ่ : น. อํานาจที่ใช้ในทางข่มขี่ เช่น ถือว่ามีอำนาจ บาตรใหญ่รังแกใครได้ก็ตามใจชอบ.
ข่มขู่ : ก. ทําให้กลัว, ทําให้เสียขวัญ; (กฎ) ทําให้ผู้อื่นต้องกลัวว่าจะเกิด ความเสียหายเป็นภัยแก่ตนเอง แก่สกุลแห่งตน หรือแก่ทรัพย์สินของตน เป็นภัยอันใกล้จะถึงและอย่างน้อยร้ายแรงถึงขนาดที่จะพึงกลัว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่ง การข่มขู่อาจทำให้นิติกรรมเสื่อมเสียได้.