คราง ๑ : [คฺราง] ก. ร้องเบา ๆ เรื่อย ๆ ด้วยความเจ็บปวดหรือเสียใจ, มักใช้เข้าคู่ กับคำ ครวญ เป็น ครวญคราง; ร้องเสียงลากยาว ๆ อย่างเสียงฟ้าร้อง เช่น อัมพรอุทรคราง เรียมคร่ำ ครวญแม่. (นิ. นรินทร์).
คราง ๒ : [คฺราง] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Scapharca inaequivalvis ในวงศ์ Arcidae ลักษณะคล้ายหอยแครงแต่ขนาดใหญ่กว่า ที่เปลือกมีขน อาศัยอยู่ตามบริเวณพื้นที่มีโคลนปนทราย.
ครวญคราง : ก. ครางเรื่อย ๆ ไป.
อ๋อย : ว. คําใช้ขยายกริยา คราง ในคําว่า ครางอ๋อย; ใช้เน้นแสดงว่ามาก ในคําว่า เหลืองอ๋อย.
อี๋ ๒ : ว. คําใช้ขยายกริยา คราง ในคําว่า ครางอี๋.
กระชง : (โบ) ว. งง, ชะงัก, ประหม่า, เช่น นอนกระชงใจคราง ครั่นแค้น. (นิ. ตรัง), ภาษาถิ่นปักษ์ใต้ใช้ว่า ชง.
กะหือ : ว. เสียงครวญคราง.
คระ ๑ : [คฺระ] คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี คร- เป็นพยัญชนะต้น ในบทกลอน มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำคำ หรือเป็นพหูพจน์ เช่น คระคราง (หมายความว่า ครางคราง) คระครึ้ม (หมาย ความว่า ครึ้มครึ้ม) คระโครม (หมายความว่า โครมโครม).
หงิง ๆ : ว. อาการที่เปล่งเสียงคราง ร้อง ร้องไห้ หรือร้องเพลงเบา ๆ เช่น คนไข้ ครางหงิง ๆ เธอร้องไห้หงิง ๆ เขาครวญเพลงหงิง ๆ.
คคฺครายติ : ก. ร้อง, คำราม, แผดเสียง, คราง
นิตฺถนาติ : ก. ส่องเสียง, คร่ำครวญ, คราง, ทอดถอน
นิตฺถุน : นป. การส่งเสียง, การครวญคราง, การสะอึกสะอื้น; การตำหนิติเตียน, การด่าว่า, การนินทา
อนุรว : ป. เสียงกังวาน, เสียงระงม, ร้องคราง
อนุรวติ : ก. ก้องกังวาน, ร้องระงม, ร้องคราง
อนุรวนา : อิต. การร้องระงม, การส่งเสียงกังวาน, การร้องคราง
อาราว : ป. เสียงร้อง, เสียงครวญคราง
อาโรทน : (นปุ.) การร้องไห้ทั่ว, การครวญครางความครวญคราง, ความโหยหวน.อาปุพฺโพ, รุทฺอสฺสุวิโมจเน, ยุ.
อุปโรทติ : ก. เศร้าโศก, เสียใจ, ร้องคราง